>

BOI : บีโอไอ - สิทธิประโยชน์ หลักประกันและการคุ้มครองตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน

Home - เกี่ยวกับเรา : คัดหนังสือรับรอง : คัดงบการเงิน : คัดบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น : คัดบริคณห์สนธิ : เปลี่ยนแปลงแก้ไข บริษัท : คัดรับรองตราประทับ : คัดเอกสารต่อใบอนุญาตทำงาน:
จดทะเบียนบริษัท : เลิกบริษัท : งบเปล่า : แปลเอกสาร : รับรองเอกสาร-โนตารี่พับลิค : การตลาด-พันธมิตร : ที่อยู่จดทะเบียน : ปรึกษาคดีฟรี-รับว่าความ : นักบัญชีหางาน : รับสมัครงาน
Affidavit 300 Baht dormant co-regis 2200B notary 1000B.
15000B-close
000B-ch-regis 12000B-address 500B-translation job-acc
000B-accountant
เว็บบอร์ด ประกาศ คน หา งานบัญชี / งาน หา คนบัญชี / อะไร อะไร ก็ บัญชี
 

nara office

สำนักงาน กรุงเทพฯ

adv1 webboard
 

สิทธิประโยชน์ หลักประกันและการคุ้มครองตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน

ในการได้รับการส่งเสริมการลงทุนผู้ขอรับการส่งเสริมการลงทุน ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่ระบุในบัตรส่งเสริมการลงทุน โดยจะได้รับสิทธิประโยชน์ หลักประกันและการคุ้มครองซึ่งพอสรุปได้ดังนี้

สิทธิประโยชน์

สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร

 

  • ยกเว้น/ลดหย่อนอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักร

(มาตรา 28/29)

  • ลดหย่อนอากรขาเข้าสำหรับวัตถุดิบหรือวัสดุจำเป็น

(มาตรา 30)

  • ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคลและเงินปันผล

(มาตรา 31และ 34)

  • ลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลร้อยละ 50

(มาตรา 35(1))

  • ให้หักค่าขนส่ง ค่าไฟฟ้า และค่าน้ำประปา เป็นสองเท่า

(มาตรา 35(2))

  • ให้หักค่าติดตั้งหรือค่าก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกเพิ่มขึ้นร้อยละ 25

(มาตรา 35(3))

  • ยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบหรือวัสดุจำเป็น

(มาตรา 36)

 

 

 

  • อนุญาตให้นำคนต่างด้าวเข้ามาเพื่อศึกษาลู่ทางการลงทุน

(มาตรา 24)

  • อนุญาตให้นำช่างฝีมือ และผู้ชำนาญการเข้ามาทำงานในกิจการที่ได้รับการลงทุน

(มาตรา 25และ26)

  • อนุญาตให้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน

(มาตรา 27)

  • อนุญาตให้ส่งออกซึ่งเงินตราต่างประเทศ

(มาตรา 37)

 

หลักประกัน

 

  • รัฐจะไม่โอนกิจการของผู้ที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนมาเป็นของรัฐ

(มาตรา 43)

  • รัฐจะไม่ประกอบกิจการขึ้นใหม่แข่งขัน

(มาตรา 44)

  • รัฐจะไม่ผูกขาดการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกันกับผู้ที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน

(มาตรา 45)

  • รัฐจะไม่ควบคุมราคาผลิตภัณฑ์ของผู้ที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน

(มาตรา 46)

  • รัฐจะอนุญาตให้ส่งออกเสมอไป

(มาตรา 47)

  • รัฐบาลจะไม่อนุญาตให้ส่วนราชการ องค์การของรัฐบาล หรือรัฐวิสาหกิจ

นำผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกับที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนเข้ามาโดยได้รับยกเว้น  อากรขาเข้า

(มาตรา 48)

 

การคุ้มครอง(พิจารณาตามความเหมาะสม)

 

  • การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษขาเข้าสำหรับการนำเข้าผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกับที่ผลิตได้ในประเทศแต่ไม่เกินร้อยละ 50 ของราคารวมค่าประกันภัย และค่าขนส่งโดยใช้บังคับไม่เกินคราวละ 1 ปี

(มาตรา 49)

  • ในกรณีที่เห็นว่ามาตรา 49 ไม่เพียงพอสำหรับการให้ความคุ้มครองอาจเพิ่มมาตรการ ห้ามการนำเข้าผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกับที่ผลิตในประเทศ

(มาตรา 50)

  • ประธานกรรมการมีอำนาจสั่งช่วยเหลือ หากผู้ได้รับการส่งเสริมประสบปัญหาหรืออุปสรรคในการดำเนินกิจการ

(มาตรา 51)

  • ประธานกรรมการมีอำนาจสั่งแก้ไขกรณีที่โครงสร้างอัตรา หรือวิธีการจัดเก็บภาษีอากรค่าบริการหรือค่าธรรมเนียม เป็นอุปสรรคต่อกิจการของผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุน

(มาตรา 52)

นโยบายและหลักเกณฑ์การส่งเสริมการลงทุน

นโยบายส่งเสริมการลงทุน

เพื่อบรรเทาภาระด้านการคลังของรัฐบาล และเพื่อให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน และแนวโน้มในอนาคตคระกรรมการส่งเสริมการลงทุนจึงได้กำหนดนโยบายส่งเสริมการลงทุน ดังนี้

1. เพิ่มประสิทธิภาพและความคุ้มค่าในการใช้สิทธิและประโยชน์ภาษีอากร โดยให้สิทธิและประโยชน์แก่โครงการที่มีผลประโยชน์ต่อเศรษฐกิจอย่างแท้จริง ใช้หลักการบริหารและการจัดการองค์กรที่ดี (good governance) ในการให้สิทธิและประโยชน์ด้านภาษีอากรโดยกำหนดให้ผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ต้องรายงานผลการดำเนินงานของโครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน เพื่อให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้ตรวจสอบ ก่อนใช้สิทธิและประโยชน์ภาษีเงินได้นิติบุคคลในปีนั้นๆ
2. สนับสนุนให้อุตสาหกรรมพัฒนาระบบคุณภาพ และมาตรฐานการผลิตเพื่อแข่งขันในตลาดโลก โดยกำหนดให้ผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุนทุกรายที่มีโครงการลงทุนตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป (ไม่รวมค่าที่ดินหรือทุนหมุนเวียน) ต้องดำเนินการให้ได้รับใบรับรองระบบคุณภาพตามมาตรฐาน ISO 9000 หรือ ISO 14000 หรือมาตรฐานสากลอื่นที่เทียบเท่า
3.ปรับมาตรการส่งเสริมการลงทุนให้สอดคล้องกับข้อตกลงด้านการค้า และการลงทุนระหว่างประเทศโดยการยกเลิกเงื่อนไขการส่งออกและการใช้ชิ้นส่วนในประเทศ
4. สนับสนุนการลงทุนเป็นพิเศษในภูมิภาค หรือท้องถิ่นที่มีรายได้ต่ำ และมีสิ่งเอื้ออำนวยต่อการลงทุนน้อยโดยให้สิทธิและประโยชน์ด้านภาษีอากรสูงสุด
5. กำหนดเงื่อนไขเงินลงทุนขั้นต่ำของโครงการที่ได้รับการส่งเสริมเพียงไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน)
6. ให้ความสำคัญแก่กิจการเกษตรกรรมและผลิตผลจากการเกษตร กิจการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเทคโนโลยีและทรัพยากรมนุษย์กิจการสาธารณูปโภค สาธารณูปการและบริการพื้นฐาน กิจการป้องกันและรักษาสิ่งแวดล้อมและอุตสาหกรรมเป้าหมาย

หลักเกณฑ์และการอนุมัติโครงการ
ในการพิจารณาความเหมาะสมของโครงการที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุน คณะกรรมการมีแนวทางการพิจารณา ดังนี้

  1. พิจารณาอนุมัติโครงการที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนจะพิจารณาจากหลักเกณฑ์ ดังนี้
    1. จะต้องมีมูลค่าเพิ่มไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของรายได้ ยกเว้นการผลิตผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วนกิจการเกษตรกรรมและผลิตผลจากการเกษตร และโครงการที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนให้ความเห็นชอบเป็นกรณีพิเศษ
    2. มีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนจดทะเบียนไม่เกิน 3 ต่อ 1 สำหรับโครงการริเริ่ม ส่วนโครงการขยายจะพิจารณาตามความเหมาะสมเป็นรายๆไป
    3. ใช้กรรมวิธีการผลิตที่ทันสมัยและเครื่องจักรใหม่ ในกรณีที่ใช้เครื่องจักรเก่าจะต้องให้สถาบันที่เชื่อถือได้รับรองประสิทธิภาพ และคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนให้ความเห็นชอบเป็นกรณีพิเศษ
    4. มีระบบป้องกันสภาพแวดล้อมเป็นพิษที่เพียงพอ โครงการที่อาจจะก่อให้เกดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนจะพิจารณาเป็นพิเศษในเรื่องสถานที่ตั้งและวิธีการจัดการมลพิษ
    5. สำหรับโครงการที่มีเงินลงทุนมากกว่า 500 ล้านบาท (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน) จะต้องแนบรายงานศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการตามที่คณะกรรมการกำหนด
  2. สำหรับกิจการที่ได้รับสัมปทาน และกิจการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนจะใช้แนวทางการพิจารณาตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ.2541 และวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ.2547 ดังนี้
    1. โครงการลงทุนของรัฐวิสาหกิจตามพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2542 จะไม่อยู่ในข่ายที่จะได้รับการส่งเสริมโครงการที่ได้รับสัมปทานที่เอกชนดำเนินการ โดยจะต้องโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่รัฐ (Build Transfer Operate หรือ Build Operate Transfer) หน่วยงานของรัฐที่เป็นเจ้าของโครงการดังกล่าว ที่ประสงค์จะให้ผู้ได้รับสัมปทานได้รับสิทธิและประโยชน์ การส่งเสริมการลงทุนจะต้องเสนอโครงการ ให้คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนพิจารณาตั้งแต่เริ่มต้นโครงการ ก่อนออกประกาศเชิญชวนเอกชนเข้าร่วมประมูลและในขั้นการประมูลจะต้องมีประกาสระบุโดยชัดเจนว่า เอกชนจะได้รับสิทธิและประโยชน์ใดบ้าง ในหลักการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนจะไม่ให้การส่งเสริมกรณีเอกชนต้องจ่ายผลตอบแทน ให้แก่รัฐในการรับสัมปทานเว้นแต่เป็นผลตอบแทนที่สมเหตุสมผลกับการลงทุนที่รัฐใช้ในโครงการนั้น
    2. โครงการของรัฐที่ให้เอกชนลงทุน และเป็นเจ้าของ (Build Own Operate) รวมทั้งให้เอกชนเช่าหรือบริหารโดยจ่ายผลตอบแทนให้รัฐในลักษณะค่าเช่า คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนจะพิจารณาให้การส่งเสริมการลงทุนตามหลักเกณฑ์ปกติ
    3. การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ หากจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากรัฐควรพิจารณาตั้งงบประมาณที่เหมาะสมภายหลังจากการแปรรูปจากรัฐวิสาหกิจเป็นบริษัทจำกัดตามพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2542 แล้ว หากต้องการขยายงาน จะขอรับการส่งเสริมการลงทุนได้เฉพาะส่วนที่ลงทุนเพิ่ม โดยจะได้รับสิทธิและประโยชน์ตามหลักเกณฑ์ปกติ

หลักเกณฑ์การถือหุ้นของต่างชาติ
เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักลงทุนต่างชาติ ในการลงทุนอุตสาหกรรม คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนจะผ่อนคลายมาตรการจำกัดถือหุ้นโดยใช้แนวทางการพิจารณา ดังนี้

  1. โครงการลงทุนในกิจการเกษตรกรรม การเลี้ยงสัตว์ การประมง การสำรวจและการทำเหมืองแร่ และการให้บริการตามที่ปรากฏในบัญชีหนึ่งท้ายพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจคนต่างด้าว พ.ศ.2542 จะต้องมีผู้มีสัญชาติไทยถือหุ้นรวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ของทุนจดทะเบียน
  2. โครงการลงทุนในกิจการอุตสาหกรรม อนุญาตให้ต่างชาติถือหุ้นข้างมากหรือทั้งสิ้นได้ไม่ว่าตั้งในเขตใด
  3. เมื่อมีเหตุผลอันสมควร คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนอาจจำกัดสัดส่วนการถือหุ้นของต่างชาติ เป็นการเฉพาะสำหรับกิจการที่ให้การส่งเสริมการลงทุนบางประเภท

การแบ่งเขตการลงทุน

  1. คณะกรรมการได้แบ่งเขตการลงทุนออกเป็น 3 เขต ตามปัจจัยทางเศรษฐกิจโดยใช้รายได้และสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานของแต่ละจังหวัดเป็นเกณฑ์ ดังนี้
    1. ประกอบด้วย 6 จังหวัดในส่วนกลาง ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี  ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร
    2. ประกอบด้วย 12 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี นครนายก พระนครศรีอยุธยา ภูเก็ต ระยอง ราชบุรี สมุทรสงคราม สระบุรี สุพรรณบุรี และอ่างทอง
    3. ประกอบด้วย 59 จังหวัด แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 36 จังหวัด และ 23 จังหวัด รายได้ต่ำ ดังนี้
      • 36 จังหวัด ได้แก่ กระบี่ กำแพงเพชร ขอนแก่น จันทบุรี ชัยนาท ชุมพร เชียงราย เชียงใหม่ ตรัง ตราด ตาก นครราชสีมา นครศรีธรรมราช นครสวรรค์ ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี พังงา พัทลุง พิจิตร พิษณุโลก เพชรบุรี เพชรบูรณ์ มุกดาหาร แม่ฮ่องสอน ระนอง ลพบุรี ลำปาง ลำพูน เลย สงขลา สระแก้ว สิงห์บุรี สุโขทัย สุราษฎร์ธานี อุตรดิตถ์ และอุทัยธานี
      • 23 จังหวัด ได้แก่ กาฬสินธุ์ นครพนม นราธิวาส น่าน บุรีรัมย์ ปัตตานี พะเยา แพร่ มหาสารคาม ยโสธร ยะลา ร้อยเอ็ด ศรีสะเกศ สกลนคร สตูล สุรินทร์ หนองบัวลำภู ชัยภูมิ หนองคาย อุบลราชธานี อุดรธานี อำนาจเจริญ และบึงกาฬ
  2. ให้ทุกท้องที่ทุกจังหวัดในเขต 3 เป็นเขตส่งเสริมการลงทุน

หลักเกณฑ์การให้สิทธิและประโยชน์ด้านภาษีอากรตามการลงทุน

  • เขต 1 โครงการที่ตั้งสถานประกอบการ ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และ สมุทรสาคร
    1. ให้ได้รับลดหย่อนอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักรกึ่งหนึ่งเฉพาะเครื่องจักรที่มีอากรขาเข้าไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10
    2. ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นระยะเวลา 3 ปี สำหรับโครงการที่ตั้งสถานที่ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมหรือในเขตอุตสาหกรรมที่ได้รับการส่งเสริม ทั้งนี้ผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุนในโครงการที่มีขนาดการลงทุน ตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป(ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน)จะต้องดำเนินการให้ได้รับใบรับรองระบบคุณภาพตามมาตรฐาน ISO 9000 หรือ ISO 14000 หรือมาตรฐานสากลอื่นที่เทียบเท่าภายในระยะเวลา 2 ปีนับตั้งแต่วันเปิดดำเนินการ หากไม่สามารถดำเนินการได้ จะถูกเพิกถอนสิทธิและประโยชน์การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 1 ปี
    3. ให้ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับวัตถุดิบหรือวัสดุจำเป็น สำหรับส่วนที่ผลิตเพื่อการส่งออกเป็นระยะเวลา 1 ปี
  • เขต 2 โครงการที่ตั้งสถานประกอบการในจังหวัดกาญจนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี นครนายก พระนครศรีอยุธยา ภูเก็ต ระยอง ราชบุรี สมุทรสงคราม สระบุรี สุพรรณบุรี และอ่างทอง
    1. ให้ได้รับลดหย่อนอากรขาเข้า สำหรับเครื่องจักรกึ่งหนึ่งเฉพาะเครื่องจักรที่มีอากรขาเข้าไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 และ *ให้ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร หากตั้งสถานประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมหรือเขตอุตสาหกรรมที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน
    2. ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นระยะเวลา 3 ปี และ*เพิ่มเป็น 7 ปี หากตั้งสถานประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมหรือในเขตอุตสาหกรรมที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ทั้งนี้ ผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุนในโครงการที่มีขนาดการลงทุนตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป(ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน)จะต้องดำเนินการให้ได้รับใบรับรองระบบคุณภาพตามมาตรฐาน ISO 9000 หรือ ISO 14000 หรือมาตรฐานสากลอื่นที่เทียบเท่าภายในระยะเวลา 2 ปีนับตั้งแต่วันเปิดดำเนินการ หากไม่สามารถดำเนินการได้จะถูกเพิกถอนสิทธิและประโยชน์การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 1 ปี
    3. ให้ได้รับการยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับวัตถุดิบหรือวัสดุจำเป็น สำหรับส่วนที่ผลิตเพื่อการส่งออกเป็นระยะเวลา 1 ปี
  • เขต 3 ทุกโครงการที่ตั้งสถานประกอบการในท้องที่ 59 จังหวัด
    1. ให้ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักร
    2. ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นระยะเวลา 8 ปี ทั้งนี้ ผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุนในโครงการที่มีขนาดการลงทุนตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน) จะต้องดำเนินการให้ได้รับใบรับรองคุณภาพตามมาตรฐาน ISO 9000 หรือ ISO 14000 หรือมาตรฐานสากลอื่นที่เทียบเท่าภายในระยะเวลา 2 ปีนับตั้งแต่วันเปิดดำเนินการ หากไม่สามารถดำเนินการได้ จะถูกเพิกถอนสิทธิและผลประโยชน์การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 1 ปี
    3. .ให้ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับวัตถุดิบหรือวัสดุจำเป็น ส่วนที่ผลิตเพื่อการส่งออกเป็นระยะเวลา 5 ปี
    4. อนุญาตให้หักค่าติดตั้งหรือก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก จากำไรสุทธิร้อยละ 25 ของเงินทุน ในกิจการที่ได้รับการส่งเสริมโดยผู้ได้รับการส่งเสริม จะเลือกหักจากกำไรสุทธิของปีใดปีหนึ่ง หรือหลายปีก็ได้ภายใน 10 นับแต่วันที่มีรายได้จากกิจการที่ได้รับการส่งเสริม ทั้งนี้ นอกเหนือไปจากการหักค่าเสื่อมราคาตามปกติ
    5. เฉพาะโครงการที่ตั้งในสถานประกอบการ ในนิคมอุตสาหกรรมหรือเขตอุตสาหกรรม ที่ได้รับการส่งเสริมใน 36 จังหวัดได้แก่ กระบี่ กำแพงเพชร ขอนแก่น จันทบุรี ชัยนาท ชุมพร เชียงราย เชียงใหม่ ตรัง ตราด ตาก นครราชศรีมา นครศรีธรรมราช นครสวรรค์ ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี พังงา พัทลุง พิจิตร พิษณุโลก เพชรบุรี เพชรบูรณ์ มุกดาหาร แม่ฮ่องสอน ระนอง ลพบุรี ลำปาง ลำพูน เลย สงขลา สระแก้ว สิงห์บุรี สุโขทัย สุราษฎร์ธานี อุตรดิตถ์ และอุทัยธานี รวมถึงนิคมอุสาหกรรมแหลมฉบังและนิคมอุตสาหกรรมหรือเขตอุตสาหกรรมในจังหวัดระยอง ให้ได้รับสิทธิและประโยชน์ด้านภาษีอากรตามข้อ 3.1 ข้อ 3.2 ข้อ 3.3 ข้อ 3.4 และสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมดังนี้
      • ให้ได้รับลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิ ที่ได้จากการลงทุนในอัตราร้อยละ 50 ของอัตราปกติ เป็นระยะเวลา 5 ปีนับจากวันที่พบกำหนดระยะเวลา การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
      • อนุญาตให้หักค่าขนส่ง ค่าไฟฟ้า และค่าประปา 2 เท่าเป็นระยะเวลา 10 ปีนับแต่วันที่เริ่มมีรายได้จากกิจการที่ได้รับการส่งเสริม
      • * ให้ได้รับลดหย่อนอากรขาเข้าร้อยละ 75 ของอัตราปกติ สำหรับวัตถุดิบหรือวัสดุจำเป็น ที่เข้ามาผลิตเพื่อจำหน่าย ในประเทศเป็นระยะเวลา 5 ปี โดยคณะกรรมการจะอนุมัติให้คราวละ 1 ปี แต่วัตถุดิบหรือวัสดุจำเป็นนั้น ต้องไม่เป็นของที่ผลิตหรือมีกำเนิดในราชอาราจักร ซึ่งมีคุณภาพใกล้เคียงกันกับชนิดที่จะนำเข้ามาในราชอาณาจักร และมีปริมาณเพียงพอที่จะจัดหามาใช้ได้ ยกเว้นนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง และนิคมอุตสาหกรรมหรือเขตอุตสาหกรรมที่ได้รับการส่งเสริมในจังหวัดระยอง
    6. เฉพาะโครงการที่ตั้งสถานประกอบการในท้องที่ 23 จังหวัด ได้แก่ กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ นครพนม นราธิวาส น่าน บุรีรัมย์ ปัตตานี พะเยา แพร่ มหาสารคาม ยโสธร ยะลา ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ สกลนคร สตูล สุรินทร์ หนอง คาย หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ อุบลราชธานี อุดรธานี และบึงกาฬให้ได้รับสิทธิและประโยชน์ด้านภาษีอากร ตามข้อ 3.1 ข้อ 3.2 ข้อ 3.3 ข้อ 3.4 และสิทธิและประโยชน์เพิ่ม ดังนี้
      • ให้ได้รับลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับกำไรสุทธิที่ได้จากการลงทุนในอัตราร้อยละ 50 ของอัตราปกติเป็นระยะเวลา 5 ปี นับจากวันที่พ้นกำหนดระยะเวลาการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
      • อนุญาตให้หักค่าขนส่ง ค่าไฟฟ้าและค่าประปา 2 เท่าเป็นระยะเวลา 10 ปีนับแต่วันที่เริ่มมีรายได้จากกิจการที่ได้รับการส่งเสริม
      • * หากตั้งสถานประกอบการในนิคมอุสาหกรรม หรือเขตอุตสาหกรรม ที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนให้ได้รับลดหย่อนอากรขาเข้าร้อยละ 75 ของอัตราปกติสำหรับวัตถุดิบหรือวัสดุจำเป็นที่นำเข้ามาผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศเป็นระยะเวลา 5 ปีโดยคณะกรรมการจะอนุมัติให้คราวละ1 ปี แต่วัตถุดิบหรอวัสดุจำเป็นนั้นต้องไม่เป็นของที่ผลิตหรือมีกำเนิดในราชอาณาจักร ซึ่งมีคุณภาพใกล้เคียงกันกับ ชนิดที่จะนำเข้ามาในราชอาณาจักร และมีปริมาณเพียงพอที่จะจัดหามาใช้ได้

หลักเกณฑ์การส่งเสริมการโยกย้ายสถานประกอบการ

เพื่อสนับสนุนกากระจายอุตสาหกรรมไปสู่ภูมิภาค คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนจะให้การส่งเสริมการลงทุนแก่กิจการที่ดำเนินการอยู่แล้วในส่วนกลาง ไม่ว่าจะเป็นผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุนอยู่เดิมหรือไม่เคยได้รับการส่งเสริมการลงทุนก็ตาม หากโยกย้ายสถานประกอบการไปสู่ภูมิภาคโดยมีแนวทางการพิจารณา ดังนี้

  1. จะต้องย้ายสถานประกอบการจากเขต 1 ไปเขต 2 หรือจากเขต 1 หรือเขต 2 ไปเขต 3
  2. จะต้องย้ายสถานประกอบการเข้าไปตั้งในนิคมอุตสาหกรรมหรือเขตอุตสาหกรรมที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน
  3. จะต้องเป็นประเภทกิจการที่คณะกรรมการให้การส่งเสริมการลงทุน และมีขนาดการลงทุนตามที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกำหนด
  4. จะต้องปิดกิจการในที่ตั้งเดิม และพร้อมที่จะเปิดดำเนินการในที่ตั้งใหม่ ภายใน 2 ปีนับแต่วันที่ออกบัตรส่งเสริมการลงทุน
  5. *ให้ได้รับสิทธิและประโยชน์ที่ไม่เกี่ยวกับภาษีอากร และสิทธิประโยชน์ด้านภาษีอากร ตามหลักเกณฑ์ในที่ตั้งแห่งใหม่ ดังนี้
    1.  กรณีย้ายไปตั้งในนิคมอุตสาหกรรม หรือเขตอุตสาหกรรมที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนในเขต 2 ยกเว้นนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง และนิคมอุตสาหกรรมหรือเขตอุตสาหกรรมที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนในจังหวัดระยองให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 7 ปี ทั้งนี้ โครงการที่มีขนาดการลงทุนตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน) จะต้องดำเนินการให้ได้รับใบรับรองระบบคุณภาพตามมาตรฐาน ISO 9000 หรือ ISO 14000 หรือมาตรฐานสากลอื่นที่เทียบเท่าภายใน 2 ปีนับตั้งแต่วันเปิดดำเนินการในที่ตั้งแห่งใหม่ หากไม่สามารถดำเนินการได้ จะถูกเพิกถอนสิทธิแลผลประโยชน์การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 1 ปี
    2. กรณีย้ายเข้าไปในนิคมอุตสาหกรรม หรือ เขตอุตสาหกรรมที่ได้รับการส่งเสริมในเขต 3 รวมนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง และนิคมอุตสาหกรรมหรือเขตอุตสาหกรรมที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนในจังหวัดระยองให้ได้รับสิทธิและประโยชน์ ดังนี้
      1. ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นระยะเวลา 8 ปีทั้งนี้ผู้ได้รับการส่งเสริมในโครงการที่มีขนาดการลงทุนตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน) จะต้องดำเนินการให้ได้รับใบรับรองระบบคุณภาพตามมาตรฐาน ISO 9000 หรือ ISO 14000 หรือมาตรฐานสากลอื่นที่เทียบเท่าภายใน 2 ปีนับตั้งแต่วันเปิดดำเนินการในที่ตั้งแห่งใหม่ หากไม่สามารถดำเนินการได้ จะถูกเพิกถอนสิทธิและประโยชน์การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 1 ปี
      2. ให้ได้ลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับกำไรสุทธิที่ได้จากการลงทุนในอัตราร้อยละ 50 ของอัตราปกติเป็นระยะเวลา 5 ปี นับจากวันที่พ้นกำหนดระยะเวลาการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
      3. อนุญาตให้หักค่าขนส่ง ค่าไฟฟ้าและค่าประปา 2 เท่าเป็นระยะเวลา 10 ปี นับแต่วันที่มีรายได้
      4. อนุญาตให้หักค่าติดตั้ง หรือก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก จากกำไรสุทธิร้อยละ 25 ของเงินลงทุน ในกิจการที่รับการส่งเสริม โดยผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจะเลือกหักจากกำไรสุทธิของปีใดปีหนึ่งหรือหลายปีก็ได้ ภายใน 10 ปีนับตั้งแต่วันที่มีรายได้จากกิจการที่ได้รับการส่งเสริมทั้งนี้นอกเหนือจากการหักค่าเสื่อมราคาปกติ
    3. สำหรับกิจการที่มีการกำหนดไว้ในประเภทกิจการ ที่ให้การส่งเสริมว่าจะไม่ให้ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล จะไม่ให้ได้รับสิทธิและประโยชน์ การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีโยกย้ายสถานประกอบการด้วย
  6. การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ให้นับจากวันที่เริ่มมีรายได้จากการประกอบกิจการในที่ตั้งแห่งใหม่

สิทธิประโยชน์สำหรับกิจการที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ

  • ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักรทุกเขต
  • ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นระยะเวลา 8 ปี ทุกเขต
  • สิทธิและประโยชน์อื่นให้ได้รับตามเกณฑ์ที่ตั้งในแต่ละเขต

สิทธิประโยชน์สำหรับกิจการที่ให้ความสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อประเทศเป็นพิเศษ ให้ได้รับสิทธิประโยชน์ตามกิจการที่ให้ความสำคัญและเป็นประโยชน์เพิ่มเติม ดังนี้

  • ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยไม่กำหนดสัดส่วนการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล

แหล่งที่มาของข้อมูล

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
สำนักงานใหญ่: 555 ถ.วิภาวดีรังสิต
จตุจักร กรุงเทพฯ 10900
โทร: (+66) 2553 8111 โทรสาร: (+66) 2553 8222
เว็บไซต์: http://www.boi.go.th อีเมล์: head@boi.go.th

 

 

สถานที่ติดต่อ

บริษัท นารา การบัญชี จำกัด
เลขที่ 4/1 ซอยลาดพร้าว 52 ถนนลาดพร้าว แขวงวังทองหลาง เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310

โทร 080 173 2000 ; 080 174 2000
โทร 080 286 2000 ; 080 287 2000
โทร 02 933 5511 ; 02 933 5512

อีเมล์: info@53ac.com
และสำเนาอีเมล์ ถึง (CC) : 53ac.com@gmail.com

QRlogo

เพิ่ม นาราการบัญชี เป็นเพื่อน @nara53

 line-logo

contactt

 

เราบริการ: จดทะเบียนบริษัท จัดตั้งบริษัท ตรวจสอบบัญชี บริการบัญชี จัดทำงบรายเดือน บัญชีรายเดือน วางระบบบัญชี ที่ปรึกษาด้านบัญชี บริการภาษีอากร ภาษีรายเดือน ภาษีรายปี ที่ปรึกษาภาษีอากร บริการตรวจสอบบัญชี ตรวจสอบพิเศษ ตรวจสอบพิเศษ(ตามความต้องการหรือข้อกำหนดของบริษัทแม่) เปิดบริษัท เลิกบริษัท จดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วน จดทะเบียนธุรกิจ ขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจ ขอใบอนุญาตทำงาน จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ขอหมายเลขผู้เสียภาษี คัดหนังสือรับรอง คัดเอกสารบริษัท แปลหนังสือรับรอง แปลเอกสารบริษัท โนตารี่พับลิค รับรองเอกสาร จัดหานักบัญชี ฝึกอบรมพนักงานบัญชี

ขอขอบคุณ ที่สนใจงานบริการของเรา บริษัท นาราการบัญชี จำกัด

copyright

__________________________________________________________________________________________