>

ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีซื้อต้องห้าม เบี้ยปรับเงินเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่ม และ อื่นๆ

 

Home - เกี่ยวกับเรา : คัดหนังสือรับรอง : คัดงบการเงิน : คัดบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น : คัดบริคณห์สนธิ : เปลี่ยนแปลงแก้ไข บริษัท : คัดรับรองตราประทับ : คัดเอกสารต่อใบอนุญาตทำงาน:
จดทะเบียนบริษัท : เลิกบริษัท : งบเปล่า : แปลเอกสาร : รับรองเอกสาร-โนตารี่พับลิค : การตลาด-พันธมิตร : ที่อยู่จดทะเบียน : ปรึกษาคดีฟรี-รับว่าความ : นักบัญชีหางาน : รับสมัครงาน
Affidavit 300 Baht dormant co-regis 2200B notary 1000B.
15000B-close
000B-ch-regis 12000B-address 500B-translation job-acc
000B-accountant
เว็บบอร์ด ประกาศ คน หา งานบัญชี / งาน หา คนบัญชี / อะไร อะไร ก็ บัญชี

nara office

สำนักงาน กรุงเทพฯ

adv1 webboard
 

ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax : VAT)

“ภาษีมูลค่าเพิ่ม” (Value Added Tax : VAT) เป็นภาษีที่จัดเก็บจากการขายสินค้า การให้บริการและการนำเข้า ปัจจุบันจัดเก็บภาษีในอัตราร้อยละ 7 (รวมภาษีที่จัดเก็บให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)

ผู้ประกอบที่ขายสินค้าหรือให้บริการที่อยู่ในบังคับภาษีมูลค่าเพิ่ม หากมีรายรับเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปีหรือต่อรอบระยะเวลาบัญชี ต้องจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และเมื่อขายสินค้าหรือให้บริการต้องออกใบกำกับภาษี เพื่อเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้ให้บริการ พร้อมทั้งส่งมอบใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้ให้บริการ

การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มให้คำนวณ

โดยการนำภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อในแต่ละเดือนภาษี ดังนี้ ภาษีมูลค่าเพิ่มต้องชำระ = ภาษีขาย-ภาษีซื้อ

ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม(ภ.พ.30) เป็นรายเดือนภาษี โดยยื่นแบบตั้งแต่วันที่ 1 - 15 ของงเดือนถัดไปทุกเดือนไม่ว่ากิจการจะมีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการในเดือนภาษีนั้นหรือก็ตาม

กรณีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม และผลจากการคำนวณภาษีพบว่า ภาษีขายมากกว่าภาษีซื้อ ผู้ประกอบการมีหน้าที่ต้องนำส่งเงินภาษีต่อกรมสรรพากรเท่ากับส่วนต่างนั้น แต่หากภาษีขายน้อยกว่าภาษีซื้อ ผู้ประกอบการมีสิทธิได้รับคืนภาษีซื้อ โดยผู้ประกอบการจะขอคืนภาษีซื้อเป็นเงินสดหรือให้นำเครดิตภาษีไปชำระภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนถัดไปก็ได้ การแสดงรายละเอียดการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มทั้งยอดภาษีขายและยอดภาษีซื้อที่แสดงในแบบ ภ.พ.30 จะต้องเป็นภาษีที่ถูกต้องตามกฎหมาย และมีสิทธินำมาใช้ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มเท่านั้น

 

นิยาม ภาษีขาย และภาษีซื้อ

ภาษีขาย (Output Tax)

ภาษีขาย (Output Tax)หมายถึง

  • ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้เรียกเก็บหรือพึงเรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการเมื่อมีการขายสินค้าหรือรับค่าบริการรวมถึงภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมีหน้าที่เสียภาษี ในกรณีที่เป็นการขายสินค้า ทั้งนี้ ให้รวมถึง การนำสินค้าไปใช้ไม่ว่าประการใดๆ เว้นแต่นำไปเพื่อการประกอบกิจการของตนเองโดยตรง
    • มีสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ
    • มีสินค้าคงเหลือและหรือทรัพย์สินที่ผู้ประกอบการมีไว้ในการประกอบกิจการจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ ณ วันเลิกประกอบกิจการ
      หรือวันที่ได้รับแจ้งคำสั่งถอน หรือวันที่ได้รับแจ้งการเพิกถอนทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
  • ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม มีหน้าที่เสียภาษีจากการให้บริการหรือใช้บริการของกิจการ ไม่รวมถึงเพื่อการประกอบกิจการของตนเองโดยตรง และการนำเงินไปหาประโยชน์โดยการฝากธนาคารหรือซื้อพันธบัตรหรือหลักทรัพย์

ภาษีซื้อ (Input Tax)
ภาษีซื้ หมายถึง ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มถูกผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มอื่นเรียกเก็บจากการซื้อสินค้า หรือรับบริการเพื่อใช้ในการประกอบกิจการของตนเอง และให้หมายความรวมถึง

  • ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้เสียเมื่อนำเข้าสินค้า
  • ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้เสียเมื่อรับโอนสินค้านำเข้าที่จำแนกประเภทไว้ในภาคว่าด้วยของที่ได้รับยกเว้นอากรตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร
  • ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ได้นำส่งกรมสรรพากร
    • จากการขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
    • จากการชำระราคาสินค้าหรือราคาค่าบริการให้กับผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักร ซึ่งได้เข้ามาประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวและไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นการชั่วคราว
    • จากการชำระราคาค่าบริการให้กับผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร
    • จากการรับโอนสินค้าหรือรับโอนสิทธิบริการในการขายสินค้าหรือการให้บริการที่ได้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0

 

ประเภทภาษีซื้อ

ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มซื้อสินค้าหรือรับบริการจากผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มรายอื่น จะถูกเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากการซื้อสินค้าหรือรับบริการนั้น ภาษีมูลค่าเพิ่มได้จ่ายไปในการซื้อสินค้าหรือรับบริการ

ภาษีซื้อ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท

  1. ภาษีซื้อที่กฎหมายให้นำมาหักออกจากภาษีขายหรือขอคืนภาษีซื้อ
    ต้องเป็นภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อสินค้าหรือรับบริการที่ถูกเรียกเก็บจากผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มรายอื่น หรือภาษีซื้อที่เกิดจากการนำเข้าสินค้า การรับโอนสินค้านำเข้า การขายทอดตลาดทรัพย์สิน การชำระราคาสินค้าหรือราคาค่าบริการให้กับผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักร และการรับโอนสินค้าหรือรับโอนสิทธิบริการในการขายสินค้าหรือการให้บริการที่ได้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 โดยสินค้าหรือบริการดังกล่าวต้องนำมาใช้ในการประกอบกิจการของตน และไม่เป็นภาษีซื้อที่กฎหมายไม่ให้นำมาหักออกจากภาษีขายหรือขอคืนภาษีซื้อ
  2. ภาษีต้องห้าม
    ภาษีซื้อต้องห้ามเป็นภาษีซื้อที่กฎหมายไม่ให้นำมาหักออกจากภาษีขายหรือขอคืนภาษีซื้อ โดยได้กำหนดลักษณะภาษีซื้อต้องห้ามไว้ตามมาตรา 82/5 แห่งประมวลรัษฎากรและประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 17) และ (ฉบับที่ 42)

 

ภาษีซื้อต้องห้าม

หมายถึง ภาษีซื้อที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไม่สามารถนำมาหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มหรือนำมาขอคืนภาษีซื้อ ซึ่งกฎหมายได้กำหนดลักษณะของภาษีซื้อต้องห้ามไว้ในมาตรา 82/5 แห่งประมวลรัษฎากร และประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่17) ดังนี้
ลักษณะภาษีซื้อต้องห้าม

  1. ไม่มีใบกำกับภาษี หรือไม่อาจแสดงใบกำกับภาษีได้
    • (1) ไม่มีใบกำกับภาษี เนื่องจากผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการไม่ออกใบกำกับภาษี หรือออกใบกำกับภาษีแต่ระบุชื่อบุคคลอื่น
    • (2) มีใบกำกับภาษีแต่ไม่อาจแสดงใบกำกับภาษีได้ว่ามีการชำระภาษีซื้อเป็นกรณีที่ได้ซื้อสินค้าหรือรับบริการจริง แต่ไม่อาจแสดงต่อเจ้าพนักงานสรรพากรได้
  2. กรณีใบกำกับภาษีซื้อมีข้อความไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญตามที่กฎหมายกำหนด ใบกำกับภาษีที่นำมาหักออกจากภาษีขายหรือขอคืนภาษีซื้อได้ ต้องเป็นใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปและต้องมีข้อความตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร หากใบกำกับภาษีมีข้อความไม่ถูกต้องครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด ภาษีซื้อนั้นถือเป็นภาษีซื้อต้องห้าม ดังนั้น ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มควรตรวจสอบใบกำกับภาษีว่ามีรายการครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ ก่อนที่จะรับมอบใบกำกับภาษีนั้น
  3. ภาษีซื้อที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
    ภาษีซื้อที่นำมาหักออกจากภาษีขายหรือขอคืนภาษีซื้อได้ ต้องเป็นภาษีซื้อที่จากรายจ่ายเพื่อหากำไรของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหากภาษีซื้อนั้นไม่เกี่ยวข้องกับกิจการหรือเพื่อหากำไรของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีซื้อต้องห้าม ถึงแม้ใบกำกับภาษีนั้นจะมีรายกานครบถ้วนตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากรก็ตาม
  4. ภาษีซื้อที่เกิดจากรายจ่ายเพื่อการรับรองหรือเพื่อการอันมีลักษณะทำนองเดียวกัน
    ภาษีซื้อที่เกิดจากรายจ่ายเพื่อการรับรองหรือเพื่อการอันมีลักษณะทำนองเดียวกันที่ไม่ให้นำมาหักออกจากภาษีขายหรือขอคืนภาษีซื้อได้นั้น ต้องไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังนี้
    • (1) ค่ารับรองหรือค่าบริการไม่ว่าจะจ่ายเพื่อการรับรองหรือให้บริการแก่บุคคลใด ๆ และ ไม่ว่าอำนวยประโยชน์แก่กิจการหรือไม่ก็ตาม เช่น ค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าเครื่องดื่ม ค่ามหรสพ ค่าใช้จ่ายเพื่อการกีฬา และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ทำนองเดียวกัน
    • (2) ค่าสิ่งของหรือประโยชน์อื่นใดที่ให้แก่บุคคลซึ่งได้รับการรับรองหรือรับบริการตาม (1) และบุคคลอื่น
  5. 5. ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีที่ออกโดยผู้ไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษี
    ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีที่ออกโดยผู้ไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษีเป็นภาษีซื้อที่ไม่ให้นำมาหักออกจากภาษีขายหรือขอคืนภาษีซื้อ
    ผู้ไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษี มีดังนี้
    • (1) บุคคลที่ไม่ใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
    • (2) ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่อยู่นอกราชอาณาจักร และมีตัวแทนทำการออกใบกำกับภาษีในนานของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
    • (3) ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ทรัพย์สินถูกนำออกมาขายทอดตลาดหรือขายโดยวิธีอื่นหรือโดยบุคคลอื่น
  6. 6. ภาษีซื้อตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42)
    ภาษีซื้อตามประกาศอธิการบดีกรมสรรพากรที่กฎหมายไม่ให้นำมาหักออกจากภาษีขายหรือขอคืนภาษีซื้อ มีดังนี้
    • (1) ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อ เช่าซื้อ เช่า หรือรับโอนรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน และ ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อสินค้าหรือการรับบริการที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คนตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรสามิต
      กรณีดังกล่าวไม่ให้ใช้บังคับสำหรับการขายรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต และการให้บริการเช่ารถยนต์ดังกล่าวของตนเองโดยตรง และการให้บริการรับประกันวินาศภัยสำหรับรถยนต์ดังกล่าว
      หมายเหตุ :
      “รถยนต์นั่ง” คือ รถเก๋งหรือรถยนต์ที่ออกแบบเพื่อใช้สำหรับนั่งเป็นปกติวิสัย และให้หมายความรวมถึงรถยนต์ในลักษณะถาวรด้างข้าง หรือด้านหลังคนขับมีประตูหรือหน้าต่างและมีที่นั่งทั้งนี้ไม่ว่าจะมีที่นั่งเท่าใด
      “รถยนต์โดยสาร” คือ รถตู้หรือรถยนต์ที่ออกแบบเพื่อใช้ขนส่งคนโดยสารจำนวนมากรวมทั้งรถยนต์ในลักษณะทำนองเดียวกัน
    • (2) ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีอย่างย่อ
    • (3) ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อทรัพย์สินเพื่อใช้ หรือจะใช้ในกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือภาษีซื้อที่เกิดจากรายจ่ายของกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
    • (4) ภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้างอาคารหรืออสังหาริมทรัพย์อื่น เพื่อนำมาใช้ในกิจการของตนเอง ซึ่งเป็นกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีซื้อดังกล่าวให้มีสิทธินำมาหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ต่อมาผู้ประกอบการได้ขายหรือให้เช่าอาคารหรืออสังหาริมทรัพย์นั้นนำไปใช้ในกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 3 ปีนับแต่เดือนภาษีที่ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ ภาษีซื้อนั้นเป็นภาษีซื้อต้องห้ามตั้งแต่ต้น
    • (5) ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งรายการในใบกำกับภาษีไม่ได้พิมพ์ หรือไม่ได้จัดทำขึ้นด้วยคอมพิวเตอร์ในกรณีจัดทำใบกำกับภาษีด้วยคอมพิวเตอร์ทั้งฉบับ
    • (6) ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งมีข้อความอื่นที่อธิบดีกำหนดในใบกำกับภาษีที่ไม่ได้จัดทำขึ้นด้วยวิธีการตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
    • (7) ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งมีรายการในใบกำกับภาษีเป็นสำเนา (Copy) เป็นภาษีซื้อต้องห้าม แต่ไม่รวมถึงใบกำกับภาษีที่ที่ได้จัดทำรวมกับเอกสารทางการค้าอื่นซึ่งมีจำนวนหลายฉบับและใบกำกับภาษีมีรายการในใบกำกับภาษีเป็นสำเนามีข้อความว่า “เอกสารออกเป็นชุด” ปรากฏอยู่ด้วย
    • (8) ภาษีซื้อส่วนที่เฉลี่ยเป็นของกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งได้คำนวณตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
    • (9) ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อสินค้าหรือรับบริการ ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม นำไปใช้หรือจะใช้ในการประกอบกิจการทั้งประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มใช้สิทธิเลือกไม่นำภาษีซื้อทั้งหมดไปหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มเนื่องจากกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มมีรายได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของรายได้ของกิจการทั้งหมด
    • (10) ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปซึ่งรายการได้ถูกแก้ไขหรือถูกเปลี่ยนแปลง เป็นภาษีซื้อต้องห้าม เว้นแต่รายการซึ่งได้ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบิดีกำหนด
      หมายเหตุ : การแก้ไขเปลี่ยนแปลงตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกำหนด
      - การแก้ไขที่อยู่ของผู้ออกใบกำกับภาษี พร้อมกับลงลายมือชื่อผู้ออกใบกำกับภาษีกำกับการแก้ไข ทั้งนี้เฉพาะใบกำกับภาษีที่ได้ออกในช่วงระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี
      นับแต่วันที่ทางราชการได้ประกาศเปลี่ยนแปลงเลขที่บ้าน ชื่อถนน หมู่บ้าน ตำบล หรือแขวง อำเภอ หรือเขต หรือจังหวัดใหม่
    • - การแก้ไขที่อยู่ของผู้ออกใบกำกับภาษีด้วยวิธีการประทับตรายางที่อยู่ที่ถูกต้องเพิ่มเติม ทั้งนี้ เฉพาะใบกำกับภาษีที่ได้ออกในช่วงระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี
      นับแต่วันที่ทางราชการได้ประกาศเปลี่ยนแปลงเลขที่บ้าน ชื่อถนน หมู่บ้าน ตำบลหรือแขวง อำเภอหรือเขต หรือจังหวัด หรือได้ทำการแบ่งเขตถนน หมู่บ้าน
      ตำบลหรือแขวง อำเภอหรือเขต หรือจังหวัดใหม่
    • (11)ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อ เช่าซื้อ หรือหรับโอนรถยนต์ที่ไม่ใช่รถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตเพื่อใช้หรือจะใช้ในกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และต่อมาภายใน 3 ปีนับแต่เดือนภาษีที่ได้รถยนต์ไว้ครอบครองได้มีการดัดแปลงรถยนต์ดังกล่าวเป็นรถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต
      กรณีดังกล่าวไม่ให้ใช้บังคับสำหรับการขายรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิด 10 คน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต และให้บริการเช่ารถยนต์ดังกล่าวของตนเองโดยตรง
    • (12)ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป ซึ่งมีรายการ ชื่อ ที่อยู่ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรตามมาตรา 86/4 (2) แห่งประมวลรัษฎากร ไม่ได้พิมพ์ขึ้น หรือไม่ได้จัดทำขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ในกรณีจัดทำใบกำกับภาษีขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ทั้งฉบับเป็นภาษีซื้อต้องห้าม

    กรณีดังกล่าวไม่ให้ใช้บังคับสำหรับใบกำกับภาษีที่ออกโดยผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งเป็นบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่ได้เปลี่ยนสถานะจากรัฐวิสาหกิจประเภทองค์การของรัฐตามที่มีกฎหมายจัดตั้ง ทั้งนี้ เฉพาะใบกำกับภาษีที่ได้ออกในช่วงระยะเวลาไม่เกิน 1 ปีนับแต่วันที่จดทะเบียนจัดตั้งเป็นบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด

 

เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม

ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่นำภาษีซื้อต้องห้ามมาหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มจะต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบกำกับภาษีรวมทั้งต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม ดังนี้
เบี้ยปรับจากการนำภาษีซื้อต้องห้าม! มาใช้คำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม มี 2 กรณี

  1. เบี้ยปรับ 1 เท่า
    - ไม่มีใบกำกับภาษี หรือไม่อาจแสดงใบกำกับภาษีได้
    - ใบกำกับภาษีมีข้อความไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญตามที่กฎหมายกำหนด
    - ภาษีซื้อที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
    - ภาษีซื้อที่เกิดจากรายจ่ายเพื่อการรับรองหรือเพื่อการอันมีลักษณะทำนองเดียวกัน
    - ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีที่ออกโดยผู้ไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษี
    - ภาษีซื้อตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42)
    หากผู้ประกอบการจดทะเบียนได้นำภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีข้างต้นไปคำนวณหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม และได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มต่อกรมสรรพากรแล้ว ถือว่าผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ยื่นแบบแสดงรายการไว้ไม่ถูกต้อง หรือมีข้อผิดพลาดอันเป็นเหตุให้คำนวณภาษีซื้อในเดือนภาษีที่แสดงไว้คลาดเคลื่อนไป ให้เสียเบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่าของจำนวนภาษีซื้อที่แสดงไว้เกินไป ตามมาตรา 89(4) แห่งประมวลรัษฎากร
  2. เบี้ยปรับ 2 เท่า
    กรณีนำใบกำกับภาษีปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนมาใช้ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม
    หมายเหตุ :
    • (1) ใบกำกับภาษีที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า บุคคลใดเป็นผู้ออกใบกำกับภาษีให้ถือว่าเป็นใบกำกับภาษีปลอม
    • (2) ผู้ประกอบการที่นำใบกำกับภาษีปลอมมาใช้ในการเครดิตภาษี นอกจากต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มแล้ว หากเจตนานำใบกำกับภาษีปลอม หรือใบกำกับภาษีที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายมาใช้ในการเครดิตภาษีต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือนถึง 7 ปี และปรับตั้งแต่ง 2,000 บาท
      เงินเพิ่มอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน นับเมื่อพ้นกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ทั้งนี้ เงินเพิ่มที่คำนวณได้ไม่ให้เกินจำนวนภาษีที่ต้องชำระหรือนำส่ง

 

การขอลดเบี้ยปรับ

ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่นำภาษีซื้อต้องห้ามมาใช้ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีต้องเสียเบี้ยปรับ 1 เท่า เบี้ยปรับ 1 เท่าที่ต้องเสียสามารถขอลดลงได้ ถ้าหากผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) เพิ่มเติมในระยะเวลาที่กรมสรรพากรกำหนด โดยไม่ได้ถูกเจ้าพนักงานสรรพากรตรวจพบและได้บันทึกความผิดไว้ในหนังสือหรือบันทึกข้อความโดยเจ้าพนักงานสรรพากร สรุปได้ดังนี้

  1. ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 15 วันนับแต่วันพ้นกำหนดเวลาชำระภาษีมูลค่าเพิ่มให้เสียเบี้ยปรับร้อยละ 2ของเบี้ยปรับ
  2. ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 15 วัน แต่ไม่เกิน 30 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลาชำระภาษีมูลค่าเพิ่มให้เสียเบี้ยปรับร้อยละ 5 ของเบี้ยปรับ
  3. ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 30 วัน แต่ไม่เกิน 60 วันนับแต่วันพ้นกำหนดเวลาชำระภาษีมูลค่าเพิ่มให้เสียเบี้ยปรับร้อยละ 10 ของเบี้ยปรับ
  4. ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มภายหลัง 60 วันนับแต่วันพ้นกำหนดเวลาชำระภาษีมูลค่าเพิ่มให้เสียเบี้ยปรับร้อยละ 20 ของเบี้ยปรับ

หมายเหตุ :เบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดจากการนำใบกำกับภาษีปลอมมาใช้ไม่สามารถขอลดเบี้ยปรับได้

 

ภาษีซื้อต้องห้ามกับรายจ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคล

ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีซื้อต้องห้ามเป็นภาษีซื้อที่กฎหมายไม่ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มนำมาหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีหรือขอคืนภาษีซื้อ
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มสามารถนำภาษีต้องห้ามมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ดังนี้
•ภาษีซื้อต้องห้ามที่สามารถนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ

  1. ภาษีซื้อค่ารับรองที่มีลักษณะ ดังนี้
    • (1)ค่ารับรอง หรือค่าบริการไม่ว่าจะจ่ายเพื่อการรับรองหรือให้บริการแก่บุคคลใด ๆ และไม่ว่าจะอำนวยประโยชน์แก่กิจการหรือไม่ก็ตาม เช่น ค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าเครื่องดื่ม ค่ามหรสพ ค่าใช้จ่ายเพื่อการกีฬา และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ทำนองเดียวกัน
    • (2)ค่าสิ่งของ หรือประโยชน์อื่นใดที่ให้แก่บุคคลซึ่งได้รับการรับรองหรือรับบริการหรือที่ให้บุคคลอื่น
  2. ภาษีซื้อต้องห้ามตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42) ภาษีซื้อต้องห้ามตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรที่สามารถนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล มีดังนี้
    • (1)ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อ เช่าซื้อ เช่า หรือรับโอนรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน และภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อสินค้า หรือการรับบริการที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต

    กรณีดังกล่าวไม่ให้ใช้บังคับสำหรับการขายรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คนตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต และการให้บริการเช่ารถยนต์ดังกล่าวของตนเองโดยตรง และการให้บริการรับประกันวินาศภัยสำหรับรถยนต์ ดังกล่าว
    หมายเหตุ :

    “รถยนต์นั่ง” คือ รถเก๋งหรือรถยนต์ที่ออกแบบเพื่อใช้สำหรับนั่งเป็นปกติวิสัย และให้หมายความรวมถึงรถยนต์ในลักษณะทำนองเดียวกัน เช่น รถยนต์ที่มีหลังคาติดต่อเป็นเนื้อเดียวกันในลักษณะถาวรด้านข้าง หรือด้านหลังคนขับมีประตูหรือหน้าต่างและมีที่นั่ง ทั้งนี้ไม่ว่าจะมีที่นั่งเท่าใด
    “รถยนต์โดยสาร” คือ รถตู้หรือรถยนต์ที่ออกแบบเพื่อใช้ขนส่งคนโดยสารจำนวนมากรวมทั้งรถยนต์ในลักษณะทำนองเดียวกัน

    • (2)ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีอย่างย่อ
    • (3)ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อทรัพย์สินเพื่อใช้ในกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือภาษีซื้อที่เกิดจากรายจ่ายของกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
    • (4)ภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้างอาคารหรืออสังหาริมทรัพย์อื่นเพื่อนำมาใช้ในกิจการของตนเอง ซึ่งเป็นกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มต่อมาผู้ประกอบการได้ขายหรือให้เช่าอาคารหรืออสังหาริมทรัพย์นั้น หรือนำไปใช้ในกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 3 ปีนับแต่เดือนภาษีเดือนภาษีที่ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์
    • (5)ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งมีรายการในใบกำกับภาษีไม่ได้พิมพ์ หรือไม่ได้จัดทำขึ้นด้วยคอมพิวเตอร์ในกรณีจัดทำใบกำกับภาษีด้วยคอมพิวเตอร์ทั้งฉบับ
    • (6)ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีแบบเต็มตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งมีข้อความอื่นที่อธิบดีกำหนดในใบกำกับภาษีที่ไม่ได้จักทำขึ้นด้วยวิธีการตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
    • (7)ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งมีรายการในใบกำกับภาษีเป็นสำเนา (Copy) แต่ไม่รวมถึงใบกำกับภาษีที่จัดทำรวมกับเอกสารทางการค้าอื่นซึ่งมีจำนวนหลายฉบับ และใบกำกับภาษีมีรายการในใบกำกับภาษีเป็นสำเนามีข้อความว่า “เอกสารออกเป็นชุด” ปรากฏอยู่ด้วย
    • (8)ภาษีซื้อส่วนที่เฉลี่ยเป็นของกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งได้คำนวณตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
    • (9)ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อสินค้าหรือรับบริการ ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มนำไปใช้หรือจะใช้ในการประกอบกิจการทั้งประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มใช้สิทธิเลือกไม่นำภาษีซื้อทั้งหมดไปหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มเนื่องจากกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มมีรายได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของรายได้ของกิจการทั้งหมด
    • (10)ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป ซึ่งรายการได้ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงเป็นภาษีซื้อต้องห้าม เว้นแต่รายการซึ่งได้ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงตามหลังเกณฑ์และวิธีที่อธิบดีกำหนด

    หมายเหตุ : การแก้ไขเปลี่ยนแปลงตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกำหนด

    1. การแก้ไขที่อยู่ของผู้ออกใบกำกับภาษี พร้อมกับลงลายมือชื่อผู้ออกใบกำกับภาษีกับการแก้ไข ทั้งนี้ เฉพาะใบกำกับที่ได้ออกในช่วงระยะเวลาไม่เกิน 1 ปีนับแต่วันที่ทางราชการได้ประกาศเปลี่ยนแปลงเลขที่บ้าน ชื่อถนน หมู่บ้าน ตำบลหรือแขวง อำเภอหรือเขต หรือจังหวัด หรือได้ทำการแบ่งเขตถนน หมู่บ้าน ตำบลหรือแขวง อำเภอหรือเขต หรือจังหวัดใหม่
    2. การแก้ไขที่อยู่ของผู้ออกใบกำกับภาษีด้วยวิธีการประทับตรายางที่อยู่ที่ถูกต้องเพิ่มเติม ทั้งนี้ เฉพาะใบกำกับภาษีที่ได้ออกในช่วงระยะเวลาไม่เกิน 1 ปีนับแต่วันที่ทางราชการได้ประกาศเปลี่ยนแปลงเลขที่บ้าน ชื่อถนน หมู่บ้าน ตำบลหรือแขวง อำเภอหรือเขต หรือจังหวัด หรือได้ทำการแบ่งเขตถนน หมู่บ้าน ตำบลหรือแขวง อำเภอหรือเขต หรือจังหวัดใหม่
  • (11)ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อ เช่าซื้อ หรือรับโอนรถยนต์ที่ไม่ใช่รถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต เพื่อใช้หรือจะใช้ในกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และต่อมาภายใน 3 ปีนับแต่เดือนภาษีที่ได้รถยนต์ไว้ในครอบครอง ได้มีการดัดแปลงรถยนต์ดังกล่าวเป็นรถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต
    กรณีดังกล่าวไม่ให้ใช้บังคับสำหรับการขายรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต และการให้บริการเช่ารถยนต์ดังกล่าวของตนเองโดยตรง
  • (12)ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีเต็มรูป ซึ่งมีราย ชื่อ ที่อยู่ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรตามมาตรา 86/4 (2) แห่งประมวลรัษฎากร ไม่ได้พิมพ์ขึ้น หรือไม่ได้จัดทำขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ในกรณีจัดทำใบกำกับภาษีขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ทั้งฉบับเป็นภาษีซื้อต้องห้าม
    กรณีดังกล่าวไม่ให้ใช้ข้อบังคับสำหรับใบกำกับภาษีที่ออกโดยผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งเป็นบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่ได้เปลี่ยนสถานะจากรัฐวิสาหกิจประเภทองค์การของรัฐตามที่กฎหมายจัดตั้ง ทั้งนี้ เฉพาะใบกำกับภาษีที่ได้ออกในช่วงระยะเวลาไม่เกิน 1 ปีนับแต่วันที่จดทะเบียนจัดตั้งเป็นบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด

 

ภาษีต้องห้ามที่ไม่ให้นำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ

  1. ไม่มีใบกำกับภาษี ใบกำกับภาษีสูญหาย หรือไม่อาจแสดงใบกำกับภาษีได้ว่ามีการชำระภาษี
  2. ใบกำกับภาษีมีข้อความไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ
  3. ภาษีซื้อที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการของผู้ประกอบการ
  4. ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีที่ออกโดยผู้ไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษี

 

สถานที่ติดต่อ

บริษัท นารา การบัญชี จำกัด
เลขที่ 4/1 ซอยลาดพร้าว 52 ถนนลาดพร้าว แขวงวังทองหลาง เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310

โทร 080 173 2000 ; 080 174 2000
โทร 080 286 2000 ; 080 287 2000
โทร 02 933 5511 ; 02 933 5512

อีเมล์: info@53ac.com
และสำเนาอีเมล์ ถึง (CC) : 53ac.com@gmail.com

QRlogo

เพิ่ม นาราการบัญชี เป็นเพื่อน @nara53

 line-logo

contactt

 
 

บริการบัญชี จัดทำงบรายเดือน บัญชีรายเดือน วางระบบบัญชี ที่ปรึกษาด้านบัญชี บริการภาษีอากร ภาษีรายเดือน ภาษีรายปี ที่ปรึกษาภาษีอากร บริการตรวจสอบบัญชี ตรวจสอบพิเศษ ตรวจสอบพิเศษ(ตามความต้องการหรือข้อกำหนดของบริษัทแม่) เปิดบริษัท เลิกบริษัท จดทะเบียนเลิกบริษัท เลิกห้างหัุ้นส่วน จดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วน และบริการอื่นๆ เกี่ยวกับบริษัท ห้างหุ้นส่วน จดทะเบียนบริษัท จดทะเบียนห้างหุ้นส่วน จดทะเบียนธุรกิจ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ขอหมายเลขผู้เสียภาษี คัดหนังสือรับรอง คั ดเอกสารบริษัท แปลหนังสือรับรอง แปลเอกสารบริษัท โนตารี่พับลิค รับรองเอกสาร ขอขอบคุณ ที่สนใจงานบริการเรา (นาราการบัญชี)

 
 

__________________________________________________________________________________________