บริษัท นารา การบัญชี จำกัด และ บริษัท กฎหมาย นารา จำกัด
บริษัท นารา การบัญชี จำกัด ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2544 ซึ่งกว่า 20 ปีที่ดำเนินธุรกิจ ได้ประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันให้บริการครบวงจรสำหรับบริษัท และห้างหุ้นส่วนจำกัด
บริษัท กฎหมาย นารา จำกัด ให้บริการ ด้านให้คำปรึกษา เรื่อง ที่ดิน ครอบคลุม การทำเอกสาร การคัดเอกสาร การจัดหาร และ เป็นตัวแทน ในการทำนิติกรรม ต่างๆ
งานบริการ
คัดสำเนา โฉนดที่ดิน , ถ่ายโฉนดที่ดิน , รับรองสำเนาโฉนดที่ดิน ตรวจสอบ โฉนดที่ดิน
คัดสำเนา น.ส.3 ก และ คัดสำเนา น.ส. 3
ตรวจกรรมสิทธิ์โฉนดที่ดินข้างเคียง
ถ่ายระวางแผนที่ ขอทราบที่ตั้งที่ดิน แผนที่ของที่ดิน (นส.3 และ นส.3ก)
ถ่ายสำเนา สัญญาซื้อขาย ที่ดิน
ถ่ายสำเนา คัดสำเนา สัญญาจำนอง
คัด ถ่าย สารบบ ที่ดิน ณ กรมที่ดิน
ถ่ายบันทึกข้อตกลงโอนสิทธิการรับจำนอง
ตรวจสอบราคาประเมิน
ตรวจสอบค่าธรรมเนียมการโอน ขอทราบ ค่าธรรมเนียมการโอนที่ดิน ค่าธรรมเนียมการโอนมรดก
หนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ห้องชุด
บริการเป็นตัวแทน โจทย์ จำเลย เพื่อคัดค้าน การประมูลที่ดิน
บริการเป็นตัวแทน เข้าเจรจา สำหรับ การพิพาทเรื่อง ที่ดิน โฉนด น.ส. 3ก , น.ส.3 และ สิทธิการครอบครองที่ดิน และ อื่นๆ
ค่าบริการ
คัดสำเนาโแนด หรืออื่นๆ รายการ แรก 3,000 บาท
บวกเพิ่ม ค่าบริการอย่างอื่น รายการละ 200 บาท (ถ้าทำในคราวเดียวกัน)
ตัวอย่าง การคำนวณค่าบริการ
กรณี ที่ท่าน ต้องการมากกว่า 1 รายการ คิดเพิ่ม รายการละ 200 บาท เช่น
ท่านต้องการให้เรา ดำเนินการ
1. คัดสำเนาโฉนด เลขที่....
2. คัดสำเนาโฉนด ที่ดินข้างเคียง (รายการนี้ ต้องรวม ค่าดูและคัดระวางด้วย จึงทราบโฉนดใกล้เคียง)
3. ขอทราบ ค่าธรรมเนียมการโอน ของที่ดินข้างเคียง
ดังนั้น ค่าบริการ = 3,000 + 300 + 300 + 300= 3,900 บาท (ไม่รวมค่าธรรมเนียม)
ค่าธรรมเนียม ณ กรมที่ดิน
ค่าธรรมเนียมการคัดโฉนด 20 บาท
ค่ารับรองเอกสารหน้าละ 5 บาท
ค่าถ่ายโฉนด (ถ่าย น.ส. 3 ก , น.ส. 3 ) หน้าละ 6 บาท
ระยะเวลาส่งงาน
ใช้เวลา 1 วันทำการ กรณีเร่งด่วน
ตัวอย่าง โฉนดที่ดิน
ตัวอย่าง น.ส. 3ก
ตัวอย่าง สัญญาซื้อขายที่ดิน ที่ทำที่กรมที่ดิน
ตัวอย่าง สัญญาจำนองที่ดิน ที่ทำที่กรมที่ดิน
QA - ถาม ตอบ เกี่ยวกับ การคัด สำเนาโฉนดที่ดิน สำเนา น.ส. 3 และ น.ส. 3
ถาม 1 - ไม่ทราบว่า จะคัดสำเนาโฉนดที่ดิน จากชื่อบุคคล ได้หรือไม่ เนื่องจากคุณพ่อเคยบอกไว้ก่อนเสียชีวิตว่า ได้ซื้อที่ดินไว้ ที่อำเภอ ถลาง ภูเก็ต แต่ไม่พบว่ามีการเก็บโฉนดไว้ และไม่ทราบสถานที่ของที่ดิน ดังกล่าว
ตอบ 1 - ไม่สามารถทำได้ครับ เพราะบ้านเรา (ทั่วประเทศครับ ไม่ใช่แค่ ภูเก็ต) ยังไม่ได้ทำทะเบียนที่ดิน ด้วยคอมพิวเตอร์แบบสมบูรณ์แบบ แม้ว่าจะมีการเริ่มจัดทำบ้างแล้ว อย่างไรเสีย แนะนำให้ไปค้นหาจากสำเนาโฉนดที่สำนักงานที่ดินถลางครับ แต่บอกไว้ก่อนนะครับ ว่า ไม่ง่ายเลย เพราะจะมีสำเนาโฉนดเป็นหลักหมื่นใบ
ถาม 2 - ในการคัด สำเนาโฉนดที่ดิน ต้องมีข้อมูลอะไรบ้างครับ หรือใช้หลักฐานอะไรบ้างครับ
ตอบ 2 - ในการคัด สำเนาโฉนดที่ดิน ที่สำนักงานที่ดิน อย่างน้อย ผู้ขอคัดต้องมีข้อมูลอย่างน้อย อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
- เลขที่โฉนดที่ดิน
- ระวาง ตำแหน่งที่ดิน
- เลขระวาง ที่ดิน
- ชื่อ สกุึล เจ้าของที่ดิน
อย่างไรเสีย แนะนำว่า ให้ใช้เลขที่โฉนด เป็นหลัก
ถาม 3 - อยากสอบถามราคาประเมินที่ดิน มีช่องทาง อะไร ทราบได้ง่ายๆ บ้างไหมครับ
ตอบ 3 - ราคาประเมินที่ดิน ทราบได้ง่ายๆ 3 วิธี
- ทางอินเทอร์เน็ต ในขณะนี้ประชาชนผู้สนใจสามารถที่จะจอทราบราคาประเมินที่ดิน ในพื้นที่ที่มีราคาประเมินที่ดินรายแปลงได้แล้วทางอินเทอร์เน็ต โดยเข้าเว็บไซต์ของกรมธนารักษ์ treasury.go.th เพียงแค่คุณมีข้อมูล หมายเลขที่โฉนด เลขที่ดิน หน้าสำรวจ เลขระวาง ตำบล เขต และจังหวัด ของแปลงที่ดินที่ต้องการทราบราคาประเมิน ซึ่งถือเป็นข้อมูลพื้นฐานในการคำนวณราคาประเมิน
- ทางโทรศัพท์ โดยท่านสามารถโทรสอบถามได้ที่สำนักงานประเมินราคาทรัพย์สิน กรมธนารักษ์ ซึ่งจะให้บริการตอบคำถามและสามารถสอบถามราคาประเมินทางโทรศัพท์หมายเลข 02 142 2465 ถึง 67 โดยผู้สอบถามจะต้องมีข้อมูลดังนี้
- ต้องการทราบราคาประเมิน
- ผู้สอบถามจะต้องมีข้อมูล
- ที่ดินรายแปลง
- หมายเลขโฉนดที่ดิน เลขที่ดิน หน้าสำรวจ ระวาง ตำบล เขตและจังหวัด
- โรงเรือนสิ่งปลูกสร้าง
- ประเภทสิ่งปลูกสร้าง พื้นที่อาคาร ปีที่ก่อสร้าง จังหวัดที่ตั้งอาคาร
- ห้องชุด
- ชื่ออาคารชุด ชั้นที่ตั้งของห้องชุด ทะเบียนอาคารชุด จังหวัดที่ตั้งอาคารชุด
- กรณีห้องชุดใน กทม. ขอทราบอำเภอ (เขต) ตำบล(แขวง) ด้วย
- การสอบถาม ที่สำนักประเมินราคาทรัพย์สิน ในกรณีราคาประเมินที่ดินรายบล็อก ซึ่งจะมีแผนที่ประกอบบัญชีราคาประเมิน หากท่านต้องการทราบราคาประเมิน ท่านจะต้องทราบตำแหน่งที่ตั้งที่ดินในแผนที่ ประกอบบัญชีกำหนดราคาประเมินทนทรัพย์บัญชีฯ ดังกล่าวด้วย ดดยท่านสามารถติดต่อขอดูได้ที่สำนักประเมินราคาทรัพย์สิน ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 อาคาร B ชั้น 6 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210 หรือสอบถามทาง email: pvb@treasury.go.th ก็ได้เช่นกัน
ความรู้อื่นๆ เกี่ยวกับโฉนดที่ดิน และการออกโฉนด
การขออนุญาตจัดสรรที่ดิน
การขออนุญาตจัดสรรที่ดินต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 โดยผู้ขออนุญาตทำการจัดสรรที่ดิน ยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาแห่งท้องที่ซึ่งที่ดินนั้นตั้งอยู่ พร้อมหลักฐาน และรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. โฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่มีชื่อผู้ขอใบอนุญาตทำการจัดสรรที่ดินเป็นผู้มีสิทธิในที่ดิน โดยที่ดินนั้นต้องปลอดจากบุริมสิทธิใด ๆ เว้นแต่บุริมสิทธิในมูลซื้อขายอสังหาริมทรัพย์
2. ในกรณีที่ดินที่ขอทำการจัดสรรที่ดินมีบุริมสิทธิในมูลซื้อขายอสังหาริมทรัพย์หรือภาระการจำนองให้แสดงบันทึกความยินยอม ให้ทำการจัดสรรที่ดินของผู้ทรงบุริมสิทธิ หรือผู้รับจำนอง และจำนวนเงินที่ผู้ทรงบุริมสิทธิ หรือผู้รับจำนองจะได้รับชำระหนี้จากที่ดินแปลงย่อยแต่ละแปลง และต้องระบุด้วยว่าที่ดินที่เป็นสาธารณูปโภคหรือที่ดินที่ใช้เพื่อบริการสาธารณะไม่ต้องรับภาระหนี้บุริมสิทธิหรือจำนองดังกล่าว
3. แผนผังแสดงจำนวนที่ดินแปลงย่อยที่จะขอจัดสรร และเนื้อที่โดยประมาณของที่ดินแต่ละแปลง
4. โครงการปรับปรุงที่ดินที่ขอจัดสรร การจัดให้มีสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะรวมทั้งการปรับปรุงอื่นตามควรแก่สภาพของท้องถิ่น โดยแสดงแผนผัง รายละเอียด และรายการก่อสร้างประมาณการค่าก่อสร้างและกำหนดเวลาที่จะนำให้แล้วเสร็จในกรณีที่ได้มีการปรับปรุงที่ดินที่ขอจัดสรรหรือได้จัดทำสาธารณูปโภค หรือบริการสาธารณะแล้วเสร็จทั้งหมด หรือบางส่วนก่อนขอทำการจัดสรรที่ดินให้แสดงแผนผังรายละเอียดและรายการก่อสร้างที่ได้จัดทำแล้ว เสร็จนั้นด้วย
5. แผนงาน โครงการ และระยะเวลาการบำรุงรักษาสาธารณูปโภค
6. วิธีการ จำหน่ายที่ดินจัดสรร และการชำระราคาหรือค่าตอบแทน
7. ภาระผูกผันต่าง ๆ ที่บุคคลอื่นมีส่วนได้เสียเกี่ยวกับที่ดินที่ขอจัดสรรนั้น
8. แบบสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินจัดสรร
9. ที่ตั้งสำนักงานของผู้ขอใบอนุญาตทำการจัดสรรที่ดิน
10. ชื่อธนาคาร หรือสถาบันการเงินที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางกำหนด ซึ่งจะเป็นผู้ค้ำประกันการจัดให้มีสาธารณูปโภค หรือบริการสาธารณะ หรือการปรับปรุงที่ดิน และค้ำประกันการบำรุงรักษาสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ
11. การพิจารณาแผนผัง โครงการ และวิธีการในการจัดสรรที่ดิน ให้คณะกรรมการกระทำให้แล้วเสร็จภายในสี่สิบห้าวัน นับแต่วันที่เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาได้รับคำขอ ถ้าคณะกรรมการไม่อาจพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาดังกล่าว โดยไม่มีเหตุผลอันสมควรให้ถือว่าคณะกรรมการได้ให้ความ