>

จดทะเบียนบริษัท เปิดบริษัท บริการทั่วประเทศ - เรามีบริษัทจดทะเบียน เพื่อขายและโอน

Home - เกี่ยวกับนารา : คัดหนังสือรับรอง : คัดงบการเงิน : คัดบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น : คัดบริคณห์สนธิ : เปลี่ยนแปลงแก้ไข บริษัท : คัดรับรองตราประทับ : คัดเอกสารต่อใบอนุญาตทำงาน:
จดทะเบียนบริษัท : เลิกบริษัท : งบเปล่า : แปลเอกสาร : รับรองเอกสาร-โนตารี่พับลิค : การตลาด-พันธมิตร : ที่อยู่จดทะเบียน : ปรึกษาคดีฟรี-รับว่าความ : นักบัญชีหางาน : รับสมัครงาน
Affidavit 300 Baht dormant co-regis 2200B notary 1000B.
15000B-close
000B-ch-regis 12000B-address 500B-translation 000B-accountant
contactus

จดทะเบียนบริษัท จดจัดตั้งบริษัท ค่าบริการ 5,000 บาท ทุกจังหวัด ทั่วประเทศ (ต่างจังหวัด มีค่าเดินทาง)

เปิดบริษัท กับเรา ท่านจะได้ มาตรฐานบริการ เดียวกัน ทั่วประเทศ นาราฯ พร้อมให้บริการท่านทั่วประเทศ

จดทะเบียนบริษัท สำนักงานกรุงเทพ

ท่านรู้ไหม - เราให้บริการจดทะเบียน ทั่วประเทศ


จดทะเบียนบริษัท หากมีปัญหา เราหาทางออก ให้ท่านได้

จดทะเบียนบริษัท แบบการถือครองหุ้น ส่วนใหญ่โดยชาวต่างชาติ ปรึกษา เราได้

จดทะเบียนบริษัท ภายใต้ สิทธิพิเศษ/ พรบ ต่างด้าว/ สนธิสัญญาระหว่างประเทศ หรือ อื่นๆ เราทำได้

ท่านรู้ไหม - เรามี บริษัทจดทะเบียนพร้อมขาย อายุ 1 - 20 ปี พร้อมโอน ขาย

ท่านรู้ไหม - เรามีความพร้อม ที่จะเติบโต ไปพร้อมกับท่าน เรามทีีมนักบัญชี ผู้เชี่ยวชาญภาษี ผู้สอบบัญชี ทนายความ นักแปลมืออาชีพ ทีมงานจดทะเบียน (ทั้งบริษัททั่้วไป และมหาชน) และมีสัมพันธ์ที่ดีกับ กลุ่มเลขานุการมืออาชีพ ตัวแทนอสังหาริมพทรัพย์ (Relocation Service) ที่สำคัญเรามีเจ้าหน้าที่ต่างชาติประจำสำนักงานฯ และ พนักงานหลายท่านก็สื่อสารภาษาอังกฤษได้ดี

บริการจดทะเบียนบริษัท

ค่าบริการ 5,000 บาท


(ฟรี จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ทางอินเตอร์เน็ท)
(กรณี ทุนจดทะเบียนเกิน 5 ล้านบาท ค่าบริการจะเรียกเก็บเพิ่ม ตามความเหมาะสม)

ประมาณการค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งบริษัท สำหรับเงินทุนจดทะเบียนไม่เกิน 1 ล้านบาท

ประมาณการค่าใช้จ่าย สำหรับทุนจดทะเบียนไม่เกิน 1 ล้านบาท บาท
ค่าบริการจดทะเบียนบริษัท - ครบวงจร 5,000
จัดทำตราประทับ 500
บวก ค่าธรรมเนียม - กรมพัฒนาธุรกิจและการค้า 6,500

 

รวมค่าใช้จ่าย

กรณีต้องการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม คิดเพิ่ม 2,000 บาท หรือ

กรณีจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ทางอินเตอร์เน็ท ฟรี

 

12,000

 

 

 

หมายเหตุ

  1. กรณีมีชาวต่างชาติ ร่วมถือหุ้นหรือ ร่วมเป็นกรรมการ ค่าบริการดังกล่าว คิดเพิ่ม 3,000 บาท
  2. มีค่าเดินทาง สำหรับ ปริมณฑล 500 บาท

ครอบคลุมขอบเขตบริการต่างๆ ดังต่อไปนี้

  • จดทะเบียน ต่างๆ ณ จังหวัดท่าน โดยครอบคลุมงานจดทะเบียน ดังต่อไปนี้
    • จดทะเบียนบริษัท
    • ขอหมายเลขผู้เสียภาษี
    • จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
  • จัดส่งเจ้าหน้าที่ของ นาราฯ นำเอกสารให้ท่านเซ็นต์ยังจังหวัดของท่าน
  • ไม่รวมการจัดทำใบหุ้น สมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น จดทะเบียนประกันสังคม
  • ไม่รวมแปลเอกสารเป็นภาษาอังกฤษ หรือสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษกับชาวต่างชาติ จำเป็นต้องเรียกเก็บค่าบริการเพิ่ม โดยที่เรามีเจ้าหน้าที่ต่างชาติซึ่งปฎิบัติงานเต็มเวลาดำเนินการประสานงาน

ขั้นตอน

ขั้นตอน
ดำเนินการโดย
1. - วันจันทร์ ดำเนินการจองชื่อบริษัท จะได้รับอนุมัติชื่อภายใน 10 นาที
นาราการบัญชี
2. - วันอังคาร ดำเนินการจัดเตรียมเอกสาร เพื่อให้ท่าน (กรรมการ/ ผู้ก่อการ/ ผู้ถือหุ้น/ พยาน) สามารถลงลายมือชื่อในเอกสารแบบฟอร์มการจดทะเบียน
นาราการบัญชี

3. - วันพุธ

 

 

ดำเนินการจดทะเบียนที่กรมพัฒนาธุรกิจและการค้า(พาณิชย์จังหวัด) เมื่อดำเนินการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทเสร็จ ท่าน(กรรมการ) สามารถลงลายมือชื่อในเอกสารสำหรับจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

ดำเนินการจดทะเบียนขอบัตรผู้เสียภาษีและจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แล้วเสร็จในวันเดียวกัน
(จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หมายเหตุ 1)

นาราการบัญชี

ภาษีมูลค่าเพิ่ม กับ การจดทะเบียนบริษัท

  1. ภาษีมูลีค่าเพิ่ม จะต้องจด ก็ต่อเมื่อ (ถ้าไม่เข้าเงื่อนไข นี้ ยังไม่ต้องจด ตอนนี้)
    • มีรายได้ต่อปี ถึง 1.8 ล้านบาท หรือมากกว่า
    • มีการซื้อ หรือ ค่าใช้จ่าย แล้วมีภาษีมูลค่าเพิ่ม จำนวนมาก (สังเกตุว่าอย่างน้อย ต้องมากว่า มูลค่าค่าบริการทำบัญชี ภาษี และตรวจสอบบัญชี อย่างมีสาระสำคัญ)
    • คู่ค้า ไม่ว่า ลูค้า หรือ ผู้ให้บริการ ไม่ได้บังคับ ให้บริษัทต้องเข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม
    • ไม่ได้ ให้บริการ หรือ ค้าขาย กับหน่วยงานของรัฐ
    • การขอใบอนุญาต ทำงานให้ชาวต่างชาติ
  2. เมื่อ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ เข้าระบบ VAT แล้ว มีข้อเสีย ดังนี้
    • เรียกเก็บ ภาษีมูลค่าเพิ่ม จากลูกค้า 7% ซึ่งถ้าบริษัทเรียกเก็บเพิ่มไม่ได้ (บวกเพิ่มไม่ได้) บริษัทก็ต้อง ออกให้ลูกค้า ลองนึกนะครับว่า ถ้าท่านไปซื้อของ 10,000 บาท แต่ต้องจ่ายเพิ่มอีก 700 บาท มันดีไหม
    • ต้องนำยื่นแบบ เพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ทุกเดือน แม้ว่าไม่มีรายได้ ค่าปรับไม่ยื่นแบบเดือนละ 500 บาท
    • เข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ไม่สามารถ จดยกเลิกภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้ เว้นแต่ว่า ได้ยื่นแบบเข้าไปแล้ว อย่างน้อย 2 ปี หรือไม่ก็ต้องปิดบริษัท
    • เจ้าไน้าที่สรรพากร จะเข้าเยี่ยม และให้ความสนใจกับบริษัทที่เข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม และอาจเพิกถอน หากพบว่ามีความไม่น่าเชื่อถือ เช่น ไม่มีสถานประกอบการ หรือไม่มีการจัดเก็บสินค้า และอื่นๆ
    • ความซับซ้อน เรื่องภาษี อาจต้องจ้างนักบัญชี ซึ่งจะต้องมีค่าบริการทุกเดือน
    • ค่าปรับ เกี่ยวกับการผิดพลาดเรื่องภาษีมูลค่าเพิ่ม อาจสูงถุึง 200% แล้วแต่กรณี พร้อมยังต้องจ่ายเงินเพิ่ม
    • คนจัดทำภาษี หรือนักบัญชีที่ให้บริการทำภาษี ต้องมีความรู้ อย่างลึกซึ่ง ซึ่งหลายกรณี พบว่า เข้าใจผิด และส่งผลต่อความเสียหาย จนต้องปิดบริษัท
  3. นาราการบัญชี บอกกับลูกค้าเสมอว่า ถ้าไม่จำเป็น อย่าจดภาษีมูลค่าเพิ่ม ถ้าจำเป็นก็จดเลย ให้ข้อสังเกตุว่า สำนักงานบัญชีบางที่ พยายามให้ลูกค้าจดทะเบียน เพื่อต้องการงานทำบัญชี บางครั้ง เสนอจดทะเบียนราคาถูก หรือ ฟรีก็มี สรุปว่า การจดทะเบียนบริษัท ไม่จำเป็นต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเสมอไป ถ้าไม่จดทะเบียน ท่านก็ไม่จำเป็นต้องจ้างสำนักงานบัญชี แบบรายเดือนก็เป็นไปได้ ท่านประหยัดค่าทำภาษีรายเดือน ได้อีกเยอะครับ
คลิ๊กเลย
เมื่อตัดสินใจ ใช้บริการ ทำอย่างไรดี คลิ๊กเลย
ค่าใช้จ่ายทั้งหมด เท่าไหร่ คลิ๊กเลย
เอกสารที่ต้องเตรียม มีอะไรบ้าง คลิ๊กเลย
แบบสอบถาม - จดทะเบียนบริษัท
(คลิ๊กรูป เพื่อดาวน์โหลด)
จดทะเบียนบริษัท-แบบสอบถาม
เรื่องต้องรู้ ก่อนจดทะเบียนบริษัท
ทุนจดทะเบียน กับ ภาษีที่เกี่ยวข้อง
หน้าที่และความรับผิดชอบ เมื่อบริษัท ได้จดทะเบียนแล้ว
จดภาษีมูลค่าเพิ่ม ดีหรือไม ทำไมต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม
มีต่างชาติ ถือหุ้น หรือ ร่วมเป็นกรรมการ ผู้ถือหุ้นคนไทย ต้อง...
หน่วยงานราชการ กับ การประกอบธุรกิจธุรกิจ (ทำอะไร ต้องติดต่อ หน่วยงานไหน)
วัตถุประสงค์ที่ไม่อนุญาตให้ประกอบธุรกิจ (ห้าม แต่อาจทำได้ถ้าขออนุญาต)
ผู้เยาว์ (อายุเท่าไหร่) กับ การเป็น ผู้ก่อการ กรรมการ ผู้ถือหุ้น หุ้นส่วนผู้จัดการ ...
ผู้เริ่มก่อการ เป็นใคร และบริษัทอื่นจะเข้ามาถือหุ้นได้เมื่อไหร่่
เอกสารจดทะเบียน ห้ามลงลายมือชื่อแทน แต่ยอมให้ผู้รับมอบอำนาจ ทำการการแก้ไข
จดทะเบียนบริษัท เพื่อขอใบอนุญาตทำงาน ให้ชาวต่างชาต
อื่นๆ
ขายบริษัทจดทะเบียน (อายุ 1 - 11 ปี)
 
 
 
แปลเอกสารบริษัท แปลเอกสารจดทะเบียน
บริการเดินทาง จดทะเบียน ยื่นเอกสาราชการ ทั่วประเทศ
บริการ รับรองเอกสาร โดยทนาย โนตารี่พับลิค
รับรองเอกสาร โดย ทนายความ
รับรองเอกสาร โดย ผู้สอบบัญชี - นักบัญชี
 
 

 

ท่าน จดทะเบียนเอง แต่ต้องการ ชื่อและหมายเลขผู้สอบบัญชี

เรายินดีให้รายละเอียดฟรี แต่ขอให้ท่านบริจาคเงินให้ มูลนิธิโรงพยาบาลเด็ก
อย่างน้อย 500 บาท
(โอนเงินเสร็จ ส่งสลิป ให้เรา กรุณาระบุชื่อบริษัท ท่านเป็นผู้โอน)

บริจาค ให้โรงพยาบาล เด็ก
มูลนิธิโรงพยาบาลเด็ก อาคารเฉลิมพระเกียรติฯ

คลิ๊กที่นี้

ท่าน จดทะเบียนเอง แต่ต้องการ
ทนาย หรือผู้สอบบัญชี รับรองการลงลายมือชื่อ

เรายินดีรับรองให้ฟรี แต่ขอให้ท่านบริจาคเงินให้ มูลนิธิโรงพยาบาลเด็ก
อย่างน้อย 1,000 บาท
(โอนเงินเสร็จ ส่งสลิป ให้เรา กรุณาระบุชื่อบริษัท ท่านเป็นผู้โอน - ติดต่อเราก่อนโอนบริจาค)

บริ

จดทะเบียนบริษัท - ข่าวใหม่

  • ซื้อบริษัทแทนจดทะเบียนใหม่ สนใจซื้อบริษัท คลิก ที่นี้
  • จด ภาษีมูลค่าเพิ่ม ใน กทม สรรพากรบางพื้นที่ จะต้องให้แสดง บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริง ของกรรมการ และทะเบียนบ้านตัวจริง ของสถานประกอบการด้วย เริ่มแล้วตั้งแต่ เดือนตุลาคม 2558
  • ไม่อนุญาตให้ บริษัทจดทะเบียนใหม่ มีวัตถุประสงค์ และใช้ชื่อบริษัทเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ดังนั้น ต้องจดทะเบียนโดยไ่ม่มี แล้วดำเนินการ ใบอนุญาตท่องเที่ยว (TAT License) แล้วจึงกลับไป เปลี่ยนชื่อ และเพิ่มวัตุประสงค์
  • บริษัทที่มีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับ จำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาล กรรมการและผู้ถือหุ้นทุกท่าน ต้องแสดงบัตรประจำตัวประชนชน ตัวจริงเท่านั้น
  • เปิดบัญชีธนาคารในนามบริษัท กรรมการต้องลงลายมือชื่อต่อหน้าธนาคาร และผู้ถือหุ้นที่ถือเกิน 20% ต้องไปเซ็นต์รัับรองเอกสารที่ธนาคารด้วย ชาวอเมริกันที่ถือหุ้นเกิน 25% ต้องแสดงการลงทุนต่อรัฐบาลอเมริกา ด้วย

เมื่อตัดสินใจ ใช้บริการจดทะเบียนบริษัท กับ นาราการบัญชี ทำดังนี้

  1. เมื่อสนใจ ใช้บริการ กรุณากรอก ข้อมูลในแบบสอบถาม < ด า ว์ น โ ห ล ด แ บ บ ฟ อ ร์ ม >
  2. ใบเสนอราคา เมื่อได้รับแบบสอบถามที่กรอกข้อมูล เราจะส่งใบเสนอราคาให้ท่านภายใน 2 ชั่วโมง (เจ้าหน้าที่จะติดต่อกลับท่านภายใน 1 ชั่วโมง เพื่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม)
  3. จ่ายชำระค่าบริการ ส่วนแรก 50% เมื่อตอบรับใบเสนอราคา และจ่ายส่วนที่เหลือเมื่อเซ็นต์แบบฟอร์มจดทะเบียน (ก่อนยื่นเอกสารต่อ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า)

ความรู้เพิ่มเติม - ที่ควรทราบ       ขอให้ข้อสังเกตุเกี่ยวกับการจดทะเบียนบริษัท ไว้ดังนี้

  1. ทุนจดทะเบียน ควรจดขั้นต่ำ 1 ล้านบาท แต่อาจเรียกชำระเพียงแค่ 25% เพื่อลดปัญหาในเรื่องของข้อจำกัดเกี่ยวกับเงินทุนที่นำมาลง และภาษีที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับภาษีของบริษัทภายหลังการจดทะเบียน
  2. ค่าธรรมเนียม สำหรับทุนจดทะเบียน กรมพัฒนาธุรกิจและการค้า จะเรียกเก็บในอัตราคงที่ต่อทุนจดทะเบียนหลักล้านบาท นั้นหมายถึงหากท่านจดทะเบียนด้วยทุน 5 แสนบาท (น้อยกว่า 1 ล้านบาท) ค่าธรรมเนียมก็เป็นจำนวนเดียวกันกับจดทะเบียนด้วยทุน 1 ล้านบาท
  3. การถือหุ้นโดยคนต่างชาติหรือบริษัทต่างชาติ ในกรณีที่มีการลงทุนต่ำกว่า 50% หรือมีชาวต่างชาติร่วมเป็นกรรมการ ผู้ถือหุ้นคนไทยทุกคนต้องแสดงแหล่งที่มาของเงินทุน ที่ออกโดยธนาคาร (อ้างถึง คำสั่ง สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท เลขที่ 205/5555)
  4. รอบบัญชี เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องนำมาพิจารณา โดยส่วนใหญ่บริษัททั่วไปจะกำหนดรอบบัญชีสิ้นสุด 31 ธ้ันวาคม ซึ่งจะง่ายต่อการจดจำ กำหนดการทางภาษีและการยื่นงบการเงิน อย่างไรก็ตามท่านสามารถเลือกรอบบัญชีได้เองแต่ต้องไม่เกิน 365 วัน หากจำเป็นต้องเลือกเป็นรอบอื่น (นอกจาก 31 ธันวาคม) ท่านควรกำหนดวันสิ้นรอบเป็นวันสิ้นเดือนเพื่อให้ง่ายต่อการจัดทำบัญชีและการนำยื่นภาษีต่างๆ

เอกสารที่ต้องการ สำหรับจดทะเบียนบริษัท ได้แก่

  1. สำเนาบัตรประชาชนของกรรมการ พร้อมรับรองสำเนา
  2. สำเนาบัตรประชาชนของผู้ก่อการ พร้อมรับรองสำเนา
  3. สำเนาบัตรประชาชนของพยาน พร้อมรับรองสำเนา
  4. สำเนาทะเบียนบ้าน สำหรับสถานที่จดทะเบียนบริษัท

เอกสารที่ต้องการ สำหรับขอบัตรผู้เสียภาษี ใช้เอกสารประกอบ ดังต่อไปนี้

  1. สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลจากกระทรวงพาณิชย์ กรรมการลงนามและ
    ประทับตราสำคัญ (ไม่เกิน 60 วัน นับจากวันที่จดทะเบียน ถ้าเกินกำหนด ปรับ 500 บาท)
  2. สำเนาบัตรประชาชนและทะเบียนบ้านของกรรมการพร้อมลงลายมือชื่อ 1 ชุด
  3. แบบ ล.ป.10.3
  4. หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่
  5. สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าบ้าน 1 ชุด

หมายเหตุ 

  • กรณีเจ้าของสถานที่เป็นนิติบุคคลให้แนบสำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคลพร้อมวัตถุประสงค์และสำเนาบัตรประชาชนของกรรมการมาด้วย
  • ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2555 กรมสรรพากรให้ยกเลิกเลขผู้เสียภาษีที่ออกโดยกรมสรรพากร และให้ใช้ เลขทะเบียนนิติบุคคลที่ออกโดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้า แทน

เอกสารที่ต้องการสำหรับ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ใช้แบบคำขอ แบบ ภ.พ.01 (จำนวน 5 ฉบับ) และ แบบ ภ.พ.01.1 (จำนวน 3 ฉบับ) เอกสารประกอบ ได้แก่

  1. สำเนาบัตรประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจ
  2. สำเนาทะเบียนบ้านกรรมการผู้มีอำนาจ
  3. สำเนาหนังสือรับรองกระทรวงพาณิชย์ไม่เกิน 6 เดือน
  4. สำเนาหนังสือบริคณห์สนธิ
  5. สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5)
  6. สำเนาใบสำคัญแสดงรายการจดทะเบีียนห้างหุ้นส่วน/บริษัท
  7. บัตรประจำตัวผู้เสียภาษีของบริษัท (หากจดทะเบียนตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์ 2555 ไม่ต้องใช้บัตรผู้เสียภาษี)
  8. หนังสือยินยอมให้ใช้สถานประกอบการ
  9. สำเนาทะเบียนบ้านของสถานประกอบการ
  10. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าบ้าน ถ้ากรรมสิทธิ์ในอาคารเป็นของนิติบุคคล ต้องนำหนังสือรับรองนิติบุคคลพร้อมวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลนั้นมาด้วย
  11. แผนที่ตั้งพอสังเขป 2 ชุด (พร้อมรับรองสำเนา)
  12. รูปถ่ายสถานประกอบการ 2 ชุด (ถ่ายให้เห็นชื่อบริษัทและเลขที่บ้านสถานประกอบการอย่างชัดเจนพร้อมรับรองสำเนา)
  13. ตราประทับ
  14. หนังสือขอใช้สิทธิ์แจ้งต่ออธิบดีกรมสรรพากรเพื่อจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

หมายเหตุ เอกสารตามข้อ 3 - 6 จะต้องมีตราประทับนายทะเบียนรับรองรองเอกสาร (ฉบับขอคัด)

ข้อมูลเพิ่มเติม - การจดทะเบียนบริษัทจำกัด

บริษัทจำกัด คือบริษัทประเภทซึ่งตั้งขึ้นด้วยแบ่งทุนเป็นหุ้นแต่ละหุ้นมีมูลค่าเท่า ๆ กัน โดยผู้ถือหุ้นต่างรับผิดจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนถือ

โครงสร้างของ "บริษัทจำกัด"
        1. ต้องมีผู้ร่วมลงทุน อย่างน้อย 3 คน
        2. แบ่งทุนออกเป็นหุ้น และมีมูลค่าหุ้นละเท่าๆ กัน
        3. มูลค่าหุ้นจะต้องไม่ต่ำกว่า 5 บาท
        4. ความรับผิดชอบของผู้ถือหุ้นมีจำกัด (เฉพาะจำนวนเงินค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบ)
        5. ต้องจดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

การดำเนินการจัดตั้งบริษัทจำกัด ในการจัดตั้งบริษัทจำกัดนั้น จะต้องดำเนินการตามลำดับขั้นตอน ดังนี้
        1. ต้องมีผู้เริ่มก่อการตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป เข้าชื่อกันทำหนังสือบริคณห์สนธิขึ้น แล้วไปจดทะเบียน
        2. เมื่อได้จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิแล้ว ผู้เริ่มก่อการต้องจัดให้หุ้นของบริษัทที่จะตั้งขึ้นนั้นมีผู้ เข้าชื่อจองซื้อหุ้นจนครบ
        3. ดำเนินการประชุมตั้งบริษัท โดยต้องส่งคำบอกกล่าวนัดประชุมให้ผู้จองทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วัน ก่อนวันประชุม
        4. เมื่อได้ประชุมตั้งบริษัท และที่ประชุมได้แต่งตั้งกรรมการบริษัทแล้ว ผู้เริ่มก่อการต้องมอบหมายกิจการให้กรรมการบริษัทรับไปดำเนินการต่อไป
        5. กรรมการบริษัทเรียกให้ผู้เริ่มก่อการและผู้จองหุ้นชำระค่าหุ้นอย่างน้อยร้อยละ 25 ของมูลค่าหุ้น (ทุนของบริษัทจะแบ่งเป็นกี่หุ้นก็ได้แต่ต้องไม่ต่ำกว่าหุ้นละ 5 บาท)
        6. เมื่อได้รับเงินค่าหุ้นแล้ว กรรมการต้องไปจดทะเบียนเป็นบริษัทภายใน 3 เดือน ภายหลังจากการประชุมตั้งบริษัท
        7. ในการจัดตั้งบริษัท ถ้าได้ดำเนินการทุกขั้นตอนดังต่อไปนี้ ภายในวันเดียวกับวันที่ผู้เริ่มก่อการจัดทำหนังสือบริคณห์สนธิ กรรมการจะจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิและจดทะเบียนตั้งบริษัทไปพร้อมกันภายในวันเดียวก็ได้
                7.1 จัดให้มีผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นครบตามจำนวนหุ้นทั้งหมดที่บริษัทจะจดทะเบียน
                7.2 ประชุมจัดตั้งบริษัท  เพื่อพิจารณากิจการต่างๆ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1108 โดยมีผู้เริ่มก่อการและผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นทุกคนเข้าร่วมประชุม และผู้เริ่มก่อการ และผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นทุกคน ให้ความเห็นชอบในกิจการที่ได้ประชุมกันนั้น
                7.3 ผู้เริ่มก่อการได้มอบกิจการทั้งปวงให้แก่กรรมการบริษัท
                7.4 กรรมการได้เรียกให้ผู้เข้าชื่อซื้อหุ้น ใช้เงินค่าหุ้น โดยจะเรียกครั้งเดียวเต็มมูลค่าหรือไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบห้า ตามมาตรา 1110 วรรคสองก็ได้  และผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นทุกคนได้ชำระเงินค่าหุ้นเสร็จเรียบร้อยแล้ว

สนใจบริการ หรือ ข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ

โทร 080 173 2000 ; 080 174 2000
โทร 02 933 5511

อีเมล์: info@53ac.com
และสำเนาอีเมล์ ถึง (CC) : 53ac.com@gmail.com

QRlogo

เพิ่ม นาราการบัญชี เป็นเพื่อน @nara53

 line-logo

contactt

แผนที่

https://goo.gl/maps/GBPpLfS42QsZg4jf6

เดินทาง รถไฟฟ้า สายสีเหลือง สถานี โชคชัย 4 ประตูทางออก 4 นาราฯ อยู่ในซอยลาดพร้าว 52

ที่อยู่ บริษัท นารา การบัญชี จำกัด

เลขที่ 4/1 ซอยลาดพร้าว 52 ถนนลาดพร้าว แขวงวังทองหลาง เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310

 

Q&A (ถาม-ตอบ) เกี่ยวกับการจดทะเบียนบริษัท

ถาม 1 – สำหรับบริษัทที่จดทะเบียนใหม่ ไม่ทราบว่าทุนจดทะเบียนจะมีผลต่อการเสียภาษีหรือไม่ อย่างไร
ตอบ 1 – แน่นอนครับ ทุนจดทะเบียน หากไม่ได้รับเงินชำระค่าหุ้น เข้ามาลงทุนในกิจการหรือนำฝากธนาคารจริง จะส่งผลต่อการเสียภาษี สำหรับ 2 ประเภท

  1. ภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภงด.50) จัดเก็บจากฐานกำไรสุทธิ สำหรับอัตราภาษีสำหรับปี 2559 และ 2560 เป็นดังนี้
กำไรสุทธิ
บริษัทที่มีทุนจดทะเบียน
ไม่เกิน 5 ล้านบาท
สำหรับปี 2559 - 2560
บริษัทที่มีทุนจดทะเบียน
เกิน 5 ล้านบาท
สำหรับปี 2559 - 2560
0 - 300,000
0%
20%
300,001 - 1,000,000
15%
20%
มากกว่า 1,000,000
20%
20%

โดยทั่วไปแล้ว กำไรสุทธิ คำนวณจาก = รายได้ – ค่าใช้จ่าย

2. ภาษีธุรกิจเฉพาะ (ภธ.40) จัดเก็บจากรายได้ดอกเบี้ยรับ ในอัตรา 3.3%

ขอให้พิจารณาตัวอย่างข้างล่างนี้

  • บริษัทคุณได้นำเงินรับชำระค่าหุ้นฝากธนาคาร  รายได้ในส่วนนี้คือ “ดอกเบี้ยรับ”
  • บริษัทคุณไม่ได้นำเงินรับชำระค่าหุ้น(หรือไม่ได้มีเงินลงทุนจริง) เงินรับค่าหุ้นจะต้องแสดงเป็น “เงินให้กู้ยืมแก่กรรมการ” ด้วยเหตุนี้บริษัทก็ต้องมีรายได้ “ดอกเบี้ยรับ” เช่นกัน

โดยอัตราดอกเบี้ยที่นำมาบังคับใช้คือ 4% ต่อปี (หรือขึ้นอยู่กับดุลพินิจของเจ้าหน้าที่แต่ละท้องที่)
กรณีศึกษา :  ทุนจดทะเบียน 10 ล้านบาท ค่าใช้จ่าย-สมมุติ 20,000 บาท ต่อปี จำนวนและประเภทภาษีที่ต้องจ่าย เป็นดังนี้
(4%10,000,000 – 20,000 = กำไรสุทธิ = 380,000 บาท)

  • ภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภงด.50) =  20%380,000 = 76,000 บาท ต่อปี อัตราภาษีที่ใช้สำหรับปี 2560 คือ อัตรา 20%
  • ภาษีธุรกิจเฉพาะ (ภธ.40) = 3.3%400,000 = 13,200 บาทต่อปี โดยจะต้องจ่ายเมื่อมีการรับชำระดอกเบี้ยรับดังกล่าว
    (รวมทั้งสิ้น ต้องจ่าย 89,200 บาท)

คำแนะนำ สำหรับทุนจดทะเบียนของบริษัท แยกตามกรณีดังต่อไปนี้
กรณีที่ 1 จดทะเบียนบริษัทด้วยทุนที่ไม่เกิน 5 ล้านบาท

  • ภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภงด.50) =  0 บาท
  • ภาษีธุรกิจเฉพาะ (ภธ.40) = 6,600 บาท

กรณีที่ 2 จดทะเบียนบริษัทด้วยทุนที่ไม่เกิน 5 ล้านบาท แต่เรียกชำระค่าหุ้นเพียงแค่ 25%

  • ภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภงด.50) =  0 บาท
  • ภาษีธุรกิจเฉพาะ (ภธ.40) = 1,650 บาท

กรณีที่ 3 สำหรับทางออกที่ดีที่สุด ขอเสนอดังนี้  จดทะเบียนบริษัทด้วยทุน 1 ล้านบาท แต่เรียกชำระค่าหุ้นเพียงแค่ 25%

  • ภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภงด.50) =  0 บาท
  • ภาษีธุรกิจเฉพาะ (ภธ.40) = 330 บาท

สรุป ในกรณีที่ 3 น่าจะเป็นคำตอบที่ดีที่สุดครับ เพราะเสียค่าภาษีแค่ 330 บาท (ประหยัดภาษีได้ถึง 100,270 บาท)

(กลับสู่ด้านบน)

ถาม 2 - ภายหลังการจัดตั้งบริษัทเรียบร้อยแล้ว บริษัทมีภาระหน้าที่อย่างไรบ้าง

ตอบ 2 - หน่วยงานหลักที่ควบคุมการทำธุรกิจ ของบริษัท-ห้างหุ้นส่วนในประเทศไทยนั้น ได้แก่ กรมสรรพากร และ กรมพัฒนาธุรกิจและการค้า กระทรวงพาณิชย์ ในเบื้องต้นขอกล่าวเพียงแค่ 2 หน่วยงานนี้เท่านั้น (แต่สำหรับบางประเภทกิจการ อาจต้องปฎิบัติตามข้อกำหนดของหน่วยงานอื่นด้วย เช่น กรมโรงงาน การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เป็นต้น)

  • กรมสรรพากร

นิติุบุคคลที่ดำเนินธุรกิจในประเทศไทย (ไม่ว่าจดทะเบียนภายใต้กฎหมายไทย หรือกฎหมายต่างประเทศ) มีหน้าที่ต้องเสียภาษีให้กับประเทศไทย ภาระหน้าที่ในส่วนนี้ขอสรุปผ่านตามแบบภาษีที่ต้องนำส่ง ดังนี้

สรุปแบบแสดงรายการภาษีและกำหนดเวลาการยื่นแบบ
สำหรับผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่เป็นนิติบุคคล


ลำดับที่

แบบฯ

กรณีที่ต้องยื่นแบบ

กำหนดเวลายื่น

1

ภ.พ.30

เป็นผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม

ภายในวันที่ 15ของเดือนถัดไป

2

ภ.พ.36

1.จ่ายเงินค่าซื้อสินค้า หรือ บริการให้กับ
-ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักร ที่เข้ามาประกอบการในประเทศชั่วคราว  และไม่ได้จดทะเบียน
-ผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร
2.ผู้รับโอนสินค้าหรือรับโอนสิทธิในบริการที่ได้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มไปแล้วในอัตราร้อยละ 0
3.ผู้ขายทอดตลาดซึ่งขายทรัพย์สินของผู้ประกอบการจดทะเบียน

 

 

ภายใน 30 วันนับแต่วันที่รับโอน

ภายใน 7 วันนับแต่วันสิ้นเดือนที่จ่ายให้ผู้ประกอบการจดทะเบียน

3

ภ.ง.ด.1

เป็นผู้จ่ายเงินได้ฯ ตาม ม.40(1)(2) เช่น เงินเดือนค่าจ้างฯลฯ

ภายใน 7 วันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่าย

4

ภ.ง.ด.2

เป็นผู้จ่ายเงินได้ฯ ตาม ม.40(3)(4) เช่น  ค่าลิขสิทธิ์ ดอกเบี้ยฯลฯ

ภายใน 7 วันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่าย

5

ภ.ง.ด.3

เป็นผู้จ่ายเงินได้ฯ ตาม ม.40(5)-(8) ให้แก่บุคคลธรรมดาและหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ตาม  ม.3 เตรส

ภายใน 7 วันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่าย

6

ภ.ง.ด.1ก

เป็นผู้มีหน้าทียื่นแบบ ภ.ง.ด.1

ภายในเดือนกุมภาพันธ์ของปีถัดจากปีที่หักภาษี ณ ที่จ่าย

7

ภ.ง.ด.2ก

เป็นผู้มีหน้าทียื่นแบบ ภ.ง.ด.2  (เฉพาะ ม.40(4))

ภายในเดือนมกราคมของปีถัดจากปีที่หักภาษี ณ ที่จ่าย

8

ภ.ง.ด.51

บริษัทห้างหุ่นส่วนฯลฯ ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย หรือ ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศและกระทำกิจการในประเทศไทย

ภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี

9

ภ.ง.ด.51

นิติบุคคลที่ต้องจัดทำประมาณการกำไรสุทธิ หรือ ขาดทุนสุทธิ

ภายใน 2 เดือนนับแต่รอบระยะเวลาหกเดือนนับแต่วันแรกของ
รอบระยะเวลาบัญชี

10

ภ.ง.ด.52

นิติบุคคลตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศทำกิจการขนส่งผ่านประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทย ม.66 และม.67

ภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี

11

ภ.ง.ด.53

เป็นผู้จ่ายเงินได้ฯ ให้แก่นิติบุคคล และ หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ตาม ม.3 เตรส

ภายใน 7วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่าย

12

ภ.ง.ด.54

เป็นผู้จ่ายเงินได้ตาม ม.40(2)-(6) ให้แก่บุคคลที่ตั้งข้นตามกฎหมายต่างประเทศและมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย  ตาม ม.70
-เป็นผู้จำหน่ายเงินกำไรไปต่างประเทศตาม ม.70 ทวิ

ภายใน 7วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่าย

 

ภายใน 7 วันนับแต่วันที่จำหน่ายเงินกำไร

หมายเหตุ นอกเหนือจากการยื่นแบบฯ ตามกฎหมายแล้ว ต้องจัดทำรายงานเกี่ยวกับการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม บัญชีตามกฎหมาย ว่าด้วยการบัญชี งบแสดงฐานะทางการเงิน ออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย รวมทั้งจัดทำบัญชีพิเศษ แสดงการหักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่งภาษีภายใน 7วัน นับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่าย

สิทธิและข้อกฎหมายที่ควรรู้

  • สิทธิที่ได้รับจากการเป็นผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม
    1. สามารถนำภาษีที่เกิดจากการซื้อสินค้า หรือ บริการต่างๆที่เกี่ยวเนื่องกับการประกอบธุรกิจมาขอหักจากภาษีขายได้
    2. นำใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไปแสดง  เพื่อติดต่อขอรับประมูลงานกับส่วนราชการต่างๆ
  • ผู้ประกอบการที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ประกอบการโดยไม่จดทะเบียนฯ ต้องรับผิดดังนี้
    1. ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือ ปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำและปรับ
    2. เสียภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวณจากยอดขายสินค้า หรือ บริการ ตั้งแต่วันที่มีหน้าที่จดทะเบียน   
    3. ไม่มีสิทธินำภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกผู้ประกอบการจดทะเบียนอื่นเรียกเก็บภาษี(ภาษีซื้อ)ในขณะที่ยังไม่ได้จดทะเบียน ไปหักออกจากภาษีที่ต้องเสีย(ภาษีขาย)
    4. เสียเบี้ยปรับ 2 เท่า ของเงินภาษีที่ต้องเสียในแต่ละเดือนภาษี
    5. เสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ
  • นิติบุคลใดไม่ยื่นรายการชำระภาษี ภายในกำหนดเวลาตามกฎหมาย ต้องรับผิดดังนี้

ความรับผิดทางแพ่ง

  1. ต้องเสียเบี้ยปรับกรณีที่ยื่นรายการไม่ถูกต้องอันเป็นเหตุให้จำนวนภาษีที่ต้องเสียคลาดเคลื่อนไป จะต้องคำนวณและเบี้ยปรับอีก 1 เท่า หรือ 2 เท่า ของเงินภาษีตามแต่กรณี
  2. ต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน หรือ เศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องเสีย โดยไม่รวมเบี้ยปรับ

ความรับผิดชอบทางอาญา

  1. แบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท
  2. แบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล และแบบยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
  • กรณีแสดงได้ว่าไม่ยื่นแบบด้วยเหตุสุดวิสัย ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท
  • กรณีเจตนาละเลย ไม่ยื่นแบบต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือทั้งจำทั้งปรับ (ตามแต่กรณี)

 

  • กรมพัฒนาธุรกิจและการค้ากระทรวงพาณิชย์ (DBD)

ความรับผิดชอบที่ บริษัทจำกัด จะต้องปฎิบัติตามกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

ลำดับ

หัวข้อ

1

ป้ายชื่อ ดวงตรา และเอกสารของบริษัทจำกัดจะต้องมีคำว่า “บริษัท” ไว้หน้าชื่อ และคำว่า “จำกัด” ไว้ท้ายชื่อ

2

การรับชำระเงินค่าหุ้นต้องถูกต้องและตรงกับรายการทุนจดทะเบียนและเรียกชำระแล้วตามที่ขอจดทะเบียน

3

จัดทำใบหุ้นมอบให้แก่ผู้ถือหุ้น มีข้อความที่ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด

4

จัดทำสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น เก็บไว้ ณ สำนักงานของบริษัทที่ได้จดทะเบียนไว้ และลงรายการในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นตามที่กฎหมายกำหนด

5

จัดให้มีการประชุมผู้ถือหุ้นภายใน 6 เดือน นับแต่ได้จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทฯ และต่อไปให้มีการประชุมสามัญอย่างน้อย 1 ครั้ง ในทุกระยะ 12 เดือน

6

จดบันทึกรายงานการประชุม และข้อมติทั้งหมดของที่ประชุมผู้ถือหุ้น และของที่ประชุมกรรมการให้ถูกต้องและเก็บไว้ ณ สำนักงานของบริษัทที่ได้จดทะเบียนไว้

7

จัดทำสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น ณ วันประชุมสามัญผู้ถือหุ้น (อนุมัติงบดุล) ส่งต่อนายทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่วันประชุม

8

บริษัทจำกัด ต้องทำงบการเงินอย่างน้อยครั้งหนึ่งทุกรอบสิบสองเดือน โดยมีผู้สอบบัญชี อย่างน้อยหนึ่งคน ตรวจสอบ แล้วนำเสนอที่ประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นอนุมัติงบการเงินภายใน 4 เดือน นับแต่วันปิดรอบปีบัญชีพร้อมทั้งยื่นงบการเงินต่อสำนักบริการข้อมูลธุรกิจ  กรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัด ภายใน 1 เดือน นับแต่วันอนุมัติงบการเงิน ทั้งนี้ รวมถึงบริษัทที่แม้ว่าจะมิได้ประกอบกิจการก็ตาม จะต้องส่งงบการเงินด้วย

9

บริษัทจำกัด ต้องจัดให้มีผู้ทำบัญชีและมีหน้าที่ควบคุมดูแลผู้ทำบัญชีให้จัดทำบัญชีให้ตรงต่อความเป็นจริงและถูกต้องตามกฎหมาย

10

การเปลี่ยนแปลงรายการทางทะเบียนที่บริษัทได้จดทะเบียนไว้แล้ว บริษัทจะต้องยื่นคำขอจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงต่อนายทะเบียนด้วย เช่น

  • การเปลี่ยนแปลงกรรมการ
  • การเปลี่ยนแปลงอำนาจกรรมการ
  • การเปลี่ยนแปลงสำนักงาน
  • การเปลี่ยนดวงตราประทับ
  • การเพิ่มทุน / การลดทุน / ควบบริษัท
  • การเปลี่ยนแปลงข้อบังคับ
  • การเปลี่ยนแปลงหนังสือบริคณห์สนธิอาทิ เช่น ชื่อ วัตถุประสงค์ จังหวัดที่ตั้งสำนักงานและทุน
  • การเปลี่ยนแปลงรายการอื่นที่ควรแจ้งให้ประชาชนทราบ

11

กิจการที่กฎหมายกำหนดระยะเวลาในการยื่นจดทะเบียน

  • คำขอจดทะเบียนแต่งตั้งกรรมการของบริษัทขึ้นใหม่และ/ หรือกรรมการออกจากตำแหน่งต้องยื่นขอจดทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ตั้งกรรมการขึ้นใหม่ หรือกรรมการออกจากตำแหน่ง
  • คำขอจดทะเบียนมติพิเศษให้เพิ่มทุน หรือลดทุนของบริษัทจำกัด หรือให้ควบบริษัทจำกัดต้องยื่นขอจดทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ที่ประชุมได้มีการลงมติพิเศษ
  • คำขอจดทะเบียนตั้งข้อบังคับใหม่ หรือแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของบริษัทจำกัด ต้องยื่นขอจดทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ที่ประชุมได้มีการลงมติพิเศษ
  • คำขอจดทะเบียนควบบริษัทจำกัด ต้องยื่นขอจดทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ได้มีการควบบริษัทเข้าด้วยกัน
  • คำขอจดทะเบียนเลิกบริษัทจำกัด ต้องยื่นขอจดทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่วันที่เลิกกัน
  • คำขอจดทะเบียนเปลี่ยนตัวผู้ชำระบัญชี ต้องยื่นจอจดทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ได้เปลี่ยนตัว
  • คำขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมอำนาจผู้ชำระบัญชี ต้องยื่นขอจดทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ประชุมได้มีการลงมติ หรือวันที่ศาลได้มีคำพิพากษา
  • การยื่นรายงานการชำระบัญชีของบริษัทจำกัดจะต้องยื่นทุกระยะเวลา 3 เดือน
  • คำขอจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีของบริษัทจำกัด ต้องยื่นขอจดทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ที่ประชุมได้มีการลงมติ

เพิ่มเติม ตามที่กล่าวไว้ในข้อ 8 บริษัทจำกัด ต้องทำงบการเงินอย่างน้อยครั้งหนึ่งทุกรอบสิบสองเดือน โดยมีผู้สอบบัญชี อย่างน้อยหนึ่งคน ตรวจสอบ แล้วนำเสนอที่ประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นอนุมัติงบการเงินภายใน 4 เดือน

กรณียื่นงบการเงินเกินกว่าระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด
ตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ.2553
แนบท้ายระเบียบกรมพัฒนาธุรกิจการค้า  ว่าด้วยการเปรียบเทียบกฎหมายที่อยู่ใน
ความรับผิดชอบของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า พ.ศ. 2555

1.อัตราค่าปรับกรณียื่นงบการเงินล่าช้าไม่เกิน 2 เดือน


ลำดับ

ประเภทผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี

อัตราค่าปรับ

รวม

ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี

กรรมการผู้จัดการ/
หุ้นส่วนผู้จัดการ/
ผู้รับผิดชอบในการดำเนินงาน

1

ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน

1,000

1,000

2,000

2

บริษัทจำกัด

1,000

1,000

2,000

3

นิติบุคคลต่างประเทศ

2,000

2,000

4,000

4

บริษัทมหาชนจำกัด

2,000

2,000

4,000

5

กิจการร่วมค้า

2,000

-

2,000

2.อัตราค่าปรับกรณียื่นงบการเงินเกิน 2 เดือน แต่ไม่เกิน 4 เดือน


ลำดับ

ประเภทผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี

อัตราค่าปรับ

รวม

ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี

กรรมการผู้จัดการ/
หุ้นส่วนผู้จัดการ/
ผู้รับผิดชอบในการดำเนินงาน

1

ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน

4,000

4,000

8,000

2

บริษัทจำกัด

4,000

4,000

8,000

3

นิติบุคคลต่างประเทศ

24,000

24,000

48,000

4

บริษัทมหาชนจำกัด

24,000

24,000

48,000

5

กิจการร่วมค้า

24,000

-

24,000

3.อัตราค่าปรับกรณียื่นงบการเงินล่าช้าเกินกว่า 4 เดือนขึ้นไป หรือไม่ยื่นงบการเงิน


ลำดับ

ประเภทผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี

อัตราค่าปรับ

รวม

ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี

กรรมการผู้จัดการ/
หุ้นส่วนผู้จัดการ/
ผู้รับผิดชอบในการดำเนินงาน

1

ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน

6,000

6,000

12,000

2

บริษัทจำกัด

6,000

6,000

12,000

3

นิติบุคคลต่างประเทศ

36,000

36,000

72,000

4

บริษัทมหาชนจำกัด

36,000

36,000

72,000

5

กิจการร่วมค้า

36,000

-

36,000

สำหรับความผิดตามพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับ บริษัทจำกัด สามารถดูได้เพิ่มเติมตามเอกสาร ข้างล่างนี้

civil_fine1

civil_fine2

civil_fine6

(กลับสู่ด้านบน)

ถาม 3 - จดภาษีมูลค่าเพิ่ม ดีหรือไม ทำไมต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม

นาราฯ 3 - การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จะต้องจดด้วยเหตุผลอย่างใด อย่างหนึ่งดังต่อไปนี้

  1. ผู้ประกอบที่ขายสินค้าหรือให้บริการที่อยู่ในบังคับภาษีมูลค่าเพิ่ม หากมีรายรับเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปีหรือต่อรอบระยะเวลาบัญชี ต้องจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และเมื่อขายสินค้าหรือให้บริการต้องออกใบกำกับภาษี เพื่อเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้ให้บริการ พร้อมทั้งส่งมอบใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้ให้บริการ
  2. การถูกบังคับโดยคู่ค้า ให้เข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม
  3. การทำธุรกิจร่วมกับหน่วยงานราชการ

ข้อดี

  • สำหรับธุรกิจส่งออกสินค้า ผู้ประกอบการ สามารถขอคืนภาษีซื้อ 7% (การส่งออก เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ในอัตรา 0%)

ข้อเสีย

  1. ผู้ประกอบการ ต้องมีหน้าที่นำส่ง แบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ.30) ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป แม้ว่าไม่ได้มีรายการซื้อขายก็ตาม
  2. การไม่นำยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือยื่น ผิดพลาด จะมีค่าปรับและเงินเพิ่ม
  3. ผู้ประกอบการที่เข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม จะจัดอยู่ในกลุ่มที่เจ้าหน้าที่สรรพากร สนใจเป็นพิเศษ

หมายเหตุ

ท่านสามารถศึกษาเพิ่มเติม เรื่องภาษีมูลค่าเพิ่ม อย่างละเอียด ได้ที่ http://www.52accounting.com/znews-029vat.html

(กลับสู่ด้านบน)

ถาม 4 - ต้องการจดทะเบียนบริษัท แต่มีชาวต่างชาติมาถือหุ้นด้วย ไม่ทราบว่ามีวิธีการและขั้นตอนที่แตกต่างบริษัทไทยทั่วไปหรือไม่คะ

ตอบ 4 - แน่นอนครับ มีกรรมวิธีที่สับซ้อนกว่าเยอะครับ เนื่องจากบ้านเราค่อนข้างระมัดระวังเกี่ยวกับการเข้ามาทำธุรกิจของชาวต่างชาติ จึงได้มีการออก "พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542" เข้ามาควบคุมการทำธุรกิจของคนต่างด้าว (ไม่ขอพูดในรายละเอียดครับ มันยาวมาก มาก)

ขอสรุปง่ายๆ ดังนี้ครับ ถ้าคนต่างชาติมาถือหุ้นไม่เกิน 49% (ส่วนที่เหลือเป็นคนไทย 51% หรือมากกว่า) ก็ถือเป็นบริษัทไทย ไม่ต้องไปสนใจ พรบ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 ดังกล่าว แต่การถือหุ้นโดยคนต่างชาติหรือบริษัทต่างชาติ ในกรณีที่มีการลงทุนต่ำกว่า 50% หรือมีชาวต่างชาติร่วมเป็นกรรมการ ผู้ถือหุ้นคนไทยทุกคนต้องแสดงแหล่งที่มาของเงินทุน ที่ออกโดยธนาคาร (อ้างถึง คำสั่ง สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท เลขที่ 205/5555)

เพิ่มเติมครับ หลักฐานแสดงทีีมาของเงินลงทุนที่ออกโดยธนาคาร จะต้องเป็น หนังสือรับรองที่ธนาคารออกให้เพื่อยืนยันเงินคงเหลือในบัญชี (ไม่ใช่ สำเนาสมุดธนาคารหรือบัญชีเงินฝากธนาคาร) และ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เริ่มบังคับใช้หลักเกณฑ์นี้ตั้งแต่วันที่ 2 มกราคา 2555

(กลับสู่ด้านบน)

ถาม 5 - เงินลงทุนขั้นต่ำ ควรมีอย่างน้อยเท่าไหร่ และต้องแสดงหลักฐานการนำเงินมาลงทุนอย่างไร
ตอบ 5 - ในกรณีของบริษัททั่วไปไม่ได้มีข้อจำกัดเรื่องเงินลงทุน ตามกฎหมายกำหนดให้หุ้นมีมูลค่าอย่างน้อย 5 บาทต่อหุ้น และจะต้องมีอย่างน้อย 3 หุ้น นั้นหมายถึงว่า เงินทุนขึ้นต่ำต้องมีอย่างน้อย 15 บาทครับ แต่ไม่เห็นด้วยนะครับที่จะจดทะเบียนด้วยเงินทุนเท่านี้ เพราะว่า

  • ค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียน จะถูกกำหนดเป็นสัดส่วนต่อทุนจดทะเบียนหลักล้านบาท นั้นหมายถึงการจดด้วยทุน 1 ล้านบาท และ ทุน 15 บาท จะมีค่าธรรมเนียมเท่ากันครับ จึงควรจดด้วยทุนจดทะเบียนหลักล้านบาทครับ
  • ต้องดูเงื่อนไขต่างๆ ในการทำธุรกิจด้วย เช่น หากต้องจากชาวต่างชาติเข้าทำงานด้วย ต้องจดทะเบียนด้วยอย่างน้อย 2 ล้านบาท ต่อการว่าจ้างชาวต่างชาติ 1 คน และจะเป็นสัดส่วนอย่างนี้ต่อการว่าจ้างชาวต่างชาติที่เพิ่มขึ้น
  • ต้องดูขนาดของการทำธุรกิจ เพื่อความเหมาะสม และเพื่อการแสดงฐานะการเงินอย่างน่าเชื่อถือ
  • ขอให้ข้อสังเกตุว่า ท่านอาจจดทะเบียนด้วยทุนตามที่ต้องการได้ เช่น 1 ล้านบาท และอาจแสดงเงินทุนแบบเรียกชำระไม่ครบ เช่น เรียกชำระเพียงแค่ 25% ก่อนในช่วงเริ่มแรก เพื่อเป็นการประหยัดเกี่ยวกับภาษีที่เกี่ยวข้องกับการที่ไม่ได้นำเงินเข้ามาในบริษัท

อันที่จริงแล้ว ณ วันจดทะเบียน ยังไม่ต้องแสดงหลักฐานเกี่ยวกับเงินที่นำมาลงทุน เพียงแค่แสดงในเอกสารและรับรองโดยกรรมการบริษัทเกี่ยวกับการเก็บรักษาเงินลงทุน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วกรรมการจะแจ้งว่าเก็บรักษาไว้โดยกรรมการ และสามารถพูดได้ว่าบริษัทส่วนใหญ่แล้วไม่ได้นำเงินเข้าลงทุนจริง (แค่แจ้งในเอกสารเท่านั้น) ดังนั้น การทำบัญชีจะแสดงเงินที่ไม่ได้นำเข้ามาลงทุนจริงดังกล่าว ในบัญชี เงินให้กู้ยืมแก่กรรมการ และต้องคิดดอกเบี้ยเพื่อเสียภาษี ทั้งภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีธุรกิจเฉพาะ เพื่อให้สอดคลัองกับหลัำกการจัดเก็บภาษี เสมือนว่าบริษัทท่านได้นำเงินลงทุนไปฝากธนาคาร

ถาม 6 - หากจดทะเบียนแล้ว จะมีภาระหน้าที่อะไรบ้างครับ โดยเฉพาะเรื่องภาษี
ตอบ 6 - โปรดดูรายละเอียดคร่าว ๆ จากเอกสารข้างล่างนี้ก่อนครับ

co-taxation1

co-taxation2

ถาม 7 - ไม่ทราบว่ามีให้บริการ เปลี่ยนแปลงที่อยู่ และเปลี่ยนชื่อและตราประทับ หรือไม่ และราคาเท่าไหร่

1.ต้องการเปลี่ยนที่อยู่บริษัท
นาราการบัญชี มีให้บริการครับ รายละเอียดค่าบริการและค่าธรรมเนียม เป็นดังนี้:

    • ค่าบริการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงที่อยู่สำนักงาน 4,000 บาท (ครอบคลุมทั้งกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและสรรพากร)
    • ค่าธรรมเนียมจ่ายให้กรมฯ 600.00 บาท

2. ต้องการเปลี่ยนชื่อและตราประทับบริษัท
นาราการบัญชี มีให้บริการครับ รายละเอียดค่าบริการและค่าธรรมเนียม เป็นดังนี้:

    • ค่าบริการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อและตรายางบริษัท (ครอบคลุมทั้งกรมพัฒฯ และกรมสรรพากร) 4,000.00 บาท
    • ค่าาธรรมเนียมรัฐบาล 1,150 บาท
    • ค่าลงโฆษณาเชิญประชุมในหนังสือพิมพ์ท้ัองถิ่น 800.00 บาท
    • ค่าแสตป์์และบริการจัดส่งจดหมายเิชิญประชุม 120 บาท

เพิ่มเติม เรื่องค่าบริการครับ กรณีให้ดำเนินการพร้อมกัน มีส่วนลดให้ครับ งานส่วนที่สอง ลอให้ครึ่งหนึ่ง 50%

เอกสารที่ต้องเตรียมสำหรับการ เปลี่ยนแปลงที่ตั้งสำนักงาน บริษัท:

  1. สำเนาบัตรประชาชนของกรรมการ ผู้มีอำนาจลงนาม 3 ชุด
  2. สำเนาทะเบียนบ้านของกรรมการผู้มีอำนาจ 3 ชุด
  3. สำเนาแผนที่ตั้งแห่งใหม่ขอสังเขป 3 ชุด
  4. สำเนาแบบ ภพ.01, 09, 20 ของทุกครั้งที่มีการยื่นเปลี่ยนแปลง 2 ชุด (พร้อมฉบับจริง)
  5. สำเนาบัตรประจำตัวผู้เสียภาษี 2 ชุด (พร้อมตัวจริง)
  6. ภาพถ่ายสถานประกอบการ 4 ภาพ ถ่ายให้เห็นเลขที่บ้านและชื่อบริษัทให้ชัดเจน ติดลงกระดาษเอ 4 (เซ็นต์รับรองโดยกรรมการ) 2 ชุด

    หลักฐานของสำนักงานแห่งใหม่
  7. หนังสือยินยอมให้ใช้สถานประกอบการ 2 ชุด
  8. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและทะเบียนบ้านของเจ้าของสถานประกอบการ 2 ชุด
    กรณีกรรมสิทธิ์ในอาคารเป็นของนิติบุคคลไม่ต้องเตรียมข้อ 6 แต่ต้องเตรียมเอกสารตามรายละเอียดตามด้านล่างนี้แทน
    • สำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคลพร้อมวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลนั้น 2 ชุด
    • สำเนาบัตรประชาชนของกรรมการ 2 ชุด
    • สำเนาทะเบียนบ้านของกรรมการ 2 ชุด
    • สำเนาสัญญาเช่าสำนักงาน 2 ชุด
    • สำเนาทะเบียนบ้านของสถานประกอบการแห่งใหม่ 2 ชุด
    • เจ้าหน้าที่อาจขอสำเนาโฉนดที่ดินเพิ่มเติม ถ้าในกรณีที่บริษัทไม่มีสำเนาทะเบียนบ้าน

หมาเหตุ เอกสารตามข้อที่กล่าวมาข้างต้้นให้กรรมการผู้มีอำนาจลงนามและประทับตราทุกฉบับยกเว้น ข้อ 7 - 8

ถาม 8 - อยากทราบว่าในการจัดทำตราประทับ มีข้อกำหนดอะไรบ้าง

ตอบ 8 - หลักเกณฑ์การจัดทำดวงตราของห้างหุ้นส่วนและบริษัท ดังต่อไปนี้

  1. ดวงตราของห้างหุ้นส่วนและบริษัทต้องไม่มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
    1. เครื่องหมายตรามหาจักรีบรมราชวงศ์
    2. พระบรมราชาภิไธย พระปรมาภิไธยย่อของพระมหากษัตริย์ทุกรัชกาล และพระนามาภิไธยย่อของสมเด็จพระอัครมเหสีหรือสมเด็จพระยุพราช
    3. พระบรมราชสัญลักษณ์ และพระราชสัญลักษณ์ของพระมหากษัตริย์ สมเด็จพระอัครมเหสี และสมเด็จพระยุพราช
    4. พระมหามงกุฎ มงกุฎขัตติยราชนารี หรือเครื่องราชอิสริยาภรณ์อื่นใดที่ใกล้เคียงกับมงกุฎ
    5. ฉัตรต่าง ๆ อันเป็นลักษณะของเครื่องประกอบพระบรมราชอิสริยยศ
    6. ตราแผ่นดิน ตราราชการ ตราครุฑพ่าห์ ธงหลวง ธงชาติ หรือธงราชการ เว้นแต่จะได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต
    7. พระราชลัญจกร และลัญจกรในราชการ
    8. เครื่องหมายกาชาด ชื่อกาชาด กาเยเนวา เครื่องหมายราชการ หรือเครื่องหมายใด ๆ ที่ขัดต่อรัฐประศาสโนบายหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
    9. เครื่องหมายที่ราชการ องค์การ หน่วยงานของรัฐหรือองค์การ ระหว่างประเทศขอสงวนไว้
    10. สัญลักษณ์ประจำชาติไทย ได้แก่ ช้างไทย ดอกราชพฤกษ์ และ ศาลาไทย
  2. ดวงตราจะมีชื่อห้างหุ้นส่วนบริษัทหรือไม่ก็ได้ ในกรณีตรามีชื่อห้างหุ้นส่วน บริษัท ชื่อในดวงตรานั้นต้องชัดเจนและตรงกับชื่อที่ขอจดทะเบียน หรือตรงกับชื่อภาษาต่างประเทศที่ขอใช้และต้องมีคำแสดงประเภทของนิติบุคคลด้วย
  3. กรณีขอจดทะเบียนดวงตราสำคัญมากกว่า 1 ดวง ให้ผู้ขอจดทะเบียนระบุให้ชัดเจนไว้ในรายการจดทะเบียนอย่างอื่นซึ่งเห็นสมควรจะให้ประชาชนทราบว่าดวงตราดวงใดใช้ในกรณีใด
  4. บริษัทจะขอจดทะเบียนดวงตราสำคัญหรือไม่ก็ได้เว้นแต่อำนาจกรรมการ จะระบุว่าต้องประทับตราสำคัญบริษัทก็ต้องขอจดทะเบียนดวงตราสำคัญด้วย

ถาม 9 - อยากจะทราบว่ามีข้อบังคับทางกฎหมายเกี่ยวกับการเขียนชื่อบริษัทจำกัดในภาษาอังกฤษหรือไม่
ปกติจะพบเห็นบริษัทจำกัดเขียนชื่อของบริษัทแล้วตามด้วย Company Limited หรืออักษรย่อ Co., Ltd. โดยทั่วไป แต่บริษัทบางบริษัท หรือบริษัทที่จดทะเบียนเป็นบริษัทลูกของบริษัทจากต่างชาติก็นิยมใช้เพียงคำว่า Limited หรืออักษรย่อ Ltd. ตามท้ายชื่อบริษัท จึงอยากสอบถามว่าในเชิงกฎหมายแล้วมีข้อบังคับหรือบ่งชี้ในการเขียนชื่อบริษัทหรือไม่อย่างไรครับ

ตอบ 9 - การใช้ชื่อภาษาต่างประเทศซึ่งมีความหมายว่า บริษัท นั้น กำหนดให้ใช้ Company Limited (ย่อว่า Co., Ltd.) หรือ ในกรณีที่ไม่ใช้คำว่า Company หรือคำว่า Corporation ให้ใช้คำว่า Limited (ย่อว่า Ltd.) คำเดียวในตอนท้ายชื่อ สำหรับบริษัทจำกัดจดทะเบียนในสหรัฐอเมริกา ให้ใช้คำว่า Corporation หรือ Incorparated (ย่อว่า Inc.) ตอนท้ายชื่อ ทั้งนี้เป็นไปตามประกาศกระทรวงเศรษฐการ เรื่อง อักษรต่างประเทศ ซึ่งมีความหมายว่า “ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล” “ห้างหุ้นส่วนจำกัด” และ “บริษัทจำกัด

“ห้างหุ้นส่วนจำกัด” และ “บริษัทจำกัด”

อาศัยความตามาตรา ๓ (๒) และมาตรา ๕ (๒)แห่งพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ. ๒๔๙๙  กระทรวงเศรษฐการ ประกาศอักษรต่างประเทศ ซึ่งมีความหมายว่า “ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล” “ห้างหุ้นส่วนจำกัด” และบริษัทจำกัด” คือ

co-reg1

หมายเหตุ :- ในกรณีที่ไม่ใช้คำว่า Company หรือคำว่า Corporation ให้ใช้คำว่า Limited (ย่อว่า Ltd.) คำเดียวในตอนท้ายชื่อ
                  สำหรับบริษัทจำกัดจดทะเบียนในสหรัฐอเมริกา ให้ใช้คำว่า Corporation หรือ Incorporated (ย่อว่า Inc.) ในตอนท้ายชื่อ 
                  ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ประกาศเป็นต้นไป 

ประกาศ ณ วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๐๐
พลตรี ศิริ สิริโยธิน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ

ถาม 10 - สอบถามค่ะ เมื่อหุ้นส่วนผู้จัดการเสียชีวิตลง แล้วต้องการเปลี่ยนหุ้นส่วนท่านอื่นเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการแทนพร้อมทั้งเพิ่มหุ้นส่วนใหม่เข้าไปในหจก. จะต้องทำอย่างไรและเอกสารที่ต้องใช้มีอะไรบ้างคะ โดยที่หุ้นส่วนผจก.มีบุตรเป็นผู้จัดการมรดกอยู่ สิทธิ์ในการบริหารหจก.จะตกสู่ทายาทของผู้เสียชีวิตโดยอัตโนมัติหรือไม่คะ 

ตอบ 10 - กรณีผู้เป็นหุ้นส่วนตาย แต่ผู้เป็นหุ้นส่วนที่เหลืออยู่ได้ตกลงกันและมีความประสงค์ที่จะให้ห้างยังคงอยู่ต่อไป ก็สามารถกระทำได้ รวมทั้งการตกลงเพิ่มตัวผู้เป็นหุ้นส่วนและสิทธิ์ในการบริหารด้วย อนึ่งการยื่นขอจดทะเบียนจะต้องแนบสัญญาลงลายมือชื่อของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน และสำเนาหลักฐานการเป็นผู้จัดการมรดก พร้อมคำขอจดทะเบียนด้วย

ถาม 11 - อยากทราบว่าจดทะเบียนนิติบุคลไว้ แล้วอยู่มาทางเขตแจ้งเปลี่ยนบ้านเลขที่ต้องทำอย่างไรบ้างกับทะเบียนนิติบุคคลคะ

ตอบ 11 - ให้ผู้ประกอบการนำหลักฐานที่ทางเขตแจ้งเปลี่ยนที่อยู่ ไปติดต่อขอแก้ไขทะเบียนนิติบุคคลได้ที่ ชั้น 3 กรมพัมนาธุรกิจการค้า หรือ สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าเขต (สพข.) ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ ดังนี้ 

  • สพข.1 (ปิ่นเกล้า)อาคารธนาลงกรณ์ทาวเวอร์ชั้น 14 สพข.2 ถ.บรมราชชนนี
  • สพข.2 (พหลโยธิน สี่แยกประดิพัทธ์)
  • สพข.3 (รัชดาภิเษก) อาคารปรีชาคอมเพล็กซ์ C 2 ชั้น 3
  • สพข.4 (สุรวงศ์) อาคารวรวิทย์ ชั้น 8 โซน A-B
  • สพข.5 (ศรีนครินทร์) อาคารโมเดิร์นฟอร์ม ชั้น 16

ถาม 12 - ขอเรียนถามว่ากรณีที่ห้างฯ ถูกถอนชื่อออกจากทะเบียนตามมาตรา1273แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้วสามารถทำนิติกรรมโดยยังคงใช้ชื่อห้างฯ ได้หรือไม่ ขอได้โปรดตอบให้ทราบด้วยจักขอบพระคุณมาก

ตอบ 12 - กรณีห้างฯ ถูกขีดชื่อออกจากทะเบียนแล้วให้ถือว่าห้างฯ นั้นสิ้นสภาพ ดังนั้นห้างฯ จึงไม่สามารถทำนิติกรรมใดๆ ต่อไปได้

 

ถาม 13 - ไม่ทราบว่าคณะกรรมการบริษัท สามารถทำมติเวียน คือไม่มีการนั่งประชุม แต่ให้มีมติเวียนเซ็นต์ในรายงานการประชุม บางคนบอกว่าไม่ได้ แต่ไม่สามารถอ้างประกาศ หรือกฎระเบียบฉบับหนึ่งฉบับใดได้

ตอบ 13 - ในปัจจุบันกฎหมายยังไม่มีข้อกำหนดให้การประชุมกรรมการสามารถทำมติเวียนได้

ถาม 14 - อยากทราบว่าถ้าเปิดร้านขายส่งเสื้อผ้าควรจดทะเบียนแบบไหนและการจดทะเบียนพาณิชย์บุคคลธรรมดาจะต้องจ่ายพาษีประเพทไหน 

ตอบ 14- ติดต่อขอจดทะเบียนพาณิชย์ได้ที่ สำนักงานเขต ซึ่งสถานประกอบการตั้งอยู่ และติดต่อขอเยภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ โดยเสียภาษีปีละ 2 ครั้ง ดังนี้

  1. 1.ภ.ง.ด.94 (ภาษีครึ่งปี) คำนวณรายได้จากเดือนมกราคม-มิถุนายน ยื่นแบบภายในเดือน กรกฎาคม -กันยายน ของทุกปี 
  2. 2. ภ.ง.ด.90 (ภาษีปลายปี) คำนวณรายได้จากเดือนกรกฎาคม - ธันวาคม ยื่นแบบภายในเดือน มกราคม-มีนาคม ของปีถัดไป

ถาม 15 - ผู้มีอำนาจลงนามของ ห้างหุ้นส่วน/ห้างหุ้นส่วนจำกัด ต้องลงนามพร้อมประทับตรา ทุกครั้ง ในนิติกรรมสัญญาต่าง ๆ หรือไม่

ตอบ 15 - สามารถดูเงื่อนไขได้จากหนังสือรับรองนิติบุคคล หากในหนังสือรับรองระบุว่า ต้องลงนามร่วมกัน พร้อมประทับตราสำคัญ ก็ต้องเป็นไปตามนั้น หรือ หากระบุว่า กรรมการคนใดคนหนึ่งลงนาม พร้อมประทับตราสำคัญก็ต้องตามนั้นเช่นเดียวกัน

ถาม 16 - ตามที่เข้าใจของผม คือ อู่ซ่อมรถ เป็นธุรกิจบริการ ไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ แล้ว หากที่อู่ มีสินค้าวางที่ชั้น เช่น น้ำมันเครื่อง ที่มีไว้สำหรับถ่าย ให้กับลูกค้า มิได้จำหน่ายปลีก อย่างนี้ ต้องจดทะเบียน หรือ ไม่ครับ

ตอบ 16 - ตามระเบียบการจำหน่ายสินค้าตั้งแต่ 20 บาท ขึ้นไปต่อวันและมีสถาที่ประกอบการเป็นหลักแหล่งต้องจดทะเบียนพาณิชย์ สามารถไปจดตามสถานที่ตั้งของผู้ประกอบการเป็นหลัก เช่น ร้านตั้งอยู่เขตจตุจักร ก็ต้องไปจดทะเบียนพาณิชย์ที่ สำนักงานเขตจตุจักร ส่วนปกครอง

ถาม 17 - ถ้าบริษัทจะหยุดดำเนินการชั่วคราว ประมาณ1-2 ปี ทางบริษัทต้องยื่นเอกสารต่อกระทรวงพาณิชย์หรือป่าวค่ะ ขอคำแนะนำด้วยน่ะค่ะ

ตอบ 17 - การหยุดกิจการชั่วคราวต้องแจ้งเรื่องที่กรมสรรพกร เพราะในส่วนทางกรมฯ ถ้ายังไม่พร้อมยกเลิกก็ต้องยื่นงบการเงินประจำปีเข้ามาทุกปี เป็นงบเปล่า ถ้าขาดส่งมิฉะนั้นจะเสียค่าปรับในเรื่องการยื่นงบล่าช้า

ถ 18 – วันที่นิติบุคคลมีอำนาจกระทำการในนามของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้นเริ่มเมื่อใด
ต 18– ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทเมื่อได้จดทะเบียนตามขั้นตอนของ ป.พ.พ.แล้วย่อมถือว่าเป็นนิติบุคคลและมีสิทธิหน้าที่ความรับผิดชอบแยกต่างหากจากผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้น ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทจึงมีสภาพเป็นนิติบุคคลและมีอำนาจทำนิติกรรมได้ ตั้งแต่วันที่จดทะเบียนจัดตั้งเป็นต้นไป

ถ 19 – การเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่จากการเพิ่มทุนของบริษัทจำกัด มีขั้นตอนวิธีดำเนินการอย่างไร
ต 19 – บริษัทต้องดำเนินการตาม ม.1222 แห่ง ป.พ.พ.โดยเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมทั้งหลายตามส่วนที่ถืออยู่ เมื่อพ้นกำหนดเวลาในการเสนอซื้อหรือผู้ถือหุ้นปฏิเสธไม่รับซื้อหุ้น กรรมการมีสิทธิขายหุ้นให้แก่ผู้ถือหุ้นรายอื่นหรือจะรับซื้อไว้เองก็ได้ แต่จะเสนอขายให้บุคคลภายนอกไม่ได้ ซึ่งเป็นไปตามหลักการของ ม.1102 ที่ห้ามมิให้ชี้ชวนประชาชนให้ซื้อหุ้นหากกรรมการหรือผู้ถือหุ้นเดิมไม่รับซื้อหุ้นดังกล่าวบริษัทย่อมไม่สามารถจดทะเบียนเพิ่มทุนได้
ถ 20 – บริษัทสามารถกำหนดข้อบังคับว่าในการประชุมคณะกรรมการ กรรมการสามารถมอบฉันทะให้ผู้อื่นเข้าร่วมประชุมกรรมการแทนและผู้รับมอบฉันทะให้นับเป็นองค์ประชุม รวมทั้งมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนได้หรือไม่
ต 20 – บุคคลที่จะได้รับเลือกให้เป็นกรรมการของบริษัทย่อมต้องเป็นผู้ที่ได้รับความไว้วางใจจากบรรดาผู้ถือหุ้นของบริษัท โดยคำนึงถึงความรู้ความสามารถความซื่อสัตย์สุจริตซึ่งเป็นคุณสมบัติเฉพาะตัวบุคคลนั้น การเป็นกรรมการจึงเป็นเรื่องเฉพาะตัวที่จะต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยตนเอง ไม่อาจสอบหมายให้บุคคลอื่นกระทำการในฐานะเป็นกรรมการของบริษัทแทนตนได้ บริษัทจึงไม่สามารถกำหนดข้อบังคับของบริษัทตามที่หารือได้

ถ 21 – ห้างหุ้นส่วนจำกัดที่ถูกจำแนกเป็นห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนที่ไม่ได้ทำการค้าขายหรือประกอบการงานแล้ว จะยังคงมีสถานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายอยู่หรือไม่และมีวิธีการกลับสู่สภาพเดิมอย่างไร
ต 21 – ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนที่ถูกจำแนกเป็นห้างหุ้นส่วนที่ไม่ได้ทำการค้าขายหรือประกอบการงานแล้ว และนายทะเบียนได้หมายเหตุในหนังสือรับรองว่าเป็นห้าที่ถือเสมือนว่าได้ถูกถอนทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนร้างฯ ตามระเบียบกรมทะเบียนการค้าว่าด้วยการจำแนกห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนที่ไม่ได้ทำการค้าขายหรือประกอบการงานแล้ว พ.ศ.2545 นั้นยังคงมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย การจำแนกห้างและการหมายเหตุในหนังสือรับรองดังกล่าวมิได้มีผลเป็นการขีดชื่อห้าง ออกจากทะเบียนแต่อย่างใด จึงไม่ต้องดำเนินการใดๆ เพื่อให้ห้างกลับคืนสู่ทะเบียน

ถ 21 – กิจการร่วมค้าที่จะจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลใหม่จะต้องจดทะเบียนที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าหรือไม่
ต 21 – การจัดตั้งธุรกิจในรูปของกิจการร่วมค้า มิได้มีบทบัญญัติของกฎหมายใดกำหนดให้ต้องจดทะเบียนจัดตั้งเป็นนิติบุคคล แต่ในปัจจุบันมีการจัดตั้งกิจการร่วมค้าใน 2 ลักษณะ คือ
กิจการร่วมค้าในลักษณะของการดำเนินกิจการร่วมกันระหว่างห้างหุ้นส่วนและหรือบริษัทซึ่งเป็นนิติบุคคลโดยไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลขึ้นใหม่ กิจการร่วมค้า ลักษณะนี้จึงไม่ได้มีการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและไม่มีสถานะเป็นนิติบุคคล
กิจการร่วมค้าที่จดทะเบียนจัดตั้งเป็นห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า โดยใช้คำว่ากิจการร่วมค้าประกอบชื่อ ซึ่งกิจการในลักษณะนี้คือ ห้างหุ้นส่วนบริษัทที่มีสถานะเป็นนิติบุคคลตาม ป.พ.พ.

ถ 22 - สำเนาใบแจ้งยอดบัญชีเงินฝากธนาคาร (BANK STATEMENT) ของสามีที่ภรรยาซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นคนไทยนำมายื่นประกอบคำขอจดทะเบียน สามารถใช้เป็นหลักฐานแสดงแหล่งที่มาของเงินลงทุนของภรรยา ตามคำสั่งสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลางที่ 102/2549 ได้หรือไม่
ต 22 - การที่ภรรยานำสำเนาใบแจ้งยอดบัญชีธนาคาร (BANK STATEMENT) ของสามีมาเป็นหลักฐานประกอบคำขอจดทะเบียน นั้น ถึงแม้สามีและภรรยาจะเป็นคู่สมรสกัน แต่ผู้มีสิทธิในการเบิกจ่ายเงินในบัญชีเงินฝากธนาคารดังกล่าวเป็นของสามีเพียงผู้เดียว ดังนั้น จึงไม่ถือว่าเป็นบัญชีเงินฝากธนาคารของสามี เป็นหลักฐานแสดงแหล่งที่มาของเงินทุนของภรรยาผู้ถือหุ้นคนไทย ตามคำสั่งที่ 102/2549 ข้อ 1

เพิ่มเติม ได้มีการยกเลิกคำสั่งดังกล่าวแล้ว โดยให้ปฎิบัติตาม คำสั่งสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท เลขที่ 205/2555)

การถือหุ้นโดยคนต่างชาติหรือบริษัทต่างชาติ ในกรณีที่มีการลงทุนต่ำกว่า 50% หรือมีชาวต่างชาติร่วมเป็นกรรมการ ผู้ถือหุ้นคนไทยทุกคนต้องแสดงแหล่งที่มาของเงินทุน ที่ออกโดยธนาคาร (อ้างถึง คำสั่ง สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท เลขที่ 205/2555)

ถ 23 - แจ้งขอยกเลิกการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด เนื่องจากไม่สามารถนำเอกสารหลักฐานแสดงความยินยอมให้ใช้สถานที่ที่เป็นที่ตั้งของสำนักงานของห้างฯ ไปแสดงต่อกรมสรรพากรเพื่อขอเลขประจำตัวผู้เสียภาษีและจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้
ต 23 - ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้กำหนดเหตุเลิกไว้หลายกรณี ในกรณีของห้าง หากเลิกโดยความประสงค์ของผู้เป็นหุ้นส่วนโดยหุ้นส่วนทุกคนตกลงให้เลิกห้างจะต้องดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หากห้างฯ ประสงค์จะประกอบธุรกิจต่อไป เมื่อหาสถานที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ได้ ก็ไม่จำเป็นต้องจดทะเบียนเลิกห้างฯ เพียงแต่ยื่นจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ก็สามารถดำเนินธุรกิจได้ต่อไป
ถ 24 - ในการจดทะเบียนนิติบุคคลการระบุสถานที่ตั้งสำนักงานนิติบุคคลจะต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในสถานที่ตั้งนั้นหรือไม่ และเป็นไปตามกฎหมายใด
ต 24 - การระบุสถานที่ตั้งของนิติบุคคลในการจดทะเบียนนิติบุคคลเป็นไปตามบทบัญญัติไว้เฉพาะในส่วนของบริษัทจำกัดว่า บริษัทจำกัดต้องมีสำนักงานบอกทะเบียนไว้แห่งหนึ่ง ซึ่งธุรการติดต่อและคำบอกกล่าวทั้งปวงจะส่งถึงบริษัทได้ ณ ที่นั้น ทั้งนี้ บทบัญญัติมาตราดังกล่าวมิได้มีข้อกำหนดว่าบริษัทจำกัดจะต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในสถานที่ตั้งนั้น จึงอาจจะได้มาซึ่งสิทธิในการใช้เป็นสถานที่ตั้งสำนักงานของบริษัทโดยการเช่าหรือได้รับความยินยอมมากเจ้าของกรรมสิทธิ์ก็ได้

บริษัท ตัวอย่าง จำกัด ประสงค์จะกำหนดสิทธิประโยชน์ในหุ้นบุริมสิทธิที่แตกต่างจากหุ้นสามัญ ดังนี้
ถ 25 - ในการจ่ายเงินปันผลคราวใดๆ ในหุ้นบุริมสิทธิมีสิทธิในเงินปันผลที่บริษัทประกาศจ่ายก่อนหุ้นสามัญเป็นจำนวนร้อยละ 10 ของมูลค่าหุ้นบุริมสิทธิที่ชำระแล้วและหากมีเหลือ
ให้จ่ายแก่หุ้นสามัญเป็นจำนวนเท่าๆ กัน ทั้งนี้หากปรากฏว่าเงินปันผลที่ประกาศจ่ายมีจำนวนไม่เกินร้อยละ 10 ของมูลค่าหุ้นบุริมสิทธิที่ชำระแล้วดังกล่าว เงินปันผลทั้งจำนวนให้จ่าย ให้แก่หุ้นบุริมสิทธิเท่านั้น
ต 25 - ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1108 (4) ได้กำหนดให้ที่ประชุมตั้งบริษัทวางกำหนดสภาพและบุริมสิทธิของหุ้นบุริมสิทธิ จึงเทียบเคียงได้ว่า หุ้นบุริมสิทธิจะมีสภาพ
และบุริมสิทธิของหุ้นบุริมสิทธิ จึงเทียบเคียงได้ว่า หุ้นบุริมสิทธิจะมีสภาพและบุริมสิทธิจะมีสภาพและบุริมสิทธิแห่งหุ้นเป็นอย่างไร จะต้องกำหนดโดยที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น
แต่ทั้งนี้ข้อกำหนดสิทธิและสภาพดังกล่าวต้องไม่ขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ดังนั้น เมื่อมีประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ได้กำหนดข้อบังคับ ในเรื่องสิทธิเกี่ยวกับการจ่ายเงินปันผลการได้รับเงินคืน เมื่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติให้เลิกบริษัทและชำระบัญชี และการออกเสียงลงคะแนนไว้ตามที่แจ้งมาโดยไม่ขัดต่อกฎหมายหรือ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนก็สามารถกระทำได้

ถ 26 - ในกรณีที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติให้เลิกบริษัทและชำระบัญชี ให้หุ้นบุริมสิทธิได้รับคืนเงินค่าหุ้นที่ชำระแล้วก่อนหุ้นสามัญหากปรากฏว่ายังมีสินทรัพย์ของบริษัทเหลืออยู่หลังจากการคืน เงินค่าหุ้นแก่หุ้นบุริมสิทธิแล้วให้นำทรัพย์สินที่เหลืออยู่ทั้งหมดเฉลี่ยคนให้แก่หุ้นสามัญเป็นจำนวนเท่าๆ กัน
ต 26 - มีความเห็นเช่นเดียวกัน ตาม1

ถ 27- ในการกำหนดจ่ายเงินปันผลในกรณีต่างๆ ดังต่อไปนี้ บริษัทฯ สามารถกระทำได้หรือไม่ โดยไม่ขัดกับข้อบังคับของบริษัทฯ ตามที่กำหนดไว้ข้างต้น ข้อเท็จจริงบริษัทมีทุน 1 ล้านบาทแบ่งเป็นหุ้นบุริมสิทธิ 100 หุ้น หุ้นสามัญ 900 หุ้น ราคาหุ้นละ 1,000 บาท ชำระแล้วหุ้นละ 500 บาท รวมทุนชำระแล้ว 500,000 บาท
กรณีที่ 1 หากปรากฏว่าบริษัทมีมติประกาศจ่ายเงินปันผลจำนวน 4,500บาท ซึ่งจำนวนร้อยละ 10 ของมูลค่าหุ้นบุริมสิทธิชำระแล้วในกรณีนี้คิดเป็นมูลค่า 5,000 บาท ดังนั้น เงินปันผลทั้งหมดจะต้องจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิเท่านั้นเป็นจำนวนหุ้นละ 4.50 บาท ส่งผลให้ผู้ถือหุ้นสามัญจะไม่ได้รับเงินปันผลเลย
กรณีที่ 2 หากบริษัทมีมติประกาศจ่ายเงินปันผลจำนวน 95,000 บาท บริษัทจะต้องจ่ายเงินปันผลจำนวน 5,000 บาท ให้แก่ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิก่อนส่วนที่เหลืออีก 90,000 บาท จึงจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นสามัญเป็นจำนวนเท่าๆ กันคือ 100 บาทต่อหุ้น
กรณีที่ 3 หากในกรณีที่ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิต้องการจะโอนหุ้นบุริมสิทธิต้องการจะโอนหุ้นของตนให้แก่ผู้อื่น และก่อนการโอนหุ้นดังกล่าวบริษัทมีมติประกาศจ่ายเงินปันผลจากเงินกำไรสะสมทั้งหมดของบริษัทดังนี้ บริษัทจะต้องจ่ายเงินปันผลจำนวน 5,000 บาท ให้แก่ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิก่อนและหากยังคงมีเงินกำไรสะสมเหลืออยู่ให้นำมาเฉลี่ยจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นสามัญเป็นจำนวนเท่าๆ กัน

ต 27 - การจ่ายเงินปันผลในกรณีต่างๆ โดยไม่ขัดกับข้อบังคับตามที่กำหนดไว้นั้น ตามกรณีที่ 1 และกรณีที่ 2 สามารถกระทำได้ส่วนในกรณีที่ 3 เนื่องจากมีรายละเอียดไม่ชัดเจน จึงไม่สามารถทำการวินิจฉัยได้

ถ 28 - บริษัทจำกัดจะกำหนดข้อบังคับในการส่งหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นไว้แตกต่างจากบทบัญญัติของกฎหมายรวมทั้งจะสามารถปฏิบัติตามข้อบังคับของบริษัทที่ได้กำหนด ไว้เดิมได้หรือไม่ นอกจากนี้สามารถกำหนดแนวทางการดำเนินการอื่นแทนลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์ได้หรือไม่
ต 28 - ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1175 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 18) พ.ศ.2551 มิได้มีบทยกเว้นให้บริษัทกำหนดข้อบังคับชัดกับบทบัญญัติของกฎหมายได้ แต่เป็นบทบังคับบริษัทจำกัดในการส่งหนังสือเรียกประชุมผู้ถือหุ้นทุกคนที่มีชื่อในสมุดทะเบียนของบริษัทไปรษณีย์ตอบรับก่อนวันที่ประชุมไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน เว้นแต่เป็นคำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่เพื่อลงมติพิเศษให้กระทำการดังว่านั้น ก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่าสิบสี่วัน ดังนั้น บริษัทจึงไม่สามารถปฏิบัติตามข้อบังคับเดิมของบริษัทที่ขัดกับพระราชบัญญัตินี้ได้อีกต่อไป และไม่สามารถดำเนินการอื่นแทนการลงพิมพ์โฆษณาคำบอกกล่าวเรียกประชุมในหนังสือพิมพ์ได้

ถาม 29 - เรากำลังรับโอนบริษัท ไม่ทราบว่าค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนแปลง ทุกอย่าง มีเท่าไหร่ และใช้เวลานานแค่ไหน

ตอบ 29 - สำหรับการรับโอนกิจการ ท่านอาจต้อง แจ้งเปลี่ยนแปลงข้อมูลบริษัท ดังกล่าว ในสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้ เปลี่ยนผู้ถือหุ้น / เปลี่ยนกรรมการ / เปลี่ยนแปลงชื่อ / เปลี่ยนแปลงตราประทับ / เปลี่ยนแปลงที่อยู่ ทั้งบัตรผู้เสียภาษีและทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม / เปลี่ยนวัตถุประสงค์ / เปลี่ยนแปลงอำนาจกรรมการ

ค่าบริการเปลี่ยนแปลงแก้ไข ทุกรายการ
ทั้งกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และกรมสรรพากร

6,000 บาท

ค่าธรรมเนียม
ค่าโฆษณา

                                   รวมค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น

2,800  บาท
600     บาท

9,400 บาท

ถาม 30 - ดิฉัน ได้จองชื่อผ่านทางอินเตอร์เน็ทแล้ว และเข้าใจว่า ชื่อที่จองนี้จะหมดอายุ ภายใน 30 วัน นับจากวันอนุมัติ แต่ดิฉันต้องการจองชื่อใหม่ ไม่ทราบว่าดิฉันควรทำอย่างไรดี ต้องรอชื่อให้หมดอายุก่อนไหม (รอให้ครบ 30 วัน)

ตอบ 30 - คุณสามารถจองชื่อใหม่ ได้ทันทีครับ เื่มื่อได้รับอนุมัติ (ตอนนี้ การจองชื่อต้อง จองผ่านอินเตอร์เน็ทเท่านั้น และชื่อจะได้รับอนุมัติภายใน 3 ชั่วโมง เท่านั้น) ก็สามารถนำชื่อไปจดทะเบียนได้เลย อย่างไรเสีย ชื่อเดิมไม่มีผลต่อการจองชื่อใหม่ และจะหมดอายุไปเองโดยที่คุณไม่ต้องทำอะไรทั้งนั้นครับ

อย่างไรเสีย หากคุณจะยกเลิกชื่อเดิม (ด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม) คุณสามารถทำได้ดังนี้ครับ ผู้จองชื่อสามารถยื่นหนังสือขอยกเลิกชื่อที่จองพร้อมคืนหลักฐานใบจองชื่อได้ที่ฝ่ายจองชื่อนิติบุคคล สำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ 1 – 7 หรือสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัด ในกรณีสำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ 1-7 หรือสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดเป็นผู้รับหนังสือขอยกเลิกชื่อที่จองและหลักฐานใบจองชื่อ ให้สำนักงานที่รับหนังสือดำเนินการโทรสารหนังสือขอยกเลิกและใบจองชื่อไปยังฝ่ายจองชื่อนิติบุคคลทันที ชื่อที่ได้มีการยกเลิกการจอง นายทะเบียนจะอนุญาตให้จองชื่อนั้นได้หลังจากวันที่ได้ยกเลิกแล้ว 5 วัน

ถาม 31 - สนใจ จะจดทะเบียนบริษัทที่ จังหวัด ฉะเชิงเทรา เพื่อ ขายสินค้าเกี่ยวกับ เด็กอ่อน ผ่านทางอินเตอร์เน็ท (ทำเวปไซท์ฺ โชว์สินค้า และให้ลูกค้าโอนเงินเพื่อชำระค่าสินค้า ส่วนสินค้าจัดส่งให้ทาง EMS) ไม่ทราบว่า หลังจากจดทะเบียนบริษัท แ้ล้ว ต้องขออนุญาตอะไรเพิ่มเิติมหรือไม่

ตอบ 31 - หากท่านไม่ได้เป็นผู้ผลิต และไม่ได้เป็นผู้นำเข้า และเข้าใจว่าท่านทำธุรกกรรผ่านช่องทางอินเตอร์เน็ท ดังนั้น ท่านต้องขอ จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ดังมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

การจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

พ.ร.บ.ทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499 และ ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง ให้ผู้ประกอบพาณิชยกิจต้องจดทะเบียนพาณิชย์ (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2553 ให้ผู้ประกอบพาณิชยกิจ ดังต่อไปนี้ต้องจดทะเบียนพาณิชย์

1.การซื้อขายสินค้าหรือบริการ โดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
2. การบริการอินเทอร์เน็ต
3. การให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย
4. การบริการเป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการ โดยวิธีใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลต้องจดทะเบียนพาณิชย์ โดยยื่นขอจดทะเบียนพาณิชย์ ณ สำนักงานทะเบียนพาณิชย์กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล ที่สำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตท้องที่ หรือองค์การบริหารส่วนจังหวัดเฉพาะในท้องที่นอกเขตเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล

ผู้ประกอบพาณิชยกิจดังกล่าวไม่จดทะเบียนพาณิชย์ แสดงรายการเท็จ หรือไม่มาให้นายทะเบียนพาณิชย์สอบสวน ไม่ยอมให้ถ้อยคำ หรือไม่ยอมให้ทะเบียนพาณิชย์ตรวจสอบมีความผิด เป็นไปตามกฎหมาย

ทั้งนี้กรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้ถ่ายโอนอำนาจจดทะเบียนพาณิชย์ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแล้ว

ถาม 32 - วัตถุประสงค์ของห้างหุ้นส่วนและบริษัท ที่ต้องห้าม ตามกฎหมาย มีลักษณะดังต่อไปนี้ (ห้ามทำ ได้แก่)

ตอบ 32 - วัตถุประสงค์ที่ต้้องห้าม (ไม่ให้ประกอบธุรกิจ เว้นแต่ได้รับอนุญาต) ได้แก่

  1. ขัดต่อกฎหมาย ความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือขัดต่อรัฐประกาศนโยบาย
  2. ใช้คำหรือข้อความที่มีความหมายไม่ชัดเจน หรือไม่กำหนดขอบเขตให้ชัดเจนแน่นอน
  3. ธุรกิจธนาคาร ธุรกิจเงินทุน ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
  4. ธุรกิจประกันภัย ธุรกิจหลักทรัพย์ กิจการข้อมูลเครดิต บริหารสินทรัพย์ กิจการคลังสินค้า กิจการไซโล หรือกิจการห้องเย็น เว้นแต่จะไดด้รับอนุญาตให้จัดตั้งเพื่อประกอบธุรกิจดังกล่าวจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  5. กิจการจัดหางาน เว้นแต่จะได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการดังกล่าวจากกรรมการจัดหางาน
  6. กิจการนายหน้า ตัวทน และตัวแทนค้าต่างในธุรกิจต่างๆ เว้นแต่จะได้ระบุว่ายกเว้นกิจการประกันภัย การหาสมาชิกให้สมาคม และการค้าหลักทรัพย์
  7. กิจการเกี่ยวกับการรับจำนองทรัพย์สิน เว้นแต่จะระบุไว้โดยชัดแจ้งว่า "โดยมิได้รับฝากเงินหรือรับเงินจากประชาชนและใช้ประโยชน์จากเงินนั้น"
  8. กิจการนายหน้าประกันภัย เว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประก้ันภัย
  9. กิจการแชร์
  10. กิจการซื้อขายสินค้าล่างหน้า (คอมโมดิตี้) เว้นแต่จะได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจดังกล่่าวจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  11. กิจการซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ธุรกิจขายตรง ธุรกิจตลาดแบบตรง การศึกษา โรงเรียน สถาบันการศึกษา เว้นแต่จะได้ระบุข้อความว่า "เมื่อได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว"

    (กลับสู่ด้านบน)

ถาม 33 - ไม่ทราบว่า ถ้าบุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ จะมาเซ็นต์เอกสาร ในฐานะ กรรมการบริษัท ได้หรือไม่

ตอบ - ผู้เยาว์ จะเข้าเป็น หุ้นส่วน ผู้เริ่มก่อการ กรรมการ หรือ ผู้ชำระบัญชี ก็ต่อเมื่อ

  1. ผู้เยาว์มีอายุไม่้น้อยกว่า 12 ปี
  2. ผู้เยาว์ได้ลงลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียน หรือเอกสารประกอบด้วยตนเอง

ในกรณีผู้เยาว์เข้าเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนโดยการรับมรดก ให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนเมื่อปรากฎว่า

  • ผู้เยาว์ได้ลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียน หรือเอกสารประกอบด้วยตนเอง หรือ
  • ผู้เยาว์ที่มีอายุต่ำกว่า 12 ปี โดยมีผู้แทนโดยชอบธรรมลงลายมือชื่อแทนในคำขอจดทะเบียน หรือเอกสารประกอบ

    (กลับสู่ด้านบน)

ถาม 34 - การนำบริษัท(ที่จดทะเบียนแล้ว) มาเป็นผู้ถือหุ้นและผู้เริ่มก่อการในบริษัทจดทะเบียนใหม่ สามารถทำได้หรือไม่

ตอบ - การนำบริษัทที่มีอยู่แล้ว(จดทะเบียนแล้ว) มาถือหุ้นในบริษัทใหม่ สามารถทำได้ แต่จะมาเป็นผู้่ก่อการไม่ได้ กล่าวคือ เมื่อเริ่มต้นท่านจะต้องจดทะเบียนบริษัทโดยใช้ชื่อบุคคลอย่างน้อย 3 ท่านก่อน แล้วเมื่อจดทะเบียนแล้วเสร็จ ท่านจึงโอนหุ้นให้บริษัท หากทำอย่างนี้นายทะเบียนจะปฎิเสธการรับจดทะเบียนไม่ได้

(กลับสู่ด้านบน)

ถาม 35 - การลงลายมือชื่อ ผู้เป็นหุ้นส่วน ผู้ก่อการ กรรมการ ในคำขอจดทะเบียนและเอกสารประกอบ สามารถให้ผู้อื่น ลงลายมือชื่อแทน โดยการมอบอำนาจได้หรือไม่

ตอบ ไม่สามารถทำได้ ผู้เป็นหุ้นส่วน ผู้ก่อการ กรรมการ จะต้องลงลายมือชื่อด้วยตัวเองเท่านั้น หากไม่สามารถลงลายมือชื่อต่อหน้านายทะเบียน ก็ให้ ลงลายมือชื่อต่อหน้า เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง... ทนายความ ผู้สอบบัญชี และบุคคลอื่น ตามที่นายทะเบียนกลางประกาศกำหนด

เพิ่มเติม

การลงลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียนและเอกสารประกอบ ผู้เป็นหุ้นส่วน ผู้เริ่มก่อการ กรรมการ หรือ ผู้ชำระบัญชี ต้องลงลายมือชื่อด้วยตัวเอง

การลงลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียน กระทำได้ตามวิธิี ดังนี้

  1. การลงลายมือชขื่อในคำขอจดทะเบียนในราชอาณาจักร กระทำโดย
    1. ลงลายมือชื่อต่อหน้านายทะเบียน
    2. ลงลายมือชื่อต่อหน้าพนักงานฝ่ายปกครอง ตำรวจชั้นผู้ใหญ่ซึ่งประจำอยู่ท้องที่ที่ผู้ขอจดทะเบียนมีภูมิลำเนาอยู่ สามัญสมาชิกวิสามัญแห่งเนติบัณฑิตยสภา ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพบัญชี หรือบุคคลอื่นตามที่นายทะเบียนกลางประกาศกำหนด

    การลงลายมือชื่อต่อหน้านายทะเบียน ผู้ลงลายมือชื่อต้องแสดงบัตรประจำตัวต่อนายทะเบียนเพื่อตรวจสอบ และให้นายทะเบียนบันทึกข้อความ "ได้เห็นต้นฉบับแล้ว" ในสำเนาบัตรประจำตัวแล้วลงมือชื่อกำกับไว้เป็นหลักฐาน

    กรณีผู้ลงลายมือชื่อต่อหน้าบุคคลข้างต้นเป็นคนต่างด้าว ให้ส่งสำเนาหลักฐานซึ่งแสดงว่าคนต่างด้าวนั้นได้เข้ามาในประเทศไทยขณะลงลายมือชื่อต่อหน้าประกอบคำขอจดทะเบียนด้วย

  2. การลงลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียนในต่างประเทศ ผู้ขอจดทะเบียนจะต้องลงลายมือชื่อต่อหน้าบุคคลดังต่อไปนี้
    1. เจ้้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของสถานฑูตไทยหรือสถานกงสุลไทย หรือหัวหน้าสำนักงานสังกัดกระทรวงพาณิชย์ซึ่งรับผิดชอบการดำเนินงาน ณ ประเทศนั้น หรือเจ้าหน้าที่ผู้ได้รัับมอบหมายให้ทำการแทนบุคคลดังกล่าว หรือ
    2. บุคคลซึ่งสามารถให้การรับรองที่สมบูรณ์ตามแบบของกฎหมายแห่งประเทศนั้น
    3. บุคคลที่ควรเชื่อถือสองคนมาลงลายมือชื่อรับรองต่อหน้านายทะเบียนว่าเป็นลายมือชื่อผู้นั้นจริง

การลงบายมือตามวิธีข้างต้น ให้ถือว่าลายมือชื่อนั้นเป็นลายมือชื่อที่ถูกต้องและนายทะเบียนไม่ต้องตรวจสอบลายมือชื่อนั้นอีก

 

(กลับสู่ด้านบน)

ถาม 36 - การลงทุนด้วยแรง สามารถทำได้หรือไม่

ตอบ - การลงทุนด้วยแรงสามารถทำได้ โดยมีเงื่อนไขดังต่อไปนี้

กรณีบริษัทจำกัด

  • แรงงานที่จะนำมาตีเป็นค่าหุ้นนในบริษัทต้องเป็นแรงงานที่ได้กระทำไปแล้ว

กรณีห้างหุ้นส่วนจำกัด

  • ไม่อนุญาตให้หุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดลงทุนด้วยแรง
  • แรงงนที่จะนำมาตีราคาเป็นทุนจดทะเบียนในห้างหุ้นส่วนจะเป็นแรงงานที่ได้กระทำไปแล้วหรือกระทำภายหลังจดทะเบียนเป็นห้างหุ้นนส่วนก็ได้

ถาม 37 - การจดทะเบียนในเขตกรุงเพพฯ สามารถจดทะเบียนที่สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าเขตแห่งใดแห่งหนึ่ง ได้ทุกกรณีหรือไม่

ตอบ ไม่ได้ ทุกรณีครับ

กล่าวคือ โดยทั่วไป สามารถจดทะเบียน ณ ส่วนจดทะเบียนธุรกิจกลาง หรือ สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าเขต ได้ เ้ว้นแต่ ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่มีวัตถุที่ประสงค์ประกอบกิจการ
หลักทรัพย์ คลังสินค้า ห้องเย็น ไซโล นายหน้าประกันภัย บริหารสินทรัพย์ ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนที่ส่วนจดทะเบียนธุรกิจกลางเท่านั้น

ถาม 38 - ต้องการเปิดบริษัทเพื่อจัดหาคนงาน โดยมีผู้ถือหุ้นและกรรมการเป็นคนสิงค์โปร์ ไม่ทราบว่า สามารถจดทะเบียนบริษัทได้ไหม และต้องทำอย่างไรบ้าง

ตอบ การประกอบกิจการจัดหางาน นั้นมีความซับซ้อนกว่าธุรกิจทั่วไป เพราะมีการควบคุมอย่างใกล้ชิดโดย กองตรวจและคุ้มครองคนหางาน กรมการจัดหางาน โดยมีข้อพึงพิจารณาดังต่อไปนี้

  • การจดทะเบียน ทางกรมพัฒนาธุรกิจการค้า จะไม่อนุญาตให้จดโดยมีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับจัดหางาน จนกว่า บริษัทจะได้รับใบอนุญาต นั้นหมายถึง
    ต้องจดด้วยวัตถุประสงค์ทั่วไปก่อน แล้วขอใบอนุญาต แล้วจึงไปแก้ไขเพิ่มวัตถุประสงค์ เกี่ยวกับวัตถุประสงค์ดังกล่าว
  • ตามเงื่อนไข ต้องมีกรรมการคนไทยที่มีอำนาจลงนาม เป็นผู้ขอเท่านั้น กรรมการชาวต่างชาติ ไม่สามารถยื่นคำขอได้
  • ต้องมีการวางหลักทรัพย์ เพื่อเป็นประกัน เป็นจำนวนเงินตามที่กำหนดในกฏกระทรวง แต่ต้องไม่ต้อยกว่าหนึ่งแสนบาท วางไว้กับนายทะเบียน เพื่อเป็นหลักประกัน
    การปฎิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ (พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528)

หมายเหตุ คุณสมบัติของผู้ยื่นคำขอ

ผู้ขออนุญาตจัดหางานในประเทศ กรณีเป็นนิติบุคคล ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังนี้

  1. นิติบุคคลนั้นต้องมีสัญชาติไทย หรือ จดทะเบียนภายใต้กฏหมายไทย
  2. นิติบุคคลนั้น ต้องไม่เคยเป็นผู้รับอนุญาตจัดหางาน
  3. นิติบุคคลนั้น ต้องไมนผู้อยู่ระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตจัดหางาน
  4. นิติบุคคลนั้น ต้องไม่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตจัดหางาน
  5. นิติบุคคลนั้น ต้องไม่ไม่เปป็นไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ หรือ ล้มละลาย
  6. นิติบุคคลนั้น ต้องไม่ประกอบธุรกิจ หรือ เคยประกอบธุรกิจ ที่เสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี
  7. กรรมการของ นิติบุคคลนั้น ไม่เป็นกรรมการ หุ้นส่วน หรือ ผู้จัดการของนิติบุคคลซึ่งเป็นผู้รับอนุญาตจัดหาแรงงานอื่น
  8. กรรมการของ นิติบุคคลนั้น ไม่เป็นกรรมการ หุ้นส่วน หรือ ผู้จัดการของนิติบุคคลซึ่งถูกเพิกถอนใบอนุญาตจัดหางาน ระหว่างใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตจัดหางาน
  9. นิติบุคคลนั้น ต้องมีผู้จัดการ (ผู้รับอนุญาต) ต้องเป็นคนไทย และเป็นหนึ่งในกรรมการผู้มีสิทธิ์ลงนามผูกพันบริษัทด้วย

ข้อมูลเพิ่มเติม ท่านสามารถสอบถาม กองตรวจและคุ้มครองคนหางาน กรมการจัดหางาน โทร 0-2245-0964, 0-2248-2278

 

ถาม 40 - ต้องการจดทะเบียนบริษัท แล้วขอใบอนุญาตทำงานให้ชาวต่างชาติ ไม่ทราบว่า มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

ตอบ - การขอใบอนุญาตทำงาน นั้น เป็นเรื่องที่ต้องวางแผน ตั้งแต่เริ่มจดทะเบียนบริษัท ครับ เพราะ ต้องทราบข้อจำกัดต่างๆ เกี่ยวกับการขอใบอนุญาตทำงานและวีซ่าทำงน มีสูตรง่ายๆ ที่ต้องจำไว้ครับดังนั้

ใบอนุญาต สำหรับการทำงานของชาวต่างชาติ ต้องมี

  • บริษัทจดทะเบียน ต้อมีทุนจดทะเบียนขั้นต่ำ 2 ล้าบาท ซึ่งขอใบอนุญาตให้ชาวต่างชาติได้ 1 คน และต้องเป็นสัดส่วนเช่นนี้เรื่อยไป
  • บริษัทจดทะเบียน ต้องว่าจ้างพนักงานคนไทย โดยต้องจ่ายค่าจ้างไม่น้อยกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด โดยต้องว่าจ้างพนักงานคนไทย 4 คน ซึ่งขอใบอนุญาตให้ชาวต่างชาติ 1 คน และต้องเป็นสัดส่วนเช่นนี้เรื่อยไป
  • ต้องมีสถานประกอบการ ในประเทศไทย และพร้อมให้เจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบ พร้อมกันนี้ ต้องแสดงภาพถ่ายในสถานที่ทำงาน พร้อมพนักงาน ขณะทำงาน เพื่อเป็นหลักฐาน ประกอบการขออนุญาต

วีซ่าที่จะขอใบอนุญาตได้นั้น มี 2 ประเภท คือ (Nonimmigrant VISA Type B and O ) เท่านั้น เพราะฉะนั้น ก่อนที่จะขอ ใบอนุญาตท่านจะต้องขอเปลี่ยนแปลงประเภทของการตรวจลงตราของวีซ่าก่อน ซึ่งการขอเปลี่ยนแปลงประเภทการตรวจลงตราของวีซ่าสามารถทำได้ ทั้ง ในประเทศและ ต่างประเทศ แต่ในกรณีที่บริษัทจดทะเบียนใหม่ เราขอแนะนำให้ท่านไปขอวีซ่า Non B นอกราชอาณาจักรไทย ซึ่งขั้นตอนการขอใบอนุญาต ทำงาน อาจสรุปอย่างง่ายได้ดังนี้

  • จดทะเบียนบริษัทใหม่ ด้วยทุน 2 ล้านบาท พร้อมขออนุญาตที่จำเป็น สำหรับธุรกิจที่ประสงค์
  • ยื่นแบบภาษีรายเดือน พร้อมแบบประกันสังคมรายเดือน สำหรับเดือนแรก ก่อน แล้ว
  • ขอการอนุมัติจากกระทรวงแรงงาน เกี่ยวกับจดหมายเชิญพนักงานเข้ามาทำงานในประเทศไทย ณ ขณะที่รออนุมัติ ชาวต่างชาติที่ต้องการขอใบอนุญาตทำงานต้องอยู่นอกราชอาณาจักรไทย (กรณีนี้เป็นการขออนุมัติเพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบการขอ วีซ่า Nonimmigrant VISA Type B) นอกราชอาณาจักรไทยเท่านั้น กรณีขอในไทยไม่ต้องขออนุมัติ
  • ขอวีซ่า ประเภท NON-B visa จากสถานทูตไทยในต่างประเทศ
  • หลังได้ Nonimmigrant VISA Type B มาแล้ว ท่านก็สามารถขอ ใบอนุญาตต่อได้เลยเมื่อเข้ามาเมืองไทย และหลังจากได้ใบอนุญาตแล้ว ก็ขอต่อวีซ่า 1 ปีต่อจากนั้นได้เลยเช่นกัน ซึ่งขั้นตอนในการขอยื่นทุกครั้ง จะต้องมีเอกสารประกอบเช่น แบบภาษี และแบบประกันสังคม อย่างน้อย 3 เดือน รวมถึงงบการเงิน เป็นต้น

(กลับสู่ด้านบน)

ถาม 41 - ตอนแรกที่เริ่มเปิดบริษัทเอกสาร และบิลต่างๆ อาจจะยังไม่มี แล้วนาราการบัญชี คิดค่าบริการยังไง

ตอบ – ในส่วนงานบริการ บัญชีและภาษีอากรนั้น ขึ้นอยุ่กับความต้องการของลูกค้าครับ ถ้าลูกค้าทำเองได้ก็อยากให้ทำเองครับ แล้วสินปีค่อยส่งเอกสารให้ปิดบัญชี อย่างนี้จะคิดค่าบริการปีละครั้ง เราเรียกว่างานทำบัญชี-ตรวจสอบ แบบเหมาปีครับ ส่วนราคานั้นก็ขึ้นอยู่กับเอกสารครับ ถ้าเป็นงบเปล่า ก็ราคาประมาณ 7,500 บาท ต่อปี ราคานี้พร้อมทำบัญชี ตรวจสอบบัญชี พร้อมนำยื่นต่อหน่วยงานราชการ แต่หากมีการทำธุรกิจและมีรายการเอกสาร ค่าบริการก็จะเรียกเพิ่มครับ ส่วนใหญ่จะเกิน 10,000 บาทขึ้นไป

อย่างไรเสีย หากคุณต้องการใช้บริการแบบเหมาจ่ายรายปี คุณต้องดูแลภาษีเองครับ หากไม่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ก็จะไม่ยุ่งยากและไม่ต้องยื่นทุกเดือน อยากให้คุณศึกษาเรื่องภาษีก่อนตัดสินใจครับ

ถาม 42 - ตอนนี้กำลังจะเปิดบริษัทใหม่ค่ะ ถ้าต้องการใช้บริการของนาราการบัญชี ต้องทำยังไงบ้างค่ะ เสียค่าใช้จ่ายเท่าไหร่

นารา – รบกวน ช่วยกรอกแบบสอบถาม สำหรับการเปิดบริษัทครับ แล้วเราจะติดต่อกลับพร้อมใบเสนอราคา และประมาณค่าใช้จ่ายต่างๆ ครับ http://www.52accounting.com/co-regis-info-download.html

ถาม 43 - นาราการบัญชี ให้บริการใช้ที่อยู่เพื่อการจดทะเบียนบริษัท จดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด และใช้ที่อยู่ สำหรับจดทะเบียนทางธุรกิจอื่นๆ อันนี้หมายความว่ายังไงค่ะ

นารา – เรามีให้บริการที่อยู่เพื่อจดทะเบียนบริษัท (รวมถึงจดทะเบียนธุรกิจ อย่างอื่น เช่น จดทะเบียนห้างหุ้นส่วน จดทะเบียนสำนักงานผู้แทน หรือ จดทะเบียนสาขาของนิติบุคคลต่างชาติ) ในการให้ที่อยู่เราไม่อนุญาตให้มีการเข้าใช้พื้นที่หรืออุปกรณ์สำนักงาน (เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นรายกรณี) ให้เฉพาะที่อยู่เพื่อจดทะเบียนเท่านั้น เพราะบางบริษัทอาจอยู่ระหว่างการหาที่ตั้งที่เหมาะสมแต่ในระหว่างนี้ต้องมีที่อยู่จึงจะจดทะเบียนบริษัทได้

ถาม 44 - การเปิดบริษัทจัดหางาน โดยชาวสิงค์โปร เป็นผู้บริหาร หรือกรรการนั้น ไม่ทราบว่าทำได้หรือไม่ และมีขั้นตอนการขออนุญาต และคุณสมบัติของผู้ยื่นคำขอ อย่างไรบ้าง

นารา - โดยปกติแล้ว ชาวต่างชาติไม่ได้รับอนุญาต ให้ทำธุรกิจจัดหางาน ในประเทศไทยครับ เว้นแต่ว่า ได้จัดตั้งเป็นรูปบริษัท โดยเป็นไปตามที่กำหนดในเงื่อนไขการขออนุญาตเกี่ยวกับจัดหางาน โดย ชาวต่างชาติถือหุ้นได้อย่างมากสุด แค่ 49% เท่านั้น และในการยื่นขอใบอนุญาต กรรมการที่มีอำนาจต้องเป็นคนไทยเท่านั้น (นั่นหมายความว่า ชาวสิงค์โปร เป็นกรรมการผู้มีอำนาจได้ แต่ไม่สามารถเป็นผู้ยื่่นคำขอเกี่ยวกับขอใบอนุญาตจัดหางาน ครับ)

อย่างไรเสีย ผมขอให้ข้อสังเกตว่า

  • ณ ขั้นตอนการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จะไม่อนุญาตให้จดโดยมีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับจัดหางาน จนกว่า บริษัทจะได้รับใบอนุญาตจัดหางาน นั้นหมายถึง ต้องจดด้วยวัตถุประสงค์ทั่วไปก่อน แล้วขอใบอนุญาต แล้วจึงไปแก้ไขเพิ่มวัตถุประสงค์ เกี่ยวกับวัตถุประสงค์ดังกล่าว
  • ตามเงื่อนไข ต้องมีกรรมการคนไทย เป็นผู้ขอเท่านั้น กรรมการชาวต่างชาติ ไม่สามารถยื่นคำขอได้

ท่านสามารถเข้าดู รายละเอียดเพิ่มเติม เกี่ยวกับขั้นตอนการขอใบอนุญาต จัดหางาน และคุณสมบัติของผู้ขอใบอนุญาต ได้ที่ กรมการจัดหางาน http://www.doe.go.th/service.html

ถาม 45 - ได้จองชื่อบริษัท เพื่อการจดทะเบียน แต่ต้องการยกเลิก ไม่ทราบว่าต้องทำอย่างไร และชื่อนี้จะสามารถนำมาจดทะเบียนใหม่ ได้หรือไม่

นารา - การยกเลิกชื่อที่จองก่อนครบกำหนดระยะเวลาที่ให้จองชื่อ กรณีชื่อที่นายทะเบียนอนุญาตให้จองแล้วทั้งที่เป็นการจองชื่อโดยทางอินเตอร์เน็ตหรือโดยการยื่นใบจองชื่อด้วยตนเอง หากผู้จองชื่อประสงค์จะขอยกเลิกชื่อที่จองนั้นก่อนครบกำหนดระยะเวลา 30 วันที่ให้จองชื่อ ผู้จองชื่อสามารถยื่นหนังสือขอยกเลิกชื่อที่จองพร้อมคืนหลักฐานใบจองชื่อได้ที่ฝ่ายจองชื่อนิติบุคคล สำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจ หรือสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัด นายทะเบียนจะอนุญาตให้จองชื่อนั้นได้หลังจากวันที่ได้ยกเลิกแล้ว 5 วัน

ถาม 46 - อยากจะจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน จำกัด ไม่ทราบว่าค่าบริการในการจดห้างหุ้นส่วนเท่าไรค่ะ (รวมค่าธรรมเนียม ค่าบริการทุกอย่าง พร้อมดำเนินการได้เลย)

ตอบ ค่าบริการรวมค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายอื่นๆ คือ 6,850 บาท ครับ ประกอบด้วย

  • ค่าบริการ 5,000 บาท
  • ค่าธรรมเนียมและคัดเอกสาร1,-50 บาท
  • ค่าทำตราประทับ 500 บาท

ถาม 47 - เป็นธุรกิจเล็กๆ มีผู้ถือหุ้น 3 คน ไม่มีพนักงานค่ะ (ไม่ทราบว่าได้หรือเปล่าค่ะ) และต้องยื่นประกันสังคมด้วยหรือเปล่า

ตอบ ไม่มีพนักงานก็สามารถทำธุรกิจได้ครับ และไม่ต้องยื่นประกันสังคมครับเพราะไม่มีพนักงาน และไม่ต้องจดทะเบียนประกันสังคมด้วย

ถาม 48 - ทุนจดทะเบียน 500,000 บาท (ทุนจดทะเบียนต้องแสดงยอดเงินในบัญชีที่มีอยู่จริงหรือเปล่าค่ะ) สถานที่ประกอบการใช้ที่อยู่ที่บ้านค่ะ (ถ.พระราม6, เขตพญาไท)

ตอบ สำหรับทุนจดทะเบียน ไม่ต้องแสดงยอดเงินในบัญชีครับ การจดทะเบียนลอยๆ ได้เลยครับ (ถ้าทุนจดทะเบียน ไม่เกิน 5 ล้านบาท) สถานประกอบการใช้ที่บ้านก็ได้ครับ แต่ถ้าให้ดีก็ขึ้นป้ายไว้สักหน่อย

ถาม 49 - อยากเปิดบริษัทแบบอินเตอร์เนชั่นแนลได้มั้ยค่ะ หมายถึงเปิดบริษัทที่ไทย แต่บริษัทนี้สามารถดำเนินกิจการได้ในทุกๆประเทศที่เจ้าของบริษัทอยู่ ประมาณนี้อ่ะค่ะ ( ขอทราบค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนประเภทนี้ด้วยค่ะกรณีอยู่ที่เกาะพะงัน อำเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี )

นารา - จดทะเบียนบริษัทแล้วทำธุรกิจแบบอินเตอร์เนชั่นแนบ (ระหว่างประเทศ) ได้ครับ การจดทะเบียนบริษัทแบบนี้ก็เหมือนการจดทะเบียนบริษัททั่วไปครับ แต่วัตถุประสงค์ อาจต้องระบุประเภทธุรกิจให้ชัดเจนครับ หรือเน้นสำหรับธุรกิจหลักที่เราอยากทำสำหรับธุรกรรมระหว่างประเทศ

ถาม 50- อยากจดทะเบียนบริษัท แต่ยังไม่มีที่อยู่ของบริษัทที่ไทย ไม่ทราบว่าทางบริษัทที่รับจดมีข้อเสนออะไรให้บ้างมั้ยค่ะ อย่างเช่น รับเป็นที่อยู่ให้กับบริษัทที่ลูกค้าจะจดทะเบียน หรือมีที่อยู่ให้ทางลูกค้าเช่า ( ขอทราบค่าใช้จ่ายต่อปีด้วยค่ะ)

นารา - สำหรับที่อยู่เพื่อการจดทะเบียนบริษัทนั้น ทางนาราฯ ก็มีให้บริการครับ ในอัตรา 18,000 บาทต่อปี (กรณีย้ายออกภายใน 6 เดือนจะคืนเงินให้ 50% หรือ 9,000 บาทครับ)

ถาม 51- ถ้าเกิดรายได้ของบริษัทส่วนมากมาจากต่างประเทศ จะมีผลต่อการเสียภาษีหรือไม่ค่ะ อย่างเช่น ลูกค้าของบริษัทส่วนมากเป็นชาวต่างชาติ หรืออยู่ต่างประเทศ เวลาชำระค่าสินค้าจะทำการโอนเงินระหว่างประเทศ ข้อนี้จะส่งผลให้บริษัทเสียภาษีมากกว่าปกติหรือไม่ อย่างไรค่ะ

นารา - รายได้ที่เกิดขึ้น ต้องเส่ียภาษีในเมืองไทย เช่นเดียวกับรายได้ที่เกิดขึ้นในเมืองไทยครับ แต่อาจมีผลดีกว่าด้วยซ้ำสำหรับรายได้บางประเภท ที่เสียภาษีมูลค่าเเพิ่ม กล่าวคือ รายได้ที่มาจากต่างประเทศ จะเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 0% หากปฎิบัติตามเงื่อนไข อย่างไรเสีย สำหรับภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้น ไม่มีข้อแตกต่างครับ ต้องเสียภาษีเช่นเดียวกับรายได้ที่เกิดในประเทศไทย

ถาม 52 - การจดลิขสิทธิ์เครื่องหมายการค้า มีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ค่ะ

นารา - นารามีบริการจดเครื่องหมายการค้า ซึ่งให้บริการในอัตรา10,000 บาท ไม่รวมค่าธรรมเนียม แต่สำหรับจดลิขสิทธิ์นั้น ไม่มีให้บริการครับ

ถาม 53 - สามีเป็นชาว เยอรมัน กำลังย้ายมาอยู่ในประเทศไทย ภายใต้วีซ่า เกษียนอายุ แต่มีรายได้จาก ประเทศพม่า (รัฐบาล ประเทศพม่า) สำหรับค่าที่ปรึกษาด้านวิศวะกรรม ถามว่าจำเป็นต้องเปิดบริษัทหรือไม่

นารา - ขึ้นอยู่กับ ว่าผู้จ่ายยินยอม ให้เรียกเก็บในนามบุคคลธรรมดา(สามีชาวเยอรมัน) หรือไม่ ซึ่งถ้ายินยอม ให้ดูเพิ่มด้วยว่าภาษีส่วนตัวเขานั้น จ่ายในอัตราสูงเกินบริษัทอย่างมีสาระสำคัญหรือไม่ (ถ้าไม่แตกต่างอย่างมีสาระสำคัญ ไม่แนะนำให้เปิดครับ เพราะมีลูกค้าแค่รายเดียวและภาระสำหรับบริษัทเกี่ยวกับหน้าที่ต่างๆ จะวุ่นวาย ครับ)

ถาม 54 - ถ้ายินยอมให้เรียกเก็บในนามส่วนตัวของสามีชาวเยอรมัน ต้องเสียภาษีในประเทศไทยหรือไม่

ตอบ - ขึ้นอยู่กับ 2 สิ่งนี้ครับ (ด้วยกัน) คือ สามีต้องอยู่ในประเทศไทย มากกว่า 180 วัน และนำเงินได้นั้นเข้ามาในประเทศไทย ในปีภาษีที่มีเงินได้นั้น ถ้าเข้าเงื่อนไขทั้ง 2 ข้อ ก็ต้องเสียภาษีในประเทศไทยครับ

ถาม 55 - ตอนที่โอนหุ้นให้นิติบุคคลต่างชาติครับ เอกสารของนิติบุคคลต่างชาติมีอะไรบ้าง กรรมการหรือผู้มีอำนาจลงนามนิติบุคคลต่างชาติต้องเดินทางไปไทยไหมครับ

นารา - เอกสารของนิติบุคคลต่างชาติ ขอเป็นหนังสือรับรองครับ หรือ เอกสารที่ระบุเกี่ยวกับ ชื่อ-ที่อยุ่-เลขจดทะเบียน-ผู้มีอำนาจลงนาม อันที่จริงแล้วไม่ได้ใช้ยื่นนะครับ แต่ทางนาราฯ ต้องเก็บไว้อ้างอิงประกอบการทำงานครับ สำหรับกรรมการต่างชาติของนิติบุคคลต่างชาตินั้น ไม่ต้องมาไทยครับ แต่ถ้าหากกรรมการต่างชาติคนนั้น มาเป็นกรรมการในบริษัทไทยที่ตั้งใหม่นี้ กรรมการต่างชาตินั้นต้องเดินทางมาเมืองไทยด้วยครับ และช่วยนำพาสปอร์ต มาด้วยตอนเซ็นต์เอกสาร เพราะต้องถ่ายหน้าที่มี ตราประทับ และระยะเวลที่วีซ่าที่ได้รับอนุญาตให้อยู่เมืองไทย

ถาม 56 - ระยะดำเนินการจนเสร็จครับ ประมาณกี่วันครับ ในกรณีเอกสารพร้อม (จองตั๋วเครื่องบินกลับล่วงหน้า 15 วัน ผมและคนต่างชาติต้องเดินทางไปไทยครับ)

นารา - หากเอกสาร พร้อม นาราฯ ใช้เวลาดำเนินการไม่เกิน 3 วันครับ แต่เพื่อความรวดเร็ว หากตอบกลับใบเสนอราคา และจ่ายชำระ งวดแรกตาม ทางนาราฯ สามารถเริ่มเตรียมไว้ล่วงหน้า ดังนั้น เมื่อท่านเข้ามาเซ็นต์เอกสาร นาราก็สามารถจดทะเบียนได้ภายในวันนั้น (จดทะเบียนเสร็จในวันเดียว) หรือทางนาราฯ จะจดทะเบียนให้ในวันรุ่งขึ้นครับ หากท่านเข้ามาเซ็นต์หลัง 10 โมงเข้า อย่างนี้ก็เสร็จภายใน 2 วันครับ
หมายเหตุ ทางนาราฯ มีเจ้าหน้าที่ไปทะเบียน และอำนวยความสะดวกจดทะเบียน โดยรอที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ทุกวัน (แสตนบาย) โดยที่ท่านไม่ต้องไปด้วยตัวเอง

ถาม 57 - ที่อยู่บริษัทจะใช้คอนโดซื่งเป็นชื่อผมเอง ได้หรือไม

นารา - ไม่แนะนำครับ เพราะถ้าจดภาษีมูลค่าเพิ่ม เจ้าหน้าที่อาจปฎิเสธการจดทะเบียน และทางนิติบุคคล (condominium management) ส่วนใหญ่ก็ไม่ยินยอมให้นำที่อยู่มาเพื่อประกอบธุรกิจครับ เพราะกฎหมายเฉพาะหรือข้อบังคับของคอนโดมิเนียมนั้น เพื่ออยู่อาศัยเท่านั้น

อย่างไร เสีย หากเป็นการชั่วคราวและไม่จดภาษีมูลค่าเพิ่ม ก็คงทำได้ครับ เพราะไม่ต้องไปขอ หนังสือยินยอม จากทางนิติบุคคลอาคารชุด

ถาม 58 - บุคคลต่างชาติจำเป็นเดินทางไปไทย คร้ังเดียวเสร็จไหม

นารา - เสร็จครับ สำหรับการจดทะเบียนบริษัท

ถาม 59 - รายละเอียดเอกสารบุคคลต่างชาติ มีอะไรบ้าง

นารา - หนังสือเดินทาง ซึ่งต้องมีตราประทับของ ต.ม. เข้าประเทศและวีซ่าต้องไม่หมดอายุ

ถาม 60 - ทำไมเราต้องจดทะเบียนกับบุคคคลต่างชาติก่อน แล้วค่อยโอนหุ้นให้นิติบุคคลต่างชาติทีหลัง

นารา - มีข้อกำหนดของผู้เริ่มก่อนการ (promoter) ครับ ว่า ต้องเป็นบุคคลเท่านั้น และผู้ก่อการจะต้องถือหุ้นอย่างน้อยหนึ่งหุ้นครับ (ณ วันจดทะเบียน) ดังนั้นจะดีกว่าที่จดโดยบุคคล 3 คนก่อนครับ แล้วบุคคลดังกล่าวจึงเสนอขายหุ้นให้นิติบุคคล(บริษัท) หลังจากจดทะเบียนแล้วเสร็จ (วิธีนี้ จะหลือผู้ถือหุ้นทั้ง 3 ผู้ถือหุ้น อันประกอบด้วย 2 บุคคลธรรมดา และ 1 นิติบุคคล)

หมายเหตุ หากผู้ก่อการ (promoter) เสนอขายหุ้นก่อนจดทะเบียนบริษัท ณ ตอนจดทะบียนแล้วเสร็จ จะประกอบด้วย 3 บุคคลธรรมดา และ 1 นิติบุคคล ซึ่งเป็นภาระต่อบริษัทในเรื่องของเอกสารต่างๆ ในอนาคต โดดเฉพาะเรื่องของการประชุมผู้ถือหุ้นต่าง ๆ ในอนาคต ซึ่งต้องเสียต้นทุนในการจัดส่งไปรษณีย์และผู้ถือหุ้นเองก็วุ้นวายโดยไม่จำเป็น

ถาม 61. การจดทะเบียนบริษัท ทุนจดทะเบียน 5 ล้านบาท ผู้ก่อตั้ง 4 คน ด่วนที่สุดแล้วเสร็จภายในกี่วัน มีค่าใช้จ่ายเป็นค่าธรรมเนียมเท่าไหร่ และค่าดำเนินการเท่าไหร่รวมทั้งหมดเท่าไหร่ครับ

นาราฯ - นาราฯ สามารถดำเนินการแล้วเสร็จภายใน 2 วันครับ (คือ เตรียมเอกสาร 1 วัน และจดทะเบียนอีก 1 วัน) สำหรับค่าใช้จ่ายทั้งหมด 37,000 บาท ประกอบด้วย

  • ค่าบริการจดทะเบียน 7,000 บาท
  • ค่าธรรมเนียมจ่ายกรมพัฒนาธุรกิจการค้า 28,500 บาท
  • ตราประทับ 500 บาท
  • ค่าเดินทาง(นครราชสีมา) 1000 บาท

ถาม 62. จดทะเบียน ห้วหุ้นส่วนคนเดียว ทุนจดทะเบียน1 ล้าน คำถามเหมือนในข้อที่แล้ว รวมทั้งสามรายการทั้งหมดทั้งสิ้นเท่าไหร่

นาราฯ - การจดทะเบียนโดยมีหุ้นส่วนคนเดียวทำไม่ได้ครับ ถ้าต้องการจดทะเบียนบริษัทต้องมีอย่างน้อย 3 ท่าน หรือ จดทะเบียน หจก. ต้องมีอย่างน้อย 2 ท่าน
สำหรับค่าใช้จ่ายทุน 1 ล้านสำหรับริษัท ประกอบด้วย

  • ค่าบริการจดทะเบียน 5,000 บาท
  • ค่าธรรมเนียมจ่ายกรมพัฒนาธุรกิจการค้า 6,500 บาท (หาก หจก ค่าธรรมเนียมเหลือ 1,350 บาท)
  • ตราประทับ 500 บาท
  • ค่าเดินทาง(นครราชสีมา) 1000 บาท

ถาม 62 ก่อนจดทะเบียนบริษัท เราได้จ่ายค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการเปิดบริษัท หลายอย่าง เช่น ค่าที่ปรึกษา ค่าเดินทาง ค่าสำรวจธุรกิจ ไม่ทราบว่า รายการดังกล่าว ซึ่งเกิดก่อนการจดทะเบียนบริษัท สามารถเอามาเป็นค่าใช้จ่ายบริษัท ได้หรือไม่

ตอบ - หากในการจดทะเบียนบริษัท ได้ระบุ ประมาณการค่าใช้จ่ายไว้ในเอกสารจดทะเบียน ท่านก็สามารถ เอามาใช้สิทธิ์ทางภาษี หรือ เป็นค่าใช้จ่ายทางภาษี ได้แค่จำนวน ตามที่ระบุไว้ในเอกสารจดทะเบียนเท่านั้น และค่าใช้จ่ายดังกล่าว สามารถเบิกคืนจากทุนจดทะเบียนบริษัทได้ เท่าที่ได้ระบุ ประมาณการค่าใช้จ่ายในเอกสาร การจดทะเบียนเท่านั้น

 
Q&A - อื่น(ไม่เกี่ยวกับจดทะเบียนบริษัท)
ถ – ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนที่มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท สินทรัพย์รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท และรายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท จะได้รับยกเว้นตามกฎกระทรวงว่าด้วยการยกเว้นไม่ต้องจัดให้งบการเงินได้รับการตรวจสอบและแสดงความคิดเห็น โดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต พ.ศ.2544 หรือไม่
ต – ป.พ.พ. ม.1255 กำหนดให้กรณีการเลิกห้างหุ้นส่วนและบริษัทผู้ชำระบัญชี ต้องจัดทำงบดุลขึ้นโดยเร็วที่สุดส่งให้ผู้สอบบัญชีตรวจสอบลงสำคัญว่าถูกต้อง การที่ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนได้เลิกกันแล้วผู้ชำระบัญชีย่อมมีหน้าที่ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในกฎหมายโดยไม่สามารถยกเว้นได้ สำหรับการยกเว้นตามกฎกระทรวงว่าด้วยการยกเว้นไม่ต้องจัดให้งบการเงินได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต พ.ศ.2544 นั้นให้ใช้บังคับสำหรับการจัดทำงบการเงินประจำปีเท่านั้น
ถ – การยื่นงบ ณ วันเลิกกิจการตาม ม.1255 แห่ง ป.พ.พ. ครอบคลุมถึงงบใดบ้าง
ต – งบดุล ณ วันเลิกกิจการต้องมีรายการย่อแสดงจำนวนสินทรัพย์และหนี้สินกับทั้งบัญชีกำไรและขาดทุนตาม ป.พ.พ. ม.1255 ประกอบ ม.1196 แต่การจัดส่งงบดุล ณ วันเลิกกิจการเพื่อเป็นเอกสารประกอบรายการจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนและบริษัท ตามระเบียบสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลางว่าด้วยการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนและบริษัท พ.ศ.2538 ต้องส่งงบใดบ้าง ต้องพิจารณาจากรายงานการตรวจสอบและแสดงความคิดเห็นของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตที่ลงสำคัญว่าถูกต้องในงบดุลดังกล่าวประกอบด้วย
ถ – บริษัทสามารถใช้วีดีโอเทปเป็นหลักฐานเพื่อประกอบการพิจารณาคำขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมกรรมการและอำนาจกรรมการของบริษัทได้หรือไม่
ต – ระเบียบสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลางว่าด้วยการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนบริษัท พ.ศ. 2538 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความใน ม.1019 แห่ง ป.พ.พ.
ไม่ปรากฏว่า มีการระบุให้วีดีโอเทปเป็นเอกสารทะเบียนจะต้องนำมาพิจารณา และเมื่อเทียบเคียงกับข้อ 66(1) – (5) ของระเบียบดังกล่าว ซึ่งกำหนดหลักฐาน
ประกอบคำขอจดทะเบียนเพิ่มเติมจากกรณีปกติสำหรับคำขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมบริษัทที่มีการคัดค้านในเรื่องการลงชื่อของกรรมการและคำขอจดทะเบียนแก้ไข
เพิ่มเติมกรรมการและหรืออำนาจกรรมการที่ปฏิบัติไม่ถูกต้องในเรื่องการลงชื่อของกรรมการก็ไม่ปรากฏว่ามีการระบุให้วีดีโอเทปเป็นหลักฐานประกอบคำขอจดทะเบียน
ที่นายทะเบียนจะต้องนำมาพิจารณา บริษัทจึงไม่สามารถนำวีดีโอเทปมาใช้เป็นเอกสารหรือหลักฐานประกอบคำขอจดทะเบียน

ถ – การประกอบกิจการลิซซิ่งเข้าข่ายเป็นความผิดตามกฎหมายฉบับใดหรือไม่
ต – ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกรม มีเฉพาะประเด็นการประกอบกิจการตามวัตถุประสงค์ของบริษัท ซึ่งจากการตรวจสอบปรากฏว่าบริษัทได้มีการจดทะเบียนวัตถุที่ประสงค์ในเรื่อง “การให้กู้ยืมเงินหรือให้เครดิตด้วยวิธีการอย่างอื่นโดยจะมีหลักประกันหรือไม่ก็ตาม” และ “การให้บริการซื้อขายสินค้าด้วยเงินผ่อน ให้บริการสินเชื่อให้บริการแบบแฟ็คเตอริ่งและให้บริการแบบลิซซิ่ง” ซึ่งแม้บริษัทจะมีการประกอบกิจการนอกขอบวัตถุประสงค์ของบริษัท ก็ไม่ถือเป็นความผิดต่อกฎหมายเพียงแต่ผลของการประกอบกิจการนอกขอบวัตถุประสงค์ย่อมผูกพันกรรมการในฐานะส่วนตัวโดยไม่ผูกพันบริษัทแต่อย่างใด
สำหรับทุนจดทะเบียนตาม ป.พ.พ.ไม่มีบทบัญญัติใดกำหนดจำนวนทุนจดทะเบียนสำหรับการประกอบกิจการแต่ละประเภทไว้ จึงต้องพิจารณากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจประเภทนั้นๆ โดยตรง

ถ – กรณีมีการเลิกบริษัทจำกัดเพราะเหตุอื่นนอกจากล้มละลาย บุคคลใดจะเป็นผู้ชำระบัญชีและต้องดำเนินการอย่างไร
ต – ตาม ป.พ.พ.ม.1251 กำหนดให้บริษัทจำกัดเมื่อเลิกกันเพราะเหตุอื่นนอกจากล้มละลาย กรรมการของบริษัทย่อมเข้าเป็นผู้ชำระบัญชี เว้นไว้แต่ข้อบังคับของบริษัทจะมีกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น กรรมการทุกคนของบริษัทย่อมเข้าเป็นผู้ชำระบัญชีโดยไม่ต้องได้รับการแต่งตั้งจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น และกรณี ม.1256 ประกอบกับ ม.1257 กำหนดให้ที่ประชุมใหญ่รับรองให้กรรมการบริษัทคงเป็นผู้ชำระบัญชีต่อไปหรือเลือกตั้งผู้ชำระบัญชีใหม่ขึ้นแทนที่ผู้ชำระบัญชีของบริษัทที่ตั้งจากกรรมการบริษัทตาม ม.1251
ในการจดทะเบียนเลิกบริษัทตาม ม.1254 หากบริษัทมีผู้ชำระบัญชีหลายคน ผู้ชำระบัญชีทุกคนต้องลงลายมือชื่อในแบบการจดทะเบียนเลิก (แบบ ลช.2) ส่วนในแบบคำขอจดทะเบียนเลิกและชำระบัญชี ( แบบ ลช.1) ให้ผู้ชำระบัญชีคนใดคนหนึ่งเพียงคนเดียวเป็นผู้ลงลายมือชื่อทั้งนี้การทำนิติกรรมใดๆ ของผู้ชำระบัญชีอันเกี่ยวเนื่องกับการชำระบัญชีต้องเป็นไปตามอำนาจกรรมการเดิมของบริษัทตาม ม.1252
ภายหลังจากที่บริษัทได้เลิกกันแล้ว หากที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทได้ลงมติกำหนดอำนาจของผู้ชำระบัญชีย่อมต้องเป็นไปตามมติของที่ประชุม และต้องนำความมาจดทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ลงมติตาม ม.1262
ถ – บริษัทจำกัดมีความประสงค์เปลี่ยนชื่อบริษัทเป็นอย่างอื่น และเมื่อเปลี่ยนชื่อแล้วบริษัทที่มีชื่อใหม่สามารถใช้ผลงานของบริษัทเดิมได้หรือไม่
ต – ตาม ป.พ.พ.ม.66 กำหนดว่านิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ หรือกฎหมายอื่นภายในขอบอำนาจหน้าที่หรือวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในกฎหมาย ข้อบังคับ หรือ ตราสารจัดตั้ง แม้ชื่อบริษัทจะเปลี่ยนแปลงไปก็ไม่มีผลต่อสิทธิและหน้าที่ของนิติบุคคลดังกล่าว บริษัทที่มีชื่อใหม่ก็ยังมีสิทธิใช้ผลงานของบริษัทชื่อเดิมได้
ถ – บริษัทจำกัดได้จัดประชุมสามัญประจำปีไปแล้ว แต่มีเหตุจำเป็นไม่สามารถนำเสนองบดุลเพื่ออนุมัติในการประชุมครั้งนั้นได้ ต่อมาบริษัทได้มีการประชุมผู้ถือหุ้นเพื่ออนุมัติงบดุลดังกล่าว การประชุมครั้งหลังนี้เป็นการประชุมประเภทใด
ต – การประชุมผู้ถือหุ้นครั้งหลังเพื่ออนุมัติงบดุล ซึ่งตาม ป.พ.พ.ม.1214 กำหนดให้งบดุลยื่นต่อที่ประชุมสามัญ ดังนั้น การประชุมครั้งหลังนี้จึงเป็นการประชุมสามัญ
ถ – บริษัทจะดำเนินการจดทะเบียนลดทุนเพื่อคืนเงินทุนและเงินส่วนเกินมูลค่าหุ้นที่เหลือจากการสมทบเข้าในทุนสำรองตามกฎหมายแล้ว ให้ผู้ถือหุ้นได้หรือไม่
ต – ผู้ถือหุ้นมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งในทรัพย์สินของบริษัทก็แต่โดยการรับเงินปันผล ซึ่งจ่ายจากเงินกำไรของบริษัทตาม ป.พ.พ. ม.1200 และ ม.1201 หรือได้รับคืนเงินทุนตามส่วนที่ลดลงกรณีบริษัทลดทุนจดทะเบียนและมีเงินทุนเหลือเพียงพอ ตาม ม.1224 นอกจากนี้จะมีสิทธิได้รับต่อเมื่อมีการเลิกบริษัท และชำระบัญชีเสร็จสิ้นแล้ว สำหรับเงินส่วนเกินมูลค่าหุ้นที่บริษัทได้มาจากการขายหุ้นที่จดทะเบียน ซึ่งไม่ใช่เป็นเงินทุนหรือผลกำไรจากการดำเนินกิจการของบริษัท ตราบใดที่บริษัทยังไม่เลิกกันเงินส่วนเกินมูลค่าหุ้นดังกล่าวจึงมิใช่ทรัพย์สินที่ผู้ถือหุ้นจะพึงได้รับจากบริษัท

ถ – การพ้นจากการเป็นผู้มีอำนาจลงชื่อผูกพันบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนจะกระทำได้โดยวิธีใดบ้างและสามารถตรวจสอบได้จากเอกสารหรือหลักฐานใด

กรรมการหรือหุ้นส่วนผู้จัดการผู้มีอำนาจลงชื่อผูกพันบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนจะพ้นจากการมีอำนาจดังกล่าวโดยการบอกเลิกการเป็นกรรมการหรือหุ้นส่วนผู้จัดการซึ่งมีผลทันที
เมื่อได้แสดงเจตนาแก่บริษัทหรือหุ้นส่วนอื่น แต่จะมีผลผูกพันบุคคลภายนอกเมื่อได้มีการจดทะเบียนต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแล้วหรืออีกวิธีหนึ่งโดยการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลง
กรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อผูกพันบริษัทตามมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้น เอกสารหลักฐานที่สามารถใช้ตรวจสอบว่ากรรมการหรือหุ้นส่วนผู้จัดการไม่มีอำนาจลงชื่อผูกพันบริษัทหรือ
ห้างหุ้นส่วนได้แก่ หลักฐานที่แสดงการลาออกต่อบริษัทหรือหุ้นส่วนอื่น และในกรณีที่มีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงแล้ว สามารถตรวจสอบการเป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อผูกพัน
บริษัทหรือหุ้นส่วนผู้จัดการได้จากหนังสือรับรองรายการจดทะเบียนที่ออกโดยสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท

ถ – การออกจากการเป็นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดต้องดำเนินการอย่างไร
ต – การออกจากการเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัดต้องมีการตกลงร่วมกันระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนให้ผู้เป็นหุ้นส่วนที่มีความประสงค์
จะออกจากการเป็นหุ้นส่วนออกจากการเป็นหุ้นส่วนได้และหุ้นส่วนผู้จัดการต้องนำความดังกล่าวไปจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงผู้เป็นหุ้นส่วน จึงจะทำให้การลาออกมีผลต่อบุคคลทั่วไป
ถ – การลาออกจากตำแหน่งกรรมการของบริษัท
ต – การลาออกจากการเป็นกรรมการบริษัทมีผลเมื่อกรรมการได้ยื่นใบลาออกต่อบริษัทตาม ป.พ.พ. ม.1167 ประกอบกับ ม.826 และมาตรา 827 แต่ทั้งนี้การลาออกยังไม่มีผลผูกพันบุคคลภายนอกจนกว่าบริษัท ได้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการต่อนายทะเบียนแล้ว

ถ – หุ้นส่วนผู้จัดการคนเดิมสามารถทำบันทึกข้อตกลงโอนความรับผิดชอบที่จะมีขึ้นภายใน 2 ปี นับแต่วันที่ออกจากห้างหุ้นส่วนจำกัดให้กับหุ้นส่วนผู้จัดการคนใหม่ได้หรือไม่
ต – บทบัญญัติใน ม.1068 แห่ง ป.พ.พ.เป็นบทบัญญัติเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของบุคคลภายนอก แม้คู่สัญญาจะตกลงโอนความรับผิดชอบกันอันเป็นเรื่องระหว่างคู่สัญญา แต่ในส่วนที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก ย่อมไม่มีผลทำให้ผู้เป็นหุ้นส่วนที่ออกจากหุ้นส่วนและหุ้นส่วนผู้จัดการนั้นหลุดพ้นจากความรับผิดตาม ม.1068 แห่ง ป.พ.พ.แต่อย่างใด

ถ – หนังสือรับรองข้อมูลส่วนบุคคลขณะขอมีบัตรประจำตัวประชาขนสามารถใช้แทนสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนในการยื่นคำขอจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิได้หรือไม่
ต – ระเบียบสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลางว่าด้วยการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนบริษัท พ.ศ.2538 ข้อ 11 กำหนดไว้ว่า ในกรณีที่จะต้องนำบัตรประจำตัวไปแสดงต่อนายทะเบียน บัตรประจำตัวให้หมายถึง บัตรประจำตัวประชาชน บัตรประจำตัวข้าราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หนังสือเดินทางเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือ ใบรับคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนที่ยังไม่หมดอายุ ซึ่งหนังสือรับรองข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวเป็นการคัดและรับรองสำเนารายการเกี่ยวกับบัตรประชาชนตาม ม.10 แห่ง พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ.2526 ซึ่งผู้ถือบัตรและผู้มีส่วนได้เสียสามารถขอตรวจค้นหลักฐานหรือคัดสำเนาพร้อมคำรับรองรายการบัตรได้ หนังสือรับรองข้อมูลส่วนบุคคลจึงไม่อยู่ในความหมายของบัตรประจำตัวตามระเบียบสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลางฯ ข้อ 11 แต่อย่างใด

ถ – นายทะเบียนได้จดทะเบียนและคัดชื่อโจทก์ออกจากการเป็นกรรมการบริษัทตามคำพิพากษาของศาลแต่ไม่ได้จดทะเบียนและคัดชื่อโจทก์ออกจากการ
เป็นกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัท โดยให้เหตุผลว่าเกินคำพิพากษาของศาล โจทก์ได้มีหนังสือให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการจดทะเบียนคัดชื่อโจทก์ ออกจากการเป็น
กรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทด้วย นายทะเบียนต้องดำเนินการ จดทะเบียนแก้ไขอำนาจกรรมการให้โจทก์ออกจากการเป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อผูกพันหรือไม่
ต – การจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงตามคำพิพากษาของศาลควรพิจารณาโดยเคร่งครัดมิให้เกินไปจากคำพิพากษาของศาล การจดทะเบียนโจทก์ออกจาก
กรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อผูกพันบริษัท มีผลทำให้บริษัทไม่มีผู้มีอำนาจกระทำการแทน ซึ่งจะขัดกับ ป.พ.พ.ม.70 ประกอบ ม.1111 อย่างไรก็ตามแม้นายทะเบียน
จะไม่จดทะเบียนโจทก์ออกจากกรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อผูกพัน บริษัทก็ตาม การออกจากกรรมการของโจทก์มีผลทำให้บริษัทไม่มีผู้มีอำนาจกระทำการแทน
จึงควรแจ้งให้บริษัทดำเนินการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อผูกพันบริษัทและเพื่อคุ้มครองประโยชน์ผู้ที่เกี่ยวข้องควรหมายเหตุไว้ในหนังสือรับรอง
ของบริษัทให้ทราบโดยทั่วกันว่า โจทก์ไม่มีอำนาจลงชื่อผูกพันบริษัทเนื่องจากพ้นจากการเป็นกรรมการของบริษัท ตามคำพิพากษาของศาลแล้ว

ถ – นายทะเบียนต้องดำเนินการจดทะเบียนแก้ไขอำนาจกรรมการให้ออกจากการเป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อผูกพันหรือไม่บริษัทที่ถูกขีดชื่ออกจากทะเบียนเป็นบริษัทร้างตาม ป.พ.พ. ม.1246 ยังมีสภาพเป็นนิติบุคคลอยู่หรือไม่ และเจ้าหนี้ของบริษัทยังสามารถฟ้องบริษัทได้หรือไม่
ต –
บริษัทที่ถูกนายทะเบียนขีดชื่อออกจากทะเบียนเป็นอันเลิกกันตั้งแต่ลงประกาศแจ้งความในราชกิจจานุเบกษาตาม ป.พ.พ.ม.1246(5) และทำให้เจ้าหนี้ไม่สามารถฟ้องบริษัทที่ไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนนั้นได้
อย่างไรก็ตาม เจ้าหนี้ของบริษัทที่ต้องเสียหายและไม่เป็นธรรม เนื่องจากการขีดชื่อบริษัทของนายทะเบียนดังกล่าวสามารถยื่นคำร้องขอต่อศาล เพื่อขอให้ศาลสั่งให้นายทะเบียนกลับจดชื่อบริษัทคืนเข้าสู่ทะเบียนได้ตาม ป.พ.พ.ม.1246(6) และเมื่อศาลสั่งและนายทะเบียนกลับจดชื่อบริษัทคืนสู่ทะเบียนแล้วเจ้าหนี้ก็สามารถที่จะฟ้องบริษัทได้ต่อไป

ถ – นายทะเบียนจะรับจดทะเบียนคำขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับผู้เป็นหุ้นส่วนและเงินลงหุ้น โดยใช้คำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาของหุ้นส่วนได้หรือไม่
ต – เมื่อคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความกำหนดว่าหากจำเลยไม่โอนหุ้นตามสัดส่วนที่กำหนด ให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนา เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตาม โจทก์ย่อมดำเนินการทางทะเบียนเพื่อปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความโดยถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาในการจดทะเบียนได้

ถ - การตรวจสอบชื่อผู้เสนอราคาควรตรวจสอบจากหนังสือบริคณห์สนธิหรือบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5)
ต - การตรวจสอบการมีผลประโยชน์ร่วมกันด้านความสัมพันธ์กันในเชิงทุนของผู้เสนอราคาแต่ละรายควรตรวจสอบจากบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นเนื่องจากหนังสือบริคณห์สนธิ
เป็นกรายการที่ผู้เริ่มก่อการยื่นจดทะเบียนไว้ก่อนการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทซึ่งเมื่อตั้งบริษัทแล้วผู้ถือหุ้นอาจมีการโอนหุ้นเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมข้อมูลตามหนังสือ
บริคณห์สนธิจึงไม่ใช้ข้อมูลการถือครองหุ้นในปัจจุบัน

ถ - บริษัทมีเงินทุนสำรองเกินกว่าจำนวนที่กฎหมายกำหนดบริษัทสามารถนำเงินทุนสำรองส่วนที่เกินนี้มาใช้จ่ายเพื่อวัตถุประสงค์อื่นของบริษัทได้หรือไม่ หรือในกรณีที่ข้อบังคับของบริษัทกำหนดให้กันเงินสำรองไว้เกินกว่าจำนวนที่กฎหมายกำหนด บริษัทจะแก้ไขข้อบังคับให้นำเงินทุนสำรองส่วนที่เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดมาใช้ ตลอดจนนำมาจ่ายปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นได้หรือไม่
บริษัทมีเงินทุนสำรองครบตามที่กฎหมายกำหนดต่อมามีการลดทุนแล้วเงินทุนสำรองของบริษัทมีจำนวนเกินกว่าร้อยละ 10 ของทุนจดทะเบียน บริษัทจะนำเงินทุนสำรองส่วนที่เกินกว่ากฎหมายกำหนดมาใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่นของบริษัท รวมถึงนำมาจ่ายเป็นเงินปันผลแก่ผู้ถือหุ้นของบริษัทได้หรือไม่

ต – เมื่อบริษัทจัดสรรเงินไว้เป็นทุนสำรองแล้วบริษัทต้องคงทุนสำรองไว้จนกว่าจะเลิกบริษัท แต่ทั้งนี้บริษัทสามารถนำเงินทุนสำรองดังกล่าวไปใช้จ่ายในกิจการของบริษัทได้ เว้นแต่การนำไปจ่ายเป็นเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นไม่สามารถทำได้ เนื่องจากเงินปันผลกฎหมายกำหนดให้จ่ายจากกำไรเท่านั้น

ถ – การออกเช็คคืนเงินหลักประกันให้แก่บริษัทที่จดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีแล้ว จะมีแนวทางแก้ไขอย่างไร
ต – บริษัทที่ได้จดทะเบียนเลิกและจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีแล้วย่อมถือเป็นที่สุดแห่งการชำระบัญชีรวมทั้งบริษัทย่อมสิ้นสภาพความเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายนับ

แต่วันที่ได้จดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี หากผู้ชำระบัญชีเป็นผู้ดำเนินการจดทะเบียนเลิกและชำระบัญชีโดยบกพร่องผิดพลาดเองและทำให้ผู้ถือหุ้นเสียหาย ู้ถือหุ้นน่าจะสามารถฟ้องผู้ชำระบัญชีเป็นคดีแพ่งในความผิดฐานละเมิดเพื่อชดใช้ค่าเสียหาย หรือผู้ถือหุ้นอาจจะฟ้องเพื่อให้ศาลพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนชำระบัญชีที่ไม่ถูกต้องนั้น

ถ – กรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทเป็นบุคคลล้มละลายจะสามารถลงลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมกรรมการบริษัทได้หรือไม่
ต – ระเบียบสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลางว่าด้วยการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนและบริษัท พ.ศ.2538 ข้อ 65 กำหนดให้คำขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมบริษัทต้องลงชื่อโดยกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนบริษัทตามที่จดทะเบียนไว้เดิม ซึ่งอาจรวมถึงกรรมการผู้มีอำนาจที่พ้นจากตำแหน่งไปแล้วด้วยนั้น ต้องเป็นกรณีที่การพ้นจากตำแหน่งของกรรมการเดิมยังไม่มีผลผูกพันบุคคลภายนอกเนื่องจากยังไม่นำความมาจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงเท่านั้น เช่น กรณีลาออกหรือที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติให้ออก เป็นต้น แต่กรณีกรรมการล้มละลาย ซึ่งต้องขาดจากตำแหน่งตาม ป.พ.พ.ม.1154 เป็นการพ้นจากตำแหน่งโดยผลของกฎหมาย ซึ่งมีผลให้กรรมการไม่มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทอีกต่อไป รวมทั้งมีผลผูกพันบุคคลภายนอกทันที แม้จะยังไม่มีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการก็ตาม ดังนั้นกรณีนี้กรรมการไม่มีอำนาจลงชื่อในคำขอจดทะเบียนและไม่สามารถนำระเบียบฯ ข้อ65 มาใช้ได้

ถ – บริษัทมีภาระผูกพันตามสัญญาที่มีอยู่ก่อนการจดทะเบียนเลิกบริษัท ผู้ชำระบัญชีจะสามารถกระทำตามภาระผูกพันนั้นได้หรือไม่
ต – เมื่อบริษัทเลิกกันให้มีการชำระบัญชีและผู้ชำระบัญชีมีหน้าที่ชำระสะสางการงานของบริษัทให้เสร็จไปกับมีอำนาจดำเนินการกิจการของบริษัทตาม
ความจำเป็นเพื่อให้เสร็จไปด้วยดี ตาม ม.1250 และ ม.1259 ดังนั้น การที่บริษัทมีภาระผูกพันตามสัญญาที่ทำไว้ก่อนเลิกบริษัทผู้ชำระบัญชีพึงปฏิบัติตาม
ภาระผูกพันดังกล่าว เพื่อมิให้บริษัทต้องเสียหายและเพื่อชำระสะสางกิจการของบริษัทให้เสร็จสิ้นไป

ถ – เจ้าพนักงานบังคับคดีได้จ้างการยึดหุ้นของบริษัทตามคดีของศาลแพ่ง และขอให้นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทระงับการจำหน่ายจ่ายโอนหรือทำการก่อให้เกิดภาระผูกพันใดๆ อันเกี่ยวกับหุ้นได้หรือไม่
ต – นายทะเบียนไม่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายที่จะดำเนินการระงับการจำหน่ายจ่ายโอน หรือระงับการทำการก่อให้เกิดภาระผูกพันใดๆ อันเกี่ยวกับหุ้นของบริษัทที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้จ้างการยึดหุ้นตามคำสั่งของศาลได้ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงใดๆ เกี่ยวกับหุ้นและผู้ถือหุ้นเป็นเรื่องระหว่างผู้ถือหุ้นและบริษัทที่จะต้องดำเนินการกันเอง ส่วนบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นที่นายทะเบียนเก็บรักษาไว้ที่สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทเป็นเพียงสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ที่ยังคงเป็นผู้ถือหุ้นอยู่ทั้งหมดในเวลาประชุมสามัญ ซึ่งกรรมการบริษัทมีหน้าที่จัดส่งให้นายทะเบียนเป็นหลักฐานอย่างน้อยปีละครั้งตาม ป.พ.พ. ม.1139 เพื่อให้ผู้ถือหุ้นหรือบุคคลทั่วไป สามารถตรวจสอบหรือคัดสำเนาได้เท่านั้น

ถ –
เจ้าหนี้มีหนังสือถึงนายทะเบียนคัดค้านการจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี แต่เจ้าหน้าที่มิได้หมายเหตุการณ์คัดค้านไว้เนื่องจากมิใช่เป็นหนี้ค้างชำระภาษีหรือค่าฤชาธรรมเนียม
ซึ่งต่อมานายทะเบียนได้รับจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี เจ้าหนี้จึงได้มีหนังสือถึงนายทะเบียนขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีนายทะเบียนจะต้องเพิกถอน
การจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีหรือไม่
ต – เมื่อเจ้าหนี้มีหนังสือคัดค้านการจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีและเจ้าหน้าที่ไม่ได้หมายเหตุการณ์คัดค้านไว้เนื่องจากมิใช่เป็นกรณีการค้างชำระภาษีหรือค่าฤชาธรรมเนียม
ตามข้อ 78 ของระเบียบสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลางว่าด้วยการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนและบริษัท พ.ศ.2538 แต่หากข้อเท็จจริงในเรื่องคำคัดค้านของเจ้าหนี้ปรากฏ
ต่อนายทะเบียน นายทะเบียนก็ต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ.วิ.ปกครอง พ.ศ.2539 ม.29 ในการพิสูจน์ข้อเท็จจริงตามคำคัดค้านให้ได้ข้อยุติก่อนว่าได้มีการชำระหนี้ตามมูลหนี้
แล้วหรือไม่ และเมื่อผู้ชำระบัญชีได้รับหนังสือแจ้งการคัดค้านของเจ้าหนี้จากนายทะเบียนแล้วแต่มิได้โต้แย้ง หรือแสดงหลักฐานการชำระหนี้ข้อเท็จจริงจึงไม่เป็นที่ยุติว่าได้มี
การชำระหนี้แล้วหรือไม่ แม้นายทะเบียนจะรับจดทะเบียนโดยถูกต้องตาม พ.ร.บ.วิ.ปกครอง พ.ศ.2539 เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม สมควรที่จะเพิกถอนคำขอจด
ทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี

ถ – บริษัทจะลดทุนและนำทุนจดทะเบียนที่ลดลงไปตัดขาดทุนสะสมได้หรือไม่
ต – การลดทุนของบริษัทเพื่อนำไปตัดขาดทุนสะสมไม่ได้มีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยหุ้นส่วนและบริษัทโดยตรงจึงเป็นเรื่องทางบัญชี ซึ่งหารือกับฝ่ายบัญชีแล้วเห็นว่า การลดทุนเพื่อตัดขาดทุนสะสมสามารถทำได้ แต่จำนวนทุนที่จะนำไปตัดขาดทุนต้องเป็นทุนที่ชำระแล้ว และดำเนินการตามหลักการบัญชีทั่วไปและมาตรฐานการบัญชี รวมทั้งได้รับความเห็นชอบโดยมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นด้วย

ถ – ผู้แทนห้างชั่วคราวที่ศาลมีคำสั่งตั้งจะมีอำนาจยื่นขอจดทะเบียนเหมือนหุ้นส่วนผู้จัดการหรือไม่
ต – กรณีที่ศาลมีคำสั่งตั้งผู้แทนห้างชั่วคราวจนกว่าห้างจะตั้งหุ้นส่วนผู้จัดการตาม ป.พ.พ.ม.73 ซึ่งมาตราดังกล่าวไม่ได้บัญญัติกำหนดหรือจำกัดอำนาจหน้าที่ของผู้แทนห้างชั่วคราวจึงมีอำนาจและหน้าที่ในการดำเนินกิจการต่างๆ ของห้างในฐานะผู้แทนนิติบุคคลเช่นเดียวกับหุ้นส่วนผู้จัดการทุกประการ ซึ่งรวมทั้งการลงลายมือชื่อในคำขอจดทะเบียนด้วย

ถ – การติดตามเงินคืนค่าหุ้นจากบริษัทจำกัดที่จดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีแล้ว จะดำเนินการอย่างไร
ต – ผู้ถือหุ้นที่ยังไม่ได้รับคืนทรัพย์สินที่แบ่งคืนอันเนื่องมาจากการเลิกบริษัทชอบที่จะใช้สิทธิติดตามทรัพย์สินคืนจากผู้ชำระบัญชี รวมทั้งใช้สิทธิในทางศาลต่อไป

ถ – กรณีนายทะเบียนมีคำสั่งขีดชื่อบริษัทออกจากทะเบียนโดยก่อนออกคำสั่งมีหน่วยงานราชการได้มีหนังสือขอให้ระงับการจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี
และการขีดชื่อออกจากทะเบียน จะถือว่าการออกคำสั่งขีดชื่อบริษัทดังกล่าว ขัดต่อระเบียบสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลางว่าด้วยการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน
และบริษัท พ.ศ.2538 ข้อ 82 ที่จะถือว่าเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่และต้องมีการเพิกถอนคำสั่งหรือไม่
ต – ตามระเบียบสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทฯ ข้อ 82 ว.3 กำหนดไว้ว่าหากมีส่วนราชการใดมีหนังสือขอให้ระงับการถอนทะเบียนร้างไว้ให้นายทะเบียน
พิจารณาระงับการถอนทะเบียนร้างนั้น และกรมได้วางแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับระยะเวลาในการขอระงับไว้โดยให้ระงับครั้งละไม่เกิน 6 เดือน นับแต่วันที่ลง
ในหนังสือ หากประสงค์จะขอระงับต่อก็ขอให้มีหนังสือแจ้งขอระงับต่อไปอีก และเมื่อพ้นกำหนดระยะ เวลาดังกล่าวแล้ว กรมจะดำเนินการตามระเบียบต่อไป
กรณีดังกล่าวเมื่อครบกำหนดระยะเวลา 6 เดือนแล้ว ถ้ามิได้มีการแจ้งขอระงับอีก และนายทะเบียนได้มีคำสั่งขีดชื่อบริษัทออกจากทะเบียนโดยได้ปฏิบัติตาม
หลักเกณฑ์ใน ป.พ.พ. ม.1246 (1)-(5) และระเบียบสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทฯ พ.ศ.2538 ข้อ 82 ว.3 ครบถ้วนแล้ว คำสั่งดังกล่าวก็เป็นคำสั่งที่ชอบด้วย
กฎหมายและระเบียบปฏิบัติไม่ต้องเพิกถอนคำสั่ง


ถ - ทายาทโดยพินัยกรรมซึ่งเป็นผู้มีสิทธิรับมรดกหุ้นในบริษัทเป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจำนวนหุ้นทั้งหมดของบริษัท สามารถใช้สิทธิร้องขอให้ตรวจการงานของบริษัทตาม ป.พ.พ. ม.1215 โดยที่ยังไม่ได้ดำเนินการเปลี่ยนแปลงทะเบียนผู้ถือหุ้นได้หรือไม่
ต - หุ้นและสิทธิหุ้นนั้นเป็นทรัพย์มรดก ซึ่งเป็นเจ้ามรดกย่อมตกมาเป็นของทายาททันที ตามป.พ.พ. ม.1599 และ ม.1600 ซึ่งทายาทสามารถใช้สิทธิในหุ้นนั้นได้ทันทีแม้ว่าบริษัทจะยังไม่ได้จดทะเบียนทายาทเป็นผู้ถือหุ้นก็ตาม เทียบเคียงได้กับคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 310/2510 ดังนั้นผู้ร้องซึ่งเป็นทายาทโดยพินัยกรรมจึงใช้สิทธิในหุ้นเพื่อร้องขอให้ตรวจการงานของบริษัทได้

ถ - การเปลี่ยนชื่อภาษาอังกฤษของบริษัทจำเป็นต้องเรียกประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อขอมติพิเศษในการแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิ ข้อ 1 ในเรื่องชื่อภาษาอังกฤษของบริษัทหรือไม่
ต - การเปลี่ยนแปลงชื่อภาษาอังกฤษของบริษัทที่ระบุในหนังสือบริคณห์สนธิ ข้อ 1 ไม่ต้องมีการลงมติพิเศษเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิรายการดังกล่าวเพราะชื่อภาษาต่างประเทศไม่ถือว่าเป็นชื่อจดทะเบียน แต่หากบริษัทประสงค์จะให้การเปลี่ยนชื่อดังกล่าวมีผลบังคับใช้ต่อสาธารณะชน สามารถดำเนินการได้โดยทำหนังสือแจ้งนายทะเลียนเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงชื่อภาษาอังกฤษของบริษัท หรือจะยื่นคำขอจดทะเบียนรายกาอย่างอื่นซึ่งเห็นสมควรจะให้ประชาชนทราบก็ได้
ถ - กรณีผู้สอบบัญชีเคยเป็นผู้ชำระบัญชีของนิติบุคคล สามารถจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีได้หรือไม่
ต - การจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี กรณีเป็นผู้สอบบัญชีเคยเป็นผู้ชำระบัญชีของนิติบุคคลนั้นหากข้อเท็จจริงในขณะที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้สอบบัญชีบุคคลนั้นได้พันจากตำแหน่ง ผู้ชำระบัญชีของนิติบุคคลนั้นแล้วก็ไม่ขัดต่อกฎหมายแต่ประการใด

ถ – กรณีกรรมการผู้มีอำนาจและเป็นผู้ถือหุ้นถึงแก่กรรม ได้ทำพินัยกรรมไว้แต่พินัยกรรมดังกล่าวยังมีปัญหาข้อโต้แย้งเกี่ยวกับมรดก ซึ่งคดียังไม่มีข้อยุติ บริษัทสามารถนำมติที่ประชุมมาขอจดทะเบียนแก้ไขกรรมการและอำนาจกรรมการได้หรือไม่
ต – ทรัพย์มรดกซึ่งเป็นหุ้นในบริษัทของเจ้ามรดกซึ่งเป็นหุ้นบริษัทของเจ้ามรดกผู้ตายได้ทำพินัยกรรมไว้ แต่พินัยกรรมดังกล่าวยังมีปัญหาข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการตั้งผู้จัดการมรดกและการจัดการมรดก ซึ่งทายาทนำคดีขึ้นสู่ศาลและอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลที่ยังไม่มีข้อยุติ กรณีที่บริษัทมีการจัดประชุมและนำมติของที่ประชุมดังกล่าวมาขอจดทะเบียน นายทะเบียนจึงยังไม่อาจที่จะรับจดทะเบียนให้ได้

ถ1 - ผู้จัดการมรดกมีสิทธิร้องขอให้คณะกรรมการของบริษัทจำกัด เรียกประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นได้หรือไม่ ถ้าคณะกรรมการไม่เรียกประชุมผู้จัดการมรดกจะต้องดำเนินการอย่างไร จะเป็นผู้เรียก ประชุมเองได้หรือไม่
ถ2 - จะทำอย่างไรถ้าบริษัทไม่ดำเนินการลงทะเบียนรับผู้จัดการมรดกเป็นผู้ถือหุ้น
ต1 - ผู้จัดการมรดกสามารถใช้สิทธิในหุ้นของเจ้ามรดก ร้องขอให้กรรมการเรียกประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1173 ถ้ากรรมการไม่เรียกประชุมภายในสามสิบวันนับแต่วันยื่นคำร้องขอ ผู้จัดการมรดกจะใช้สิทธิในหุ้นมรดก เรียกประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นตาม มาตรา 1174 วรรคสองได้ จะต้องเป็นกรณีที่มีเหตุอันจำเป็นเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของทายาท และต้องเป็นการปฏิบัติตามกฎหมายโดยสุจริต
ต2 - กรณีที่บริษัทไม่ดำเนินการลงทะเบียนรับผู้จัดการมรดกเป็นผู้ถือหุ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1132 ผู้จัดการมรดกสามารถร้องขอให้ศาลมีคำสั่งให้บริษัทปฏิบัติตามคำร้องขอได้
ถ - การจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการและอำนาจกรรมการ เมื่อมีผู้มีส่วนได้เสียยื่นหนังสือคัดค้านการจดทะเบียนต่อนายทะเบียนแล้วนายทะเบียนสามารถรับคำขอนั้นไปพิจารณารับจดทะเบียนได้หรือไม่
ต - การประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อมีมิติให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงกรรมการและอำนาจกรรมการ เมื่อได้นัดเรียกและได้ประชุมกันรวมทั้งได้ลงมติถูกต้องตามประมวลกฎหมาย
แพ่งและพาณิชย์และข้อบังคับของบริษัทและยื่นคำขอและเอกสารประกอบครบถ้วนถูกต้องตามระเบียบสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลางฯ พ.ศ.2549 แล้ว แม้จะ
มีการคัดค้านการจดทะเบียน แต่พอคำคัดค้านไม่เหตุผลพอที่จะรับฟังได้ และระหว่างการพิจารณาไม่ปรากฏแก่นายทะเบียนว่าศาลได้มีคำสั่งห้ามมิให้นายทะเบียนรับ
จดทะเบียนเป็นการชั่วคราวหรือมีคำสั่งอื่นใดในทำนองเดียวกัน นายทะเบียนพิจารณารับจดทะเบียนได้
ถ - มติพิเศษของที่ประชุมให้เลิกบริษัทมีผลตามกฎหมายหรือไม่
ต - การเลิกบริษัทมีผลสมบูรณ์ตั้งแต่วันที่บริษัทมีมติพิเศษให้เลิกบริษัท ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1236 ดังนั้น มติที่ประชุมในเรื่องการเลิกบริษัท จึงชอบด้วยกฎหมาย
ถ - การแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีและกำหนดอำนาจผู้ชำระบัญชีมิได้เป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และระเบียบสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลางฯ นายทะเบียนจะรับจดทะเบียนได้หรือไม่
ต - การแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีและกำหนดอำนาจผู้ชำระบัญชีต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1251 เว้นแต่จะมีข้อบังคับกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นหรือมีมติเป็นเอกฉันท์ แต่งตั้งให้ผู้อื่นนอกจากกรรมการเป็นผู้ชำระบัญชีตามระเบียบสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลางฯ ข้อ 80 กรณีดังกล่าวที่ประชุมมีมติแต่งตั้งกรรมการเป็นผู้ชำระบัญชีไม่ครบทุกคน และผู้ถือหุ้นไม่ได้เข้าประชุมทุกคน จึงมีผลให้ผู้ชำระบัญชีต้องเป็นไปตามมาตรา 1251 คือ กรรมการทุกคนเข้าเป็นผู้ชำระบัญชี และกำหนดอำนาจผู้ชำระบัญชีให้เป็นไปตามอำนาจ กรรมการเดิมก่อนเลิกบริษัท ตามมาตรา 1252 ดังนั้น คำขอจดทะเบียนของบริษัทหากได้แก้ไขให้มีผู้ชำระบัญชีซึ่งเป็นกรรมการของบริษัทครบทั้ง 8 คน ก็รับจดทะเบียนได้โดยไม่ต้อง
ประชุมใหม่และหากให้มีผู้ชำระบัญชี 5 คน ให้จัดประชุมเพื่อมีมติแก้ไขเปลี่ยนแปลงผู้ชำระบัญชีต่อไป
ถ - การจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมกรรมการและอำนาจกรรมการของบริษัท ทิพย์ช้าง จำกัด กรณีทำสัญญาประประนอมยอมความและศาลได้มีคำพิพากษาตามยอมให้ยกเลิกสัญญาซื้อขายหุ้นและคู่กรณีมิได้ติดใจร้องขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น จะมีผลต่อการพิจารณาคำขอดังกล่าวหรือไม่
ต - กรณีดังกล่าวถึงแม้ว่าคู่สัญญาได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลได้มีคำพิพากษาตามยอมให้ยกเลิกสัญญาซื้อขายหุ้น แต่ผลของการเลิกสัญญาดังกล่าวย่อมไม่กระทบถึงการโอนหุ้นซึ่งเกิดขึ้นหลังจากที่สัญญาซื้อขายหุ้นมีผลใช้บังคับและเป็นการโอนหุ้นที่ได้กระทำโดยถูกต้อง คือมีการทำสัญญาโอนหุ้นมีการจดแจ้งการโอนลงในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น และส่งสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นมายังสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดลำปางเพื่อเป็นหลักฐานทางทะเบียน จึงถือได้ว่าผู้ชื้อหรือผู้รับโอนได้เข้าเป็นผู้ถือหุ้นแทนที่ผู้ขายหรือผู้โอนโดยชอบแล้ว เมื่อผู้ขายหรือผู้โอนซึ่งหมดสภาพการเป็นผู้ถือหุ้นได้เรียกและจัดประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น อีกทั้งยังร่วมลงมติในที่ประชุมด้วย การประชุมดังกล่าวจึงเป็นการประชุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น คำขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมกรรมการและอำนาจ โดยอาศัยการประชุมและมติที่ประชุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงไม่อาจรับจดทะเบียนได้
ถ - บริษัทต้องการให้นายทะเบียนมีคำสั่งลบชื่อบริษัทออกจากสารบบทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทตามคำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง
นายทะเบียนจะสามารถดำเนินการได้หรือไม่
ต - กรณีที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางได้มีคำสั่งให้บริษัทจำเลยลบชื่อของบริษัทหรือมิให้ใช้ชื่อที่มีข้อพิพาทกันนั้น คำพิพากษาของศาล
มีผลผูกพันเฉพาะคู่ความในคดีเท่านั้น นายทะเบียนไม่มีอำนาจเพิกถอนชื่อซึ่งเป็นชื่อที่มีข้อพิพาทกันของจำเลยออกจากสารบบทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทได้และไม่อาจ
ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาขอจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อบริษัทได้เช่นกัน

ถ - บริษัทฯ ต้องการทราบคำจำกับความของวัตถุประสงค์ตามหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัทว่า “ประกอบกิจการค้า” หมายความรวมไปถึงการ “ติดตั้ง” ด้วยหรือไม่
ต - การวินิจฉัยขอบเขตของวัตถุประสงค์เป็นปัญหาข้อกฎหมายและเป็นปัญหาข้อกฎหมายและเป็นการตีความถึงผลผูกพันทางแพ่งของการประกอบกิจการของบริษัท โดยไม่เกี่ยวกับปัญหาการจดทะเบียนซึ่งเป็นงานในหน้าที่รับผิดชอบของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ฉะนั้นจึงไม่อาจที่จะก้าวล่วงเข้าไปวินิจฉัยได้อย่างไรก็ตามการจดทะเบียนวัตถุประสงค์ที่ประกอบการค้าของบริษัท ควรระบุรายละเอียดให้เป็นที่เข้าใจได้อย่างชัดเจน โดยไม่ต้องอาศัยการตีความเพื่อป้องกันมิให้เกิดปัญหาในการติดต่อดำเนินธุรกิจกับหน่วยงานต่างๆ

- การจดทะเบียนบริษัท ต้องทำอย่างไร มีโครงสร้าง และ หลังจากจดทะเบียนแล้ว มีข้อกฎหมายที่บริษัทต้องปฎิบัติตามอย่างไรบ้าง

- การจดทะเบียน มีโครงสร้าง การดำเนินการ และหน้าที่ที่ปฎิบัติหลังจาก จัดตั้งบริษัทเรียบร้อยแล้วดังนี้

โครงสร้างของ "บริษัทจำกัด"
        1. ต้องมีผู้ร่วมลงทุน อย่างน้อย 3 คน
        2. แบ่งทุนออกเป็นหุ้น และมีมูลค่าหุ้นละเท่าๆ กัน
        3. มูลค่าหุ้นจะต้องไม่ต่ำกว่า 5 บาท
        4. ความรับผิดชอบของผู้ถือหุ้นมีจำกัด (เฉพาะจำนวนเงินค่าหุ้นที่ยังส่งใช้ไม่ครบ)
        5. ต้องจดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

การดำเนินการจัดตั้งบริษัทจำกัด     ในการจัดตั้งบริษัทจำกัดนั้น จะต้องดำเนินการตามลำดับขั้นตอน ดังนี้
        1. ต้องมีผู้เริ่มก่อการตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป เข้าชื่อกันทำหนังสือบริคณห์สนธิขึ้น แล้วไปจดทะเบียน
        2. เมื่อได้จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิแล้ว ผู้เริ่มก่อการต้องจัดให้หุ้นของบริษัทที่จะตั้งขึ้นนั้นมีผู้ เข้าชื่อจองซื้อหุ้นจนครบ
        3. ดำเนินการประชุมตั้งบริษัท โดยต้องส่งคำบอกกล่าวนัดประชุมให้ผู้จองทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วัน ก่อนวันประชุม
        4. เมื่อได้ประชุมตั้งบริษัท และที่ประชุมได้แต่งตั้งกรรมการบริษัทแล้ว ผู้เริ่มก่อการต้องมอบหมายกิจการให้กรรมการบริษัทรับไปดำเนินการต่อไป
        5. กรรมการบริษัทเรียกให้ผู้เริ่มก่อการและผู้จองหุ้นชำระค่าหุ้นอย่างน้อยร้อยละ 25 ของมูลค่าหุ้น (ทุนของบริษัทจะแบ่งเป็นกี่หุ้นก็ได้แต่ต้องไม่ต่ำกว่าหุ้นละ 5 บาท)
        6. เมื่อได้รับเงินค่าหุ้นแล้ว กรรมการต้องไปจดทะเบียนเป็นบริษัทภายใน 3 เดือน ภายหลังจากการประชุมตั้งบริษัท
        7. ในการจัดตั้งบริษัท ถ้าได้ดำเนินการทุกขั้นตอนดังต่อไปนี้ ภายในวันเดียวกับวันที่ผู้เริ่มก่อการจัดทำหนังสือบริคณห์สนธิ กรรมการจะจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิและจดทะเบียนตั้งบริษัทไปพร้อมกันภายในวันเดียวก็ได้
                7.1 จัดให้มีผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นครบตามจำนวนหุ้นทั้งหมดที่บริษัทจะจดทะเบียน
                7.2 ประชุมจัดตั้งบริษัท  เพื่อพิจารณากิจการต่างๆ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1108 โดยมีผู้เริ่มก่อการและผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นทุกคนเข้าร่วมประชุม และผู้เริ่มก่อการ และผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นทุกคน ให้ความเห็นชอบในกิจการที่ได้ประชุมกันนั้น
                7.3 ผู้เริ่มก่อการได้มอบกิจการทั้งปวงให้แก่กรรมการบริษัท
                7.4 กรรมการได้เรียกให้ผู้เข้าชื่อซื้อหุ้น ใช้เงินค่าหุ้น โดยจะเรียกครั้งเดียวเต็มมูลค่าหรือไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบห้า ตามมาตรา 1110 วรรคสองก็ได้  และผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นทุกคนได้ชำระเงินค่าหุ้นเสร็จเรียบร้อยแล้ว

การดำเนินการจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมหรือเลิกและชำระบัญชีบริษัทจำกัด
        ในกรณีที่บริษัทจำกัดนั้นได้ตกลงที่จะแก้ไขเพิ่มเติมรายการใด ๆ ที่ได้จดทะเบียนไว้ เป็นอย่างอื่น หรือผู้ถือหุ้นจะเลิกกิจการ ก็จะต้องไปดำเนินการขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมรายการนั้น ๆ หรือจดทะเบียนเลิกและเสร็จการชำระบัญชี ณ สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทที่ห้างนั้นมีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่
        การจดทะเบียนจัดตั้งและแก้ไขเพิ่มเติมจะต้องดำเนินการตามวิธีและหลักเกณฑ์ที่กฎหมายและระเบียบของทางราชการได้กำหนดไว้

รายการจดทะเบียนที่บริษัทจะต้องจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติม
        1. การแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิก่อนการตั้งบริษัท
        2. มติพิเศษของบริษัทให้
            2.1 เพิ่มทุน
            2.2 ลดทุน
            2.3 ควบบริษัท
        3. ควบบริษัท
        4. แก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิภายหลังตั้งบริษัท
        5. เพิ่มทุน
        6. ลดทุน
        7. กรรมการ
        8. จำนวนหรือชื่อกรรมการซึ่งลงชื่อผูกพันบริษัท
        9. ที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่และ/หรือสำนักงานสาขา
        10. ตราของบริษัท
        11. รายการอื่นที่เห็นสมควรจะให้ประชาชนทราบ

หน้าที่ของบริษัทจำกัด
        1. บริษัทจำกัด ต้องทำงบการเงินอย่างน้อยครั้งหนึ่งทุกรอบสิบสองเดือน โดยมีผู้ สอบบัญชีอย่างน้อย หนึ่งคนตรวจสอบ แล้วนำเสนอที่ประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นอนุมัติงบการเงินภายใน 4 เดือน นับแต่วันปิดรอบปีบัญชี พร้อมทั้งยื่นงบการเงินต่อสำนักบริการข้อมูลธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือที่สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัด ภายใน 1 เดือน นับตั้งแต่วันอนุมัติงบการเงิน ทั้งนี้รวมถึงบริษัทที่แม้ว่าจะยังมิได้ประกอบกิจการก็ตาม จะต้องส่งงบการเงินด้วย มิฉะนั้นมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
        2. จัดทำบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น ณ วันที่ที่ประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นและให้นำส่งต่อสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร หรือที่สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดแล้วแต่กรณี ภายใน 14 วัน นับจากวันที่ประชุม มิฉะนั้นมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
        3. ต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญ ภายหลัง 6 เดือน นับแต่วันจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล และจัดประชุมครั้งต่อไปอย่างน้อย 1 ครั้ง ทุกระยะเวลา 12 เดือน มิฉะนั้น จะมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
        อนึ่ง คำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่นั้น ให้ลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่อย่างน้อยหนึ่งคราวก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่า 7 วัน และ
        ส่งทางไปรษณีย์ตอบรับไปยังผู้ถือหุ้นทุกคนที่มีชื่อในทะเบียนของบริษัท ก่อนนัดประชุมไม่น้อยกว่า 7 วัน เว้นแต่เป็นคำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่ เพื่อลงมติพิเศษให้กระทำการดังว่านั้นก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่า 14 วัน
        4. ต้องจัดทำใบหุ้นมอบให้ผู้ถือหุ้นของบริษัท มิฉะนั้นมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
        5. ต้องจัดทำสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นของบริษัท มิฉะนั้นมีความผิดต้องระวางโทษ ปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
        6. บริษัทใดย้ายที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ ต้องขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท  มิฉะนั้นจะมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
        ในกรณีนิติบุคคลไม่จัดส่งงบการเงินประจำปีตามที่กฎหมายกำหนด นอกจากนิติบุคคลจะมีความผิดแล้วกรรมการผู้จัดการหรือกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล ก็มีความผิดต้องระวางโทษเช่นเดียวกับนิติบุคคลด้วย

กิจการที่กฎหมายกำหนดระยะเวลาในการยื่นจดทะเบียน
        1. คำขอจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท ซึ่งต้องยื่นขอจดทะเบียนภายใน 3 เดือน นับแต่วันประชุมตั้งบริษัท
        2. คำขอจดทะเบียนแต่งตั้งกรรมการของบริษัทขึ้นใหม่ และ/หรือกรรมการออกจากตำแหน่ง ต้องยื่นขอขอจดทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ตั้งกรรมการขึ้นใหม่ หรือกรรมการออกจากตำแหน่ง
        3. คำขอจดทะเบียนมติพิเศษให้เพิ่มทุน หรือลดทุนของบริษัทจำกัด หรือให้ควบบริษัทจำกัด ต้องยื่นขอจดทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ที่ประชุมได้มีการลงมติพิเศษ
        4. คำขอจดทะเบียนตั้งข้อบังคับขึ้นใหม่ หรือแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของบริษัทจำกัด ต้องยื่นขอจดทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ที่ประชุมได้มีการลงมติพิเศษ

        5. คำขอจดทะเบียนควบบริษัทจำกัด ต้องยื่นขอจดทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ได้มีการควบบริษัทเข้ากัน
        6. คำขอจดทะเบียนเลิกบริษัทจำกัด ต้องยื่นขอจดทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่วันที่เลิกกัน
        7. คำขอจดทะเบียนเปลี่ยนตัวผู้ชำระบัญชี ต้องยื่นขอจดทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ได้เปลี่ยนตัว
        8. คำขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมอำนาจผู้ชำระบัญชี ต้องยื่นขอจดทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ที่ประชุมได้มีการลงมติ หรือวันที่ที่ศาลได้มีคำพิพากษา
        9. คำขอจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีของบริษัทจำกัด ต้องยื่นขอจดทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ที่ประชุมได้มีการลงมติ
        10. การยื่นรายงานการชำระบัญชีของบริษัทจำกัด ต้องยื่นทุกระยะ 3 เดือนครั้งหนึ่งนั้น ผู้ชำระบัญชีจะต้องยื่นรายงานการชำระบัญชีภายใน 14 วัน นับแต่วันครบกำหนด 3 เดือน

 

เราบริการ: จดทะเบียนบริษัท จัดตั้งบริษัท ตรวจสอบบัญชี บริการบัญชี จัดทำงบรายเดือน บัญชีรายเดือน วางระบบบัญชี ที่ปรึกษาด้านบัญชี บริการภาษีอากร ภาษีรายเดือน ภาษีรายปี ที่ปรึกษาภาษีอากร บริการตรวจสอบบัญชี ตรวจสอบพิเศษ ตรวจสอบพิเศษ(ตามความต้องการหรือข้อกำหนดของบริษัทแม่) เปิดบริษัท เลิกบริษัท จดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วน จดทะเบียนธุรกิจ ขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจ ขอใบอนุญาตทำงาน จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ขอหมายเลขผู้เสียภาษี คัดหนังสือรับรอง คัดเอกสารบริษัท แปลหนังสือรับรอง แปลเอกสารบริษัท โนตารี่พับลิค รับรองเอกสาร จัดหานักบัญชี ฝึกอบรมพนักงานบัญชี

ขอขอบคุณ ที่สนใจงานบริการของเรา บริษัท นารา การบัญชี จำกัด

copyright
 
 
 
 

__________________________________________________________________________________________