ค่าบริการปิดบริษัท ราคาถูก - ท่านยื่นเอง เราเตรียมเอกสารให้ ค่าบริการ 8,000 บาท ประกอบด้วย
- ค่าเตรียมเอกสารจดทะเบียนเลิก/ ปิดบริษัท 2,000 บาท
- ค่าเตรียเอกสารจดทะเบียน เสร็จชำระบัญชี 2,000 บาท
- จัดทำงบการเงิน พร้อมตรวจสอบ 4,000 บาท (สำหรับบริษัทที่ไม่ได้ดำเนินงาน - ถ้าเคยดำนเนินงานแต่หยุดกิจการ อาจเรียกราคาเพิ่ม)
หมายเหตุ -
- เราเตรียม --> ส่งไปรษณีย์ให้ท่าน -->ท่านยื่นเอง + เราวางแผน + เตรียมเอกสาร + ช่วยประสานงานทางโทรศัพท์
- บริการได้ทั่วประเทศ
ค่าบริการปิดบริษัท บริการครบทุกอย่าง แบ่งเป็น 2 กรณี
(ขอสงวนสิทธิ์ราคานี้ สำหรับบริษัท/หจก ไทย กรณีมีต่างชาติร่วมถือหุ้น หรือเป็นกรรมการ จะมีค่าบริการเพิ่มตามความเหมาะสม)
กรณีที่ 1: ค่าบริการปิดบริษัท-ห้างหุ้นส่วน สำหรับกิจการที่ไม่ได้ดำเนินงาน 15,000 บาท โดยมีเงื่อนไขเรียกเก็บเงิน ดังนี้
ค่าใช้จ่าย ปิดบริษัท / ค่าใช้จ่ายปิดห้างหุ้นส่วน - สำหรับงบเปล่า
บาท
ค่าบริการปิดบริษัท/ จดทะเบียนเลิกกิจการ ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และที่กรมสรรพากร
8,000
ค่าบริการจัดทำบัญชี ตรวจสอบบัญชี และจัดทำแบบภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับงบปิดบริษัท/ห้างหุ้นส่วน (เลิกกิจการ)
4,000
จัดทำแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม พร้อมนำยื่น ( 500 บาท ต่อเดือน) ต้องนำยื่นต่อโดยประมาณ 6 เดือน (ท่านสามารถดำเนินการด้วยตัวเองได้ และต้องนำยื่นจนกว่าได้รับจดหมายอนุมัติให้ออกจากระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม จากกรมสรรพากร)
???
ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายอื่นๆ สำหรับปิดบริษัท/ห้างหุ้นส่วน
- ค่าธรรมเนียม
- ประมาณการค่าโฆษณาในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น
- ประมาณการค่าไปรษณีย์สำหรับจดหมายเชิญประชุม
1,040
500
100
รวม ค่าใช้จ่ายในการเลิกกิจการ
+ กรณีบริษัท/ ห้างหุ้นส่วน อยู่่ ตจว. เราสามารถส่งพนักงานไปพบท่าน ได้พร้อมจดทะเบียน ณ จังหวัด ท่าน แต่อาจมีค่าเดินทางเพิ่ม
13,640
หมายเหตุ
- งบเปล่า หมายถึง งบที่ไม่ได้ดำเนินธุรกิจ และไม่ได้มีรายการยกมาอย่างเป็นสาระสำคัญ
- ขอสงวนสิทธิ์ราคานี้ สำหรับบริษัท/หจก ไทย กรณีมีต่างชาติร่วมถือหุ้น หรือเป็นกรรมการ จะเรียกเก็บเพิ่ม----- บาท (ตามความเหมาะสม)
กรณีที่ 2 ค่าบริการเลิกกิจการสำหรับบริษัททั่วไป (ดำเนินธุรกิจ) ขึ้นอยู่กับปริมาณเอกสาร สำหรับ ค่าบริการจดทะเบียนเลิกต่อกรมพัฒนาธุรกิจและการค้า และกรมสรรพากร เริ่มต้นที่ ราคา _______ บาท
ตัวอย่าง - นาราฯ ให้บริการ ปิดบริษัท/ จดทะเบียนเลิก ให้ลุกค้าเฉลี่ยปีละ 30 บริษัท
ขั้นตอนการเลิกกิจการ ประกอบด้วย
ระยะเวลา
ขั้นตอน
วันที่ 1
ขั้น 1 ดำเนินการลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น และส่งจดหมายเชิญประชุมไปยังผู้ถือหุ้น ขั้นตอนนี้ใช้เวลาประมาณ 14 วัน ตามกฎหมาย
วันที่ 15
ขั้น 2 ดำเนินการจดทะเบียนเลิกกิจการกับ กรมพัฒนาธุรกิจและการค้า
ในขั้นตอนนี้จะได้รับหนังสือรับรองจดทะเบียนเลิกกิจการวันที่ 16 – 28
ขั้น 3 ดำเนินการคืนทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (แบบ ภพ.20) ต่อกรมสรรพากร
ปกติต้องคืน ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและหลักฐานอื่นภายใน 15 วัน นับจากวันที่ได้จดทะเบียนเลิกต่อกรมพัฒนาธุรกิจและการค้า กรณีนำคืนไม่ทันกำหนดจะต้องจ่ายชำระจำนวน 2,000 บาท และหลังจากนี้บริษัทฯ ยังคงมีหน้าที่ต้องนำยื่นแบบ ภพ.30 (ภาษีมูลค่าเพิ่ม) ต่อไปจนกว่าจะได้รับจดหมายจากกรมสรรพากรเกี่ยวกับการอนุมัติให้ออกจากระบบภาษีมูลค่าเพิ่มวันที่ 28
ขั้น 4 งบการเงินของบริษัทสำหรับรอบบัญชีเลิกกิจการ จะต้องจัดทำและตรวจสอบบัญชีโดยผู้สอบบัญชี โดยที่ต้องได้รับการอนุมัติจากผู้ชำระบัญชี
วันที่ 1
ขั้น 5นำยื่นแบบภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภงด.50) โดยแนบงบการเงินที่ได้ถูกตรวจสอบบัญชีแล้ว ต่อกรมสรรพากรภายใน 150 วัน
วันที่ 1
ขั้น 6 จดทะเบียนเสร็จชำระบัญชี ที่กรมพัฒนาธุรกิจและการค้า
วันที่ 2
ขั้น 7 คืนบัตรผู้เสียภาษีที่กรมสรรพากร สำหรับบริษัทที่จดทะเบียนใหม่ ตั้งแต่ปี 2556 ก็จะไม่ต้องดำเนินการขั้นตอนนี้ เนื่องจากกรมสรรพากร ไม่ได้ออกบัตรผู้เสียภาษีให้แล้ว
ขั้น 8 เอกสารอนุมัติการออกนอกระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม
กรมสรรพากรจะออกเอกสารการอนุมัติให้ออกจากระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยปกติแล้วจะไม่เกิน 6 เดือน นับจากวันที่คืนใบทะเบียน (ขั้นที่ 3)
เพิ่มเติม - การเลิกบริษัทและชำระบัญชี
เมื่อมีความประสงค์จะเลิกบริษัท ปิดบริษัท ให้จัดประชุมผู้ถือหุ้นมีมติพิเศษให้เลิกบริษัทและตั้งผู้ชำระบัญชี เพื่อให้ทำหน้าที่ชำระสะสางทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัท จากนั้นผู้ชำระบัญชีมีหน้าที่ดำเนินการ ดังนี้
- จัดทำคำขอไปยื่นจดทะเบียนเลิกบริษัท ภายใน 14 วัน นับแต่วันที่เลิกกัน ถ้าไม่ดำเนินการ มีความผิด ปรับผู้ชำระบัญชี ไม่เกิน ห้าหมื่นบาท
และต้องลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ว่าบริษัทเลิกกัน พร้อมกับส่งจดหมายลงทะเบียนไปรษณีย์แจ้งไปยังเจ้าหนี้ทุกคน - ถ้าไม่ดำเนินการมีความผิด ปรับ ผู้ชำระบัญชี ไม่เกิน แปดหมื่นบาท
- จัดทำงบการเงินส่งให้ผู้สอบบัญชีตรวจสอบและรับรองความถูกต้องแล้วเรียกประชุมผู้ถือหุ้น เพื่อรับรองให้ผู้ชำระบัญชีเพื่อชำระบัญชีต่อไป หรือจะแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีใหม่และอนุมัติงบการเงิน
- ถ้าไม่ดำเนินการมีความผิด ปรับ ผู้ชำระบัญชี ไม่เกินห้าหมื่นบาท
- ถ้ามีการเปลี่ยนตัวผู้ชำระบัญชีใหม่ หรือแก้ไขอำนาจผู้ชำระบัญชี หรือแก้ไขที่ตั้งสำนักงานของผู้ชำระบัญชี ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงด้วย การจดทะเบียนเปลี่ยนตัวผู้ชำระบัญชีหรือแก้ไขอำนาจผู้ชำระบัญชี ต้องไปจดทะเบียนภายใน 14 วัน นับจากวันที่ได้มีการเปลี่ยนตัว หรือวันลงมติ
- ถ้าไม่ดำเนินการมีความผิด ปรับ ผู้ชำระบัญชี ไม่เกินห้าหมื่นบาท
- จัดทำรายงานการชำระบัญชียื่นต่อนายทะเบียน ทุก 3 เดือน เพื่อแสดงความเป็นไปของบัญชีที่ชำระอยู่ และรายงานนี้ต้องเปิดเผยให้ผู้ถือหุ้นและเจ้าหนี้ทราบด้วย
- ถ้าไม่ดำเนินการมีความผิด ปรับผู้ชำระบัญชี ไม่เกินห้าหมื่นบาท
- แต่ถ้าหากการชำระบัญชีใช้เวลานานกว่าหนึ่งปี ผู้ชำระบัญชีต้องเรียกประชุมผู้ถือหุ้นในเวลาทุกสิ้นปีนับแต่วันที่เริ่มทำการชำระชัญชีและ ทำรายงานต่อที่ประชุมว่าได้จัดการไปอย่างไร พร้อมทั้งบอกให้ทราบความเป็นไปของบัญชี
โดยละเอียด - ถ้าไม่เรียกประชุม ไม่ทำรายงาน หรือไม่แถลงมีความผิด ปรับผู้ชำระบัญชี ไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
- เมื่อผู้ชำระบัญชีได้ชำระบัญชีของบริษัทเสร็จสิ้นแล้ว ต้องทำรายงานสรุปการดำเนินการชำระบัญชีตั้งแต่ต้น แล้วเรียกประชุมใหญ่เพื่อเสนอรายงานและชี้แจงกิจการต่อที่ประชุม เมื่อที่ประชุมได้อนุมัติรายงานนั้นแล้วให้จัดทำคำขอไปยื่นจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ประชุมอนุมัติรายงาน ซึ่งเมื่อได้จดทะเบียนแล้วถือว่าการชำระบัญชีสิ้นสุดลงและบริษัทนั้นย่อมสิ้นสภาพความเป็นนิติบุคคล
- ถ้าไม่เรียกประชุม ไม่ทำรายงาน ไม่ชี้ี้แจงหรือละเลยไม่ไปจดทะเบียนมีความผิด ปรับผู้ชำระบัญชี ไม่เกิน ห้าหมื่นบาท
ตัวอย่าง หนังสือรับรองจดเลิกบริษัท (ขั้นตอนที่ 2)
ตัวอย่าง หนังสือรับรองจดเสร็จชำระบัญชี (ขั้นตอนที่ 6)
รายงานการชำระบัญชี (เสร็จชำระบัญชี)
รายงานการชำระบัญชี จะต้องยื่นเมื่อบริษัทไม่สามารถจดทะเบียนเสร็จชำระบัญชี ภายใน 3 เดือน และจะต้องแจ้งต่อไปทุก 3 เดือน หากว่าจดทะเบียนเสร็จชำระบัญชี ไม่แล้วเสร็จ
ตัวอย่าง รายงานการชำระบัญชี
รายงานการประชุมเลิกบริษัท / รายงานการประชุมปิดบริษัท
ตัวอย่าง รายงานการประชุมเลิกบริษัท
ค่าปรับต่างๆ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่เกี่ยวข้องกับการจดทะเบียนเลิกบริษัท
ค่าปรับ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เกี่ยวกับการจดทะเบียนเลิกบริษัท และชำระบัญชี | ถ้าไม่ดำเนินการ ปรับ |
ให้ผู้ชำระบัญชียื่นขอจดทะเบียนเป็นผู้ชำระบัญชีและขอจดทะเบียนเลิกบริษัท ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่มีมติตั้งผู้ชำระบัญชี | ปรับ ผู้ชำระบัญชี ไม่เกิน สองหมื่นบาท |
ในระหว่างชำระบัญชี ถ้ามีการเปลี่ยนตัวผู้ชำระบัญชี ต้องยื่นจดทะเบียนเปลี่ยนตัวผู้ชำระบัญชี ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ผู้ชำระบัญชีคนใหม่ได้รับแต่งตั้ง | ปรับ ผู้ชำระบัญชี ไม่เกิน สองหมื่นบาท |
ให้ผู้ชำระบัญชี จัดทำรายงานการชำระบัญชี พร้อมกับบัญชีรับจ่ายเสนอต่อนายทะเบียนทุกระยะ 3 เดือน นับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้งจนกว่าการชำระบัญชีจะเสร็จสิ้น และหากการชำระบัญชีไม่อาจทำให้เสร็จได้ภายใน 1 ปี นับแต่วันจดทะเบียนเลิกบริษัท ให้ผู้ชำระบัญชีเรียกประชุมผู้ถือหุ้นทุกรอบปีภายใน 4 เดือน นับแต่วันครบรอบปี เพื่อรายงานผลการชำระบัญชีที่ได้กระทำและจะกระทำต่อไปพร้อมด้วยงบดุล และบัญชีกำไรขาดทุนให้ผู้ถือหุ้นทราบ | ปรับ ผู้ชำระบัญชี ไม่เกินสองหมื่นบาท |
เมื่อชำระบัญชีเสร็จแล้ว ผู้ชำระบัญชีต้องจดทะเบียนเสร็จชำระบัญชีภายใน 14 วัน นับแต่วันประชุมอนุมัติรายงานการชำระบัญชี | ปรับ ผู้ชำระบัญชี ไม่เกินสองหมื่นบาท |
ให้ผู้ชำระบัญชีจัดทำรายงานผลการชำระบัญชีพร้อมบัญชีรายจ่ายให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นอนุมัติภายใน 4 เดือน นับแต่วันเสร็จการชำระบัญชี | ปรับ ผู้ชำระบัญชี ไม่เกินสองหมื่นบาท |
ปิดบริษัท จดทะเบียนเลิกบริษัท - ชำระบัญชี (ถาม ตอบ)
ถาม 1 - การยื่นงบเลิก ตามกฎหมาย ต้องครอบคลุมงบใดบ้าง
ตอบ 1 - งบดุล ณ วันเลิกกิจการต้องมีรายการย่อแสดงจำนวนสินทรัพย์และหนี้สินกับทั้งบัญชีกำไรและขาดทุนตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1255 ประกอบมาตรา 1196 แต่การจัดส่งงบดุล ณ วันเลิกกิจการเพื่อเป็นเอกสารประกอบรายการจดทะเบียนเสร็จการขำระบัญชีห้างหุ้นส่วนและบริษัท ตามระเบียบสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลางว่าด้วยการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนและบริษัท พ.ศ. 2538 ต้องส่งงบใดบ้าง ต้องพิจารณาจากรายงานการตรวจสอบ และแสดงความเห็นของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตที่ลงสำคัญว่าถูกต้องในงบดุลดังกล่าวประกอบด้วย
ถาม 2 - การเลิกกิจการของบริษัท-ห้างหุ้นส่วนขนาดกลางและขนาดย่อม ตามกฎหมาย (ทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท สินทรัพย์ไม่เกิน 30 ล้านบาท และรายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท) จะได้รับการยกเว้น เกี่ยวกับการการตรวจสอบงบการเงินโดยผู้สอบบัญชี หรือไม่
ตอบ 2 - ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1255 กำหนดให้ การเลิกห้างหุ้นส่วน - บริษัท ผู้ชำระบัญชีต้องจัดทำงบดุลขึ้นโดยเร็วที่สุด ส่งให้ผู้สอบบัญชีตรวจสอบลงสำคัญว่าถูกต้อง การที่ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนได้เลิกกันแล้ว ผู้ชำระบัญชีย่อมมีหน้าที่ปฎิบัติตามขึ้นตอนที่กำหนดไว้ในกฎหมายโดยไม่สามารถยกเว้นได้
สำหรับกฎกระทรวง ที่ยกเว้นไม่ต้องจัดให้มีการตรวจสอบบัญชีและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต พ.ศ. 2544 นั้น ให้ใช้บังคับสำหรับการจัดทำงบการเงินประจำปีเท่านั้น
ถาม 3 - รอบบัญชี สำหรับงบเลิกกิจการ สามารถเกิน 12 เดือน ได้หรือไม่
ตอบ 3 - รอบบัญชี สามารถเกิน 12 เดือนได้เฉพาะกรณีที่ บริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วน ได้ทำการเลิกแต่ผู้ชำระบัญชีไม่สามารรถยื่นภาษีได้ทันภายใน 150 วัน จากวันสุดท้ายของวันเลิกกิจการ และผู้ชำระบัญชีได้ทำการยื่นขอและต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร และต้องได้รับอนุมัติจากนายทะเบียนภายใน 30 วัน นับจากวันยื่นจดทะเบียนเลิกกิจการ โดยวิธีนี้ อธิบดีกรมสรรพากร อาจอนุมัติให้รอบบัญชียาวได้เกิน 12 เดือนอย่างไรก็ดี ถึงแม้ว่าทางกฎหมายมีช่องทางเปิดโอกาสให้ทำ แต่ในทางปฏิบัติ เป็นเรื่องยากที่จะทำไ้ด้ และ ทางนาราการบัญชี ก็ยังไม่เคยเห็นบริษัทใดใช้ช่องทางนี้ในการยืด รอบบัญชี เพราะต้องเสียทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายจำนวนมาก
ถาม 4 - บริษัทเรา ได้รับการส่งเสริม บีโอไอ (BOI Privilege) และเรากำลังจะปิดบริษัทในเร็วๆ นี้ ไม่ทราบว่ามีขั้นตอนการ ปิดบริษัท เหมือน การเลิกบริษัท ทั่วไป หรือไม่
ตอบ 4 - มันแตกต่างจากการปิดบริษัททั่วไป มากครับ โดยมีวิธีการปิดคร่าว ๆ ดังนี้
ขั้นตอน การปิดบริษัท ที่ได้รับการส่งเสริม บีโอไอ
- ดำเนินการ คืน บัตรส่งเสริมการลงทุน ก่อนจดทะเบียนเลิกบริษัท โดย
- ยื่นใบคำขอยกเลิกบัตรส่งเสริม บีโอไอ โดยแนบ สำเนาบัตรส่งเสริม
- บีโอไอ จะดำเนินการตรวจสอบการใช้สิทธิทางภาษี ของวัตถุดิบ เครื่องจักร / ภาษีเกี่ยวกับรายได้ หากมีปัญหาเรื่องการใช้สิทธิ ซึ่งส่งผลให้ต้องเสียภาษีเพิ่ม บริษัทจะต้องดำเนินการชำระภาษีต่างๆ ให้ครบด้วย
- เมื่อได้รับการตรวจสอบการใช้สิทธิ จาก บีโอไอ เรียบร้อยแล้ว บีโอไอ จะออกหนังสืออนุมัติให้ดำเนินการเลิกต่อไป
- บีโอไอ จะประกาศการยกเลิกนี้ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ
- หมายเหตุ เอกสารประกอบการยื่นคำขอ ยกเลิกบัตรส่งเสริม ไม่ได้มีแบบฟอร์มที่เป็นทางการ ผู้ขอจะต้องแจ้งความจำนงในการเลิก พร้อมให้เหตุผลที่เพียงพอ และชัดเจน
- ดำเนินการ จดทะเบียนเลิก / ยื่นงบเลิก / คืนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม / จดทะเบียนเสร็จชำระบัญชี (ตามขั้นตอน ที่ 1 - 7 ด้านบน)
- ดำเนินการ คืน ใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ที่ สำนักบริหารการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ภายใน 15 วัน จากวันจดทะเบียนเลิก โดย
- ใช้แบบฟอร์ม ต.1
- จดหมายแจ้งให้ทราบ
- ต้นฉบับ ใบอนุญาติประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
- หนังสือมอบอำนาจ (หากผู้มีอำนาจไม่ได้ทำด้วยตนเอง)
- สำเนา passport หรือ บัตรประชาชน ทั้งของ ผู้มอบและผู้รับมอบ
- ค่าธรรมเนียม 1,000 บาท
ถาม 5 - จะจดทะเบียนเลิกบริษัทที่จังหวัดน่าน ไม่ทราบว่า นาราการบัญชี มีให้บริการที่นี้ด้วยหรือเปล่าคะ แต่ยังไงก็รบกวนขอเบอร์ติดต่อ หน่วยงาน พาณิชย์จังหวัดที่นี้ พอให้ได้หรือเปล่าคะ
ตอบ 5 - นาราการบัญชี มีบริการจดทะเบียนเลิก ทั่วประเทศครับ แต่ ต่างจังหวัดต้องคิดค่าเดินทางครับ หรือ จะให้เราเตรียมเอกสารให้ แล้วท่านนำไปยื่นเองก็ได้ครับ เบื้องต้น ใคร่ขอแจ้งสถานที่ จดทะเบียนเลิกพร้อมเบอร์โทรติดต่อ เป็นดังนี้ครับ
น่าน – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดน่าน
โทร. 0 5477 4033 , 0 5477 4034 โทรสาร. 0 5477 4034
nan@dbd.go.th
สำหรับจังหวัดอื่นๆ คุณสามารถหา ข้อมูลได้จากเว็บไซต์ ของเราได้ครับ ที่ http://www.52accounting.com/ติดต่อกรม.html
ถาม 6 - บริษัท ปิดกิจการแล้ว อยากได้เอกสารเพื่อยืนยันว่าได้ปิดกิจการไปแล้ว จะไปขอคัดได้ที่ไหนคะ พอดีของเก่าหายไปค่ะ
ตอบ 6 - ในกรณีที่บริษัทได้จดทะเบียนเลิกและเสร็จการชำระบัญชีแล้ว ก็สามารถขอหนังสือรับรองการเลิกบริษัทได้ โดยสามารถยื่นขอได้ทั้งในส่วนกลาง กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (สนามบินน้ำ) และสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าเขต 1-6 และในต่างจังหวัด สามารถยื่นขอได้ที่สำนักงานพาณิชย์จังหวัด
ถาม 7 - บริษัทจดทะเบียนตั้งแต่ปี 2557 แต่พึ่งเคลียร์ย้อนหลังและ ได้ชำระบัญชีเสร็จ ตั้งแต่กลางเดือนมีนาคม 2559 แต่พึ่งได้รับหมายเรียกให้ไปพบ จึงงง ว่าต้องทำอย่างไรต่อคะ
ตอบ 7 - แนะนำให้ไปพบตำรวจตามหมายเรียก โดยนำหลักฐานการชำระค่าปรับ สำหรับปี 2557 ไปด้วย และ แน่นอนครับ ให้นำหลักฐานการจดเสร็จชำระบัญชีไปด้วย เพื่อจะได้จบคดีกับตำรวจครับ ตามขั้นตอนนี้ก็จบปัญหาแล้วครับ
ถาม 8 - ถ้าใช้บริการ ปิดบริษัท กับนาราการบัญชี ไม่ทราบ จะได้หลักฐานอะไรบ้างเพื่อเป็นการพิสูจน์ ว่า การปิดบริษัท เป็นไปโดยสมบูรณ์
ตอบ 8 - ในขอบเขตที่ นาราการบัญชี ให้บริการเรื่อง ปิดบริษัท นั้น จะเกี่ยวข้องกับ 2 หน่วยงาน คือ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และกรมสรรพากร ดังนั้น จะขอแยกแสดง ตามหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า / สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้า แต่ละจังหวัด หลักฐานที่ได้รับจะมี 2 ขั้นตอน
- ขั้นตอน การจดทะเบียนเลิก ซึ่งท่านจะได้หลักฐาน คือ หนังสือรับรองการจดทะเบียนเลิก
- ขั้นตอน การจดทะเบียนเสร็จชำระบัญชี ซึ่งท่านจะได้หลักฐาน คือ หนังสือรับรองการจดทะเบียนเสร็จชำระบัญชี
กรมสรรพากร
- ท่านจะได้ งบการเงิน สำหรับเลิกบริษัท/ ห้างหุันส่วน
- ท่านจะได้ ใบเสร็จรับเงินกรมสรรพากร พร้อมแบบ ภงด. 50 สำหรับงบเลิกบริษัท/ห้างหุ้นส่วน
- แบบฟอร์ม ต.1
- หนังสือแจ้ง
- ใบอนุญาตประกอบธุรกิจฉบับจริง
- หนังสือมอบอำนาจโดยมีรายละเอียดผู้มอบอำนาจ ผู้รับมอบอำนาจและกิจกรรมที่มอบให้มาดำเนินการ พร้อมกับติดอากร 10 บาท
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาพาสปอร์ต ของผู้มอบอำนาจ พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง
- เงินค่าธรรมเนียมจำนวน 1,000 บาท
- งบการเงิน ณ วันแจ้งเลิกต่อฝ่ายทะเบียนนิติบุคคลต่างด้าว
- แบบเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล พร้อมใบแนบ
- เลิกโดยผลของกฎหมาย
(1) กรณีข้อบังคับกำหนดเหตุเลิกไว้และเมื่อมีเหตุนั้นเกิดขึ้น
(2) ตั้งบริษัทโดยกำหนดระยะเวลาไว้และเมื่อสิ้นสุดระยะเวลานั้น
(3) ตั้งบริษัทเพื่อทำกิจการอย่างหนึ่งอย่างใด และเมื่อทำกิจการนั้นเสร็จแล้ว
(4) บริษัทล้มละลาย - โดยความประสงค์ของผู้ถือหุ้น
(1) ผู้ถือหุ้นลงมติพิเศษให้เลิกบริษัท : การเลิกและชำระบัญชีบริษัทจำกัดในกรณีที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้น
มีมติพิเศษให้เลิกบริษัทโดยดำเนินการจัดประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น เพื่อลงมติพิเศษให้เลิกบริษัทด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนหุ้นที่เข้าประชุม - เลิกโดยคำสั่งศาล เหตุที่ศาลจะสั่งเลิกบริษัท คือ
(1) ทำผิดในการยื่นรายงานประชุมตั้งบริษัท หรือทำผิดในการประชุมตั้งบริษัท
(2) บริษัทไม่เริ่มประกอบการภายใน 1 ปีนับแต่จดทะเบียน หรือหยุดทำการถึง 1 ปี
(3) การค้ามีแต่ขาดทุนและไม่มีหวังกลับฟื้นคืน
(4) จำนวนผู้ถือหุ้นเหลือไม่ถึง 3 คน
ถาม 9 - เป็นสำนักงานผู้แทน ของบริษัทนิติบุคคล สิงค์โปร คะ ไม่ทราบว่าต้องแจ้งอะไรไหมคะ
การเลิก สำนักงานผู้แทน ผู้จัดการสำนักงาน จะต้องดำเนินการ จะต้องแจ้งเลิกประกอบการ ฝ่ายทะเบียนนิติบุคคลต่างด้าว กระทรวงพาณิชย์ ภายใน 15 วัน นับแต่วันเลิกประกอบกิจการ
และ สำนักงานผู้แทน ยังคงมีหน้าที่ต้องจัดทำงบการเงิน ณ วันเลิกประกอบกิจการ เพื่อนำยื่นต่อกรมสรรพากร ภายใน 150 วัน นับจากวันที่ได้แจ้งฝ่ายทะเบียนนิติบุคคลต่างด้าว
ฝ่ายทะเบียนนิติบุคคลต่างด้าว เอกสารประกอบการแจ้งเลิกและค่าธรรมเนียม ดังนี้
กรมสรรพากร จะต้องยื่นเอกสารประกอบดังนี้
อ่านเพิ่มเติม เกี่ยวกับการเลิก สำนักงานผู้แทน คลิ๊กที่นี้
ถาม 10 - เหตุที่ให้เลิกบริษัท ตามกฎหมาย ไม่ทราบมีอะไรบ้าง
ตอบ 10 - บริษัทจะเลิกกันได้ด้วยเหตุดังต่อไปนี้
ถาม 11 - ผู้ชำระบัญชีของบริษัท ต้องเป็นกรรมการกลุ่มเดิม หรือไม่
ตอบ 11 - ในกรณีที่บริษัทไม่ได้กำหนดข้อบังคับในเรื่องการตั้งผู้ชำระบัญชีไว้ หากบริษัทประสงค์จะตั้งกรรมการบางคน หรือกรรมการคนใดคนหนึ่ง หรือบุคคลอื่นที่ไม่ใช่กรรมการของบริษัทเป็นผู้ชำระบัญชีจะต้องให้ที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นของบริษัท มีมติตั้งผู้ชำระบัญชี หรือกำหนดอำนาจของผู้ชำระบัญชี
ถาม 12 - การเลิกบริษัทกรณีใดบ้าง ที่ไม่ต้องแต่งตั้ง ผู้ชำระบัญชี
ตอบ 12 - การเลิกบริษัทด้วยสาเหตุเพราะการล้มละลาย ไม่ต้องแต่งตั้งผู้ชำระบัญชี แต่ถ้าเลิกกันด้วยสาเหตุอื่นๆ ต้องแต่งตั้ง เพื่อดำเนินการจดทะเบียนเลิกบริษัทและชำระบัญชีของบริษัทให้เสร็จสิ้นไป เช่น การรวบรวมทรัพย์สิน ชำระหนี้ ชดใช้เงินทดรองและค่าใช้จ่ายที่กรรมการได้ออกไปในการดำเนินกิจการค้าแทนบริษัท หากมีทรัพย์สินเหลือให้คืนทุนและเฉลี่ยเป็นกำไรในระหว่างผู้ถือหุ้น และจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี
ถาม 13 - ลูกหนี้ของบริษัทเรา ยังค้างชำระเงิน แต่พบว่ามีสถานะ จดทะเบียนเสร็จชำระบัญชี แล้ว ไม่ทราบว่า เรายังคงดำเนินการทางกฎหมาย ได้หรือไม่ เนื่องจากหนี้ดังกล่าว พึ่งเกิดได้ไม่นาน และไม่ทราบมาก่อนว่า บริษัทปิดเพื่อหนีหนี้ คะ
ตอบ 13 - เมื่อได้จดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีแล้ว การฟ้องคดีเรียกหนี้สินที่บริษัท กรรมการหรือผู้ชำระบัญชีเป็นหนี้อยู่นั้น จะต้องทำการฟ้องภายใน 2 ปี นับแต่วันเสร็จสิ้นการชำระบัญชี
ถาม 14 - พอดี กำลังเตรียมเอกสาร ประกอบการขอจดทะเบียนเลิก ไม่ทราบว่า ถ้าเขียนด้วยปากกาสีฟ้า ในแบบฟอร์ม สามารถนำไปใช้จดทะเบียน ได้ไหมคะ
ตอบ 14 - การกรอกใช้ปากกาไม่ได้ครับ การกรอกข้อความในแบบพิมพ์คำขอจดทะเบียน และเอกสารประกอบคำขอที่ใช้ในการจดทะเบียนให้พิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ดีด หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยผู้ขอจดทะเบียนต้องลงลายมือชื่อทุกหน้า
ถาม 15 - การลงลายมือชื่อ ของ ผู้ชำระบัญชี ต้องลงต่อหน้า ใครได้บ้าง หากผู้ชำระบัญชี ไม่สามารถไปยื่นและเซ็นต์เอกสาร ต่อหน้า นายทะเบียน
ตอบ 15 - ผู้ชำระบัญชี หรือผู้ขอจดทะเบียนจะต้องลงลายมือชื่อต่อหน้า
บุคคลดังต่อไปนี้
(1) นายทะเบียน โดยต้องแสดงบัตรประจำตัวต่อนายทะเบียนเพื่อตรวจสอบ
(2) พนักงานฝ่ายปกครอง ตำรวจชั้นผู้ใหญ่ซึ่งประจำอยู่ในท้องที่ที่ผู้ขอจดทะเบียนมีภูมิลำเนาอยู่
สามัญสมาชิกหรือสมาชิกวิสามัญแห่งเนติบัณฑิตยสภา ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพบัญชี หรือบุคคลที่กำหนดไว้ตามประกาศสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลาง เรื่อง กำหนดบุคคลที่ผู้ขอจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัดจะลงลายมือชื่อต่อหน้าได้ (ฉบับที่ 2) (ฉบับที่ 3) และ (ฉบับที่ 4)ถาม 16 - หนึ่งในผู้ชำระบัญชี (กรรมการ) เป็นชาวอเมริกัน ไม่สามารถเข้าประเทศไทยได้ จะส่งเอกสารให้เซ็นต์ที่ต่างประเทศได้ไหมคะ เข้าใจว่าต้องเซ็นต์ต่อหน้า...
ตอบ 16 - กรณีที่ผู้ลงลายมือชื่อ หรือผู้ชำระบัญชี ไม่ได้อยู่ในประเทศไทย ไม่ว่าเป็นคนไทยหรือต่างชาติ มีทางเลือก สำหรับการลงลายมือชื่อ ดังนี้ครับ
(1) เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของสถานทูตไทยหรือสถานกงสุลไทย หรือหัวหน้าสำนักงานสังกัดกระทรวง
พาณิชย์ซึ่งรับผิดชอบการดำเนินงาน ณ ประเทศนั้น หรือเจ้าหน้าที่ผู้ได้รับมอบหมายให้ทำการแทนบุคคลดังกล่าว หรือ
(2) บุคคลซึ่งสามารถให้การรับรองที่สมบูรณ์ตามแบบของกฎหมายแห่งประเทศนั้น
(3) บุคคลที่ควรเชื่อถือได้สองคนมาลงลายมือชื่อรับรองต่อหน้านายทะเบียนว่าเป็นลายมือชื่อผู้นั้นจริง
(4) ทนายความผู้ทำคำรับรอง เรียกอีกชื่อว่า โนตารี่พับลิค ก็ได้ครับถาม 17 - ห้างหุ้นส่วนจำกัด ของเรา ได้จดทะเบียนเลิกไว้แล้วเมื่อหลายปีก่อน แต่ยังชำระบัญชีไม่เสร็จ จึงไม่ได้ ชำระบัญชี ไม่ทราบว่า จะปล่อยเงียบไปได้ไหมครับ
ตอบ 17 - เมื่อผู้ชำระบัญชี ได้ชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วน/บริษัท เสร็จสิ้นแล้ว ต้องทำรายงานสรุปการดำเนินการชำระบัญชีตั้งแต่ต้น แล้วเรียกประชุมใหญ่เพื่อเสนอรายงานและชี้แจงต่อที่ประชุม เมื่อที่ประชุมได้อนุมัติรายงานนั้นแล้วให้จัดทำคำขอไปยื่นจดทะเบียนเสร็จชำระบัญชีภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ประชุมอนุมัติรายงานประชุม ซึ่งเมื่อได้จดทะเบียนแล้วถือว่าการชำระบัญชีสิ้นสุดลงและห้างหุ้นส่วน/บริษัทนั้นย่อมสิ้นสภาพความเป็นนิติบุคคล และถ้าไม่เรียกประชุม หรือละเลยไม่ไปจดทะเบียนมีความผิดปรับ ผู้ชำระบัญชี ไม่เกิน 50,000 บาท
ถาม 18 - ปัจจุบัน บริษัทอยู่ระหว่างชำระบัญชีคะ (จดทะเบียนเลิก และได้วันจดทะเบียนเลิกแล้ว) แต่เข้าใจว่าน่าจะใช้เวลาอีกนานหลายเดือน จึงจะเสร็จชำระบัญชี เนื่องจากอยู่ระหว่างเจรจากับเจ้าหนี้รายหนึ่ง ไม่ทราบว่าระหว่างนี้ต้องทำอะไร หรือแจ้งอะไรเพิ่มเติมหรือเปล่าคะ
ตอบ 18 - บริษัทต้องจัดทำรายงานการชำระบัญชียื่นต่อนายทะเบียนทุก 3 เดือน เพื่อแสดงความเป็นไปของบัญชีที่ชำระอยู่ และรายงานนี้ต้องเปิดเผยให้ผู้เป็นหุ้นส่วนและเจ้าหนี้สามารถดูได้โดยไม่เก็บค่าธรรมเนียม ถ้าไม่ดำเนินการมีความผิด ปรับ ผู้ชำระบัญชี ไม่เกิน 50,000 บาท
ถาม 19 - ผู้ชำระบัญชีที่ได้รับแต่งตั้งเดิม มีเหตุต้องย้ายไปทำงานต่างประเทศ ไม่ทราบว่าสามารถเปลี่ยนแปลงผู้ชำระบัญชี ได้หรือไม่
ตอบ 19 - บริษัทที่อยู่ระหว่างการชำระบัญชี สามารถเปลี่ยนแปลงผู้ชำระบัญชี หรือ แก้ไขอำนาจผู้ชำระบัญชี หรือแก้ไขที่ตั้งของสำนักงานของผู้ชำระบัญชี ได้ โดยต้องยื่นคำขอจดทะเบียนเปลี่ยนแปลง ภายใน 14 วัน นับจากวันที่ได้มีการเปลี่ยนตัว/เปลี่ยนแปลง หรือลงมติ ถ้าไม่ดำเนินการมีความผิด ปรับ ผู้ชำระบัญชี ไม่เกิน 50,000 บาท
ถาม 20 - งบการเงินสำหรับ ปิดห้างหุ้นส่วน ต้องตรวจสอบโดยผู้สอบบัญชี หรือเปล่าคะ
ตอบ 20 - งบการเงิน สำหรับปิดกิจการ ปิดบริษัท ปิดห้างหุ้นส่วน จำเป็นต้องให้ผู้สอบบัญชีตรวจสอบและรับรองความถูกต้อง แล้วเรียกประชุมผู้เป็นหุ้นส่วน/ ผู้ถือหุ้น เพื่อรับรอง แล้วให้ดำเนินการชำระบัญชี ต่อไป ถ้าไม่ดำเนินการจัดทำงบการเงิน หรือ ไม่จัดให้มีการประชุมเพื่อรับรองงบการเงิน ปรับ ผู้ชำระบัญชี ไม่เกิน 50,000 บาท
ถาม 21 - กำลังจะเลิกบริษัทคะ ต้องไปจดทะเบียนเลิกเมื่อไหร่คะ
ตอบ 21 - ตากกฎหมาย ท่านต้องจัดทำคำขอไปยื่นจดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วน/บริษัท ภายใน 14 วัน นับแต่วันที่เลิก หรือมีมติจากที่ประชุมให้เลิก ถ้าไม่ดำเนินการมีความผิด ปรับ ผู้ชำระบัญชี ไม่เกิน 50,000 บาท
ขอให้ข้อสังเกตุว่า การเลิกบริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วน นั้นมีความซับซ้อนเป็นอย่างมาก จึงต้องมีการวางแผนอย่างรัดกุม โดยผู้เชียวชาญ ส่วนใหญ่จะต้องครอบคลุม เนื่อหาดังต่อไปนี้
- หยุดกิจกรรมทุกอย่าง และยกเลิกสัญญาที่เกี่ยวข้องให้เรียบร้อย
- ชำระ หนี้สิน ภาระเรื่องภาษี นำยื่นให้ครบถ้วน
- ตรวจสอบรายการเอกสาร โดยเฉพาะแบบภาษีทุกประเภท ย้อนหลัง 2 ปี ว่าครบถ้วนหรือไม่ ถ้าไม่ควรไปแจ้งความหาย และดำเนินการคัดสำเนาให้เรียบร้อย
- ทรัพย์สิน ควรจัดจำหน่าย หรือแบ่งคืนให้ผู้ถือหุ้น ให้ได้มากที่สุด ก่อนมีมติให้เลิก หรือก่อนไปจดทะเบียนเลิก
- ใบอนุญาติ หรือ รายการจดทะเบียนต่่างๆ กับหน่วยงานราชการ และหน่วยงานอื่น ควร นำส่งคืน และแจ้งความประสงค์ขอเลิกให้เรียบร้อย
- หลังจาก จ่ายชำระหนี้สิน เจ้าหนี้ และได้รับเงินจากลูกหนี้และการขายทรัพย์สินแล้วเรียบร้อย ควรดำเนินการ ปิดบัญชีธนาคารให้หมด หรือเหลือไว้เฉพาะที่จำเป็นเท่านั้น
- ทรัพย์สิน หรือสินค้า ที่ไม่สามารถขายได้ ให้แจ้งสรรพากร หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำลาย ก่อนวันจดทะเบียนเลิก
- ควรจัดให้มี เจ้าหน้าที่ ที่มีความรู้เรื่องบัญชี และการเงิน สำหรับรายการ 2 ปีย้อนหลัง เพื่อให้ข้อมูลและอำนวยความสะดวก ต่อเจ้าหน้าที่รัฐ โดยเฉพาะ เจ้าหน้าที่สรรพากร เมื่อได้ถูกเรียกสอบ
- รายการเจ้าหนี้ หรือหนี้สินที่ค้างชำระ (ถ้ามี) ณ วันจดทะเบียนเลิก หรือ ปิดบริษัท ควรเตรียมหลักฐานการจ่ายชำระ หรือ ยกหนี้ให้ เพื่อพิสูจน์ต่อนายทะเบียน เมื่อจดทะเบียนในขั้นตอนการเสร็จชำระบัญชี
- ควรเตรียมสถานที่ และผู้รับผิดชอบในการเก็บเอกสาร หลังจากเสร็จชำระบัญชีแล้ว ไปอีก 5 ปี
ถาม 22 - ถ้าจดทะเบียนเสร็จชำระบัญชีแล้ว หรือ ปิดบริษัท เรียบร้อยแล้ว สามารถจดทะเบียนใหม่ โดยใช้ชื่อบริษัท เดิม ได้ไหม
ตอบ 22 - ทำได้ครับ ปกติเจ้าหน้าที่จะอนุญาตให้ใช้ได้ภายใน 30 วัน
ถาม 23 - บริษัทเช่าโรงงานอยู่ศรีราชา และถือเป็นสำนักงานใหญ่ของบริษัท โดยที่จะคืนโรงงานภายในเดือนหน้านี้และ จะแจ้งปิดบริษัททันที ไม่ทราบว่า สามารถทำได้ไหมคะ และเจ้าของเป็นต่างชาติ ก็จะย้ายกลับต่างประเทศทันทีคะ
ตอบ 23 - จดทะเบียนเลิกได้ครับ หากพร้อม (จัดการทรัพย์สินและหนี้สินเรียบร้อยแล้ว และมั่นใจเรื่องเอกสารว่ามีครบถ้วน) แต่เรื่องสถานที่โรงงาน ที่เดิมเป็นที่ตั้งของบริษัทนั้น อาจต้องให้ความสำคัญ เพราะต้องเป็นสถานที่ที่สามารถติดต่อ ผู้ชำระบัญชี ได้ จากคำถามเข้าใจว่า จะยังคงแต่งตั้งคนต่างชาติเป็น ผู้ชำระบัญชี อย่างนี้อาจยุ่งยากในอนาคตครับ ดังนั้น แนะนำว่าให้ แต่งตั้งคนไทยเพิ่มเป็นผู้ชำระบัญชี และใช้ที่ตั้งของผู้ชำระบัญชีคนไทย เป็นสถานที่ติดต่อ โดยจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงแก้ไข ที่กรมพัฒฯ ครับ
ถาม 24 - ต้องการ ปิดบริษัท ชั่วคราว ทำได้ไหมคะ
ตอบ 24 - ในประเทศไทย ไม่มีการปิดบริษัทชั่วคราว กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ซึ่งเป็นหน่วยงานหลัก ยังคงบังคับให้แจ้งข้อมูลธุรกิจ ผ่านแบบ สบช.3 และ สบช.3/1 (กรณีเป็นต่างชาติ) ทุกปี พร้อมแนบงบการเงินและบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นด้วย จนกว่าจะมีการสิ้นสภาพหรือจดทะเบียนเลิกบริษัท
อย่างไรเสีย ให้ข้อสังเกตุว่า สำหรับการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย นั้น บางหน่วยงาน ท่านอาจต้องแจ้งให้ทราบ เพื่อประโยชน์ต่อการตรวจสอบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น
กรมสรรพากร
เฉพาะกรณีที่ท่าน จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ท่านควร (ไม่ใช้บังคับ) ทำหนังสือแจ้งทีมตรวจสอบ ที่ดูแลบริษัทท่าน เพื่อให้เขาได้รู้สาเหตุว่าบริษัทท่านหยุดกิจการเพราะสาเหตุใด ถ้าไม่แจ้ง ท่านอาจได้รับหนังสือเชิญพบเพื่อให้คำชี้แจงเกี่ยวกับสถานะภาพของบริษัท หรือ กิจการท่าน อย่างไรก็ตามท่านยังคงต้องยื่นแบบ ภพ.30 ต่อไปทุกเดือน (เว็บเห็นว่า เหมือนไม่ได้หยุดชั่วคราวครับ เพราะบริษัทยังคงมีหน้าที่ยื่นแบบ ทุกเดือนเหมือนเดิม)
สำนักงานประกันสังคม
กรณีที่ท่านประสงค์หยุดชั่วคราว ท่านต้องแจ้งพนักงานออกและแจ้งด้วยแบบ "แบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงนายจ้าง" (สปส.6-15) แต่ท่านไม่สามารถแจ้งเลิกหรือออกจากประกันสังคมได้ จนกว่าจะปิดบริษัท ซึ่งท่านต้องแจ้งออกจากระบบประกันสังคมด้วย แบบเดียวกัน
สถานที่ติดต่อ
บริษัท นารา การบัญชี จำกัด
เลขที่ 4/1 ซอยลาดพร้าว 52 ถนนลาดพร้าว แขวงวังทองหลาง เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310
โทร 080 286 2000 ; 080 287 2000 หรือ
โทร 080 173 2000 ; 080 174 2000 หรือ
โทร 02 933 5511 ; 02 933 5512
แฟ็กซ์. 02 933 5890
อีเมล์: info@53ac.com
ขอบคุณ สำหรับการเข้าเยี่ยมชม เว็บไซต์ 52accounting.com ผม ในฐานะเว็บมาสเตอร์ ซึ่งรวบรวมเนื้อหา ที่ช่วยให้ท่านเข้าใจเรื่อง การปิดบริษัท จดทะเบียนเลิก และชำระบัญชี เราขอให้ความมั่นใจกับท่านว่า เราดำเนินการด้านจดทะเบียนเลิกกว่า 10 ปี และให้บริการปีละกว่า 30 กิจการ ทั้งเลิกบริษัทและ เลิกห้างหุ้นส่วน ท่านจึงมั่นใจ ในงานบริการ ของเราได้
สำหรับบริษัทต่ีางชาติหรือร่วมทุนกับต่างชาติ เรามีเจ้าหน้าที่ ต่างชาติปฎิบัติงานเต็มเวลา ท่านจึงมั่นใจได้ว่า ไม่มีปัญหาเรื่องการสื่อสารอย่างแน่นอน
เรามีผู้สอบบัญชี ประจำสำนักงาน และนักบัญชีเราเอง ก็เชี่ยวชาญ เรื่องวางแผนการเลิกกิจการ ปิดบริษัท ดังนั้น ท่านจึงมั่นใจว่า เราได้วางแผนการเลิกอย่างรัดกุม และเสร็จตามกำหนดได้อย่างแน่นอน
ขอแสดงความนับถือ และขอบพระคุณอย่างสูง
บริษัท นาราการบัญชี จำกัด
เพจนี้ ครอบคลุมเนื้อหา ต่างๆ ดังนี้
- ค่าใช้จ่าย ปิดบริษัท
- ขั้นตอนการปิดบริษัท / ปิดห้างหุ้นส่วน
- ปิดบริษัทชั่วคราว
- คำศัพท์ ภาษาอังกฤษ เกี่ยวกับการปิดบริษัท
- เลิกบริษัท - สรรพากร
- ตัวอย่างงบเลิกบริษัท / งบปิดบริษัท
- ตัวอย่าง หนังสือรับรอง ณ วันเลิกบริษัท
- ตัวอย่างหนังสือรับรอง ณ วันเสร็จชำระบัญชี
- รายงานประชุมเลิกบริษัท
- รายงานเสร็จชำระบัญชี
- ถาม ตอบ ปิดบริษัท / เลิกบริษัท / เสร็จชำระบัญชี
บทความ จากเว็บมาสเตอร์
ก่อนจดทะเบียนปิดบริษัท เลิกกิจการ ท่านต้องทำอะไรบ้าง
1. สอบทานรายการภาษี ย้อนหลัง 3 ปี ว่าชำระและมีหลักฐานครบหรือไม่
2. รายการในงบการเงิน ณ ปัจจุบัน (ก่อนจดเลิก) ว่ารายการใดต้อง ตัดบัญชี โอนออก เพื่อให้คงเหลือรายการในบัญชี น้อยที่สุด เท่าที่จำเป็น
- หนี้สินชำระให้ครบ / ยกหนี้ให้
- ทรัพย์สินจำหน่ายออก / โอนให้
- ธนาคาร ปิดให้หมด หรือเหลือน้อยที่สุด
- สินค้าคงเหลือ ขายตามราคาตลาด / ทำลาย (แจ้งสรรพากร ด้วย) ถ้าจดมูลค่าเพิ่มต้องเสียภาษี ณ วันเลิกเสมือนว่าขาย
- สัญญต่างๆ ควรจบให้หมด
- จดทะเบียนเลิกประกันสังคม และแจ้ง พนักงานออก
- กำไรสะสม ทำจ่ายปันผล และนำยื่นแบบ หัก ณ ที่จ่ายให้เรียบร้อย
- รายได้ ควรหยุดรับรู้ในนามบริษัทนี้
- ค่าใช้จ่าย ควรหยุดรับรู้ในนามบริษัทนี้
- ภาษีกลางปี ไม่ต้องยื่นในปีที่เลิก
- รายการดอกเบี้ยค้างรับ นำยื่น ภาษีธุรกิจเฉพาะ ในอัตรา 3.3% ให้เรียบร้อย
- รายการอื่น ในบัญชี ควรให้เหลือน้อยที่สุด เพราะทางสรรพากร จะใช้เวลาในการตรวจสอบนานครับ
3. แจ้งพนักงานออกจากประกันสังคม และจดทะเบียนเลิกประกันสังคม
หมายเหตุ การจ้างพนักงานออก ท่านต้องวางแผนให้รัดกุม ทั้งเรื่องการจ่ายชดเชยตามกฎหมาย และ การบอกกล่าว ควรเลือกเวลาที่เหมาะสม และให้พนักงานส่งมอบงานให้เรียบร้อย
4. กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน หรือ ภาระตามสัญญาต่างๆ ต้องทำการเปลี่ยน ออก ก่อนวันจดทะเบียนเลิก
ระยะเวลาในการดำเนินการ หากไม่ถูกเรียกตรวจสอบบัญชี จะใช้เวลา ประมาณ 1 เดือน แต่หากถูกเรียกตรวจสอบ จะขึ้นอยู่กับเจ้าหน้าที่ โดยปัจจุบันจะใช้เวลามากกว่า 6 เดือน เนื่องจากต้องรอตามลำดับก่อนหลัง บางรายอาจใช้เวลามากกว่า 2 ปี ก็มี
หากท่านมีข้อสงสัย เกี่ยวกับการวางแผน การเลิกบริษัท บริษัท นาราการบัญชี จำกัด ยินดีให้ข้อมูล
เราสามารถช่วยเหลือท่าน ในสิ่งต่อไปนี้
- จัดเตรียมเอกสารการเลิกจ้าง เลิกเช่าสำนักงาน และยกเลิกสัญญาอื่นๆ
- เป็นตัวกลาง ผู้ประสานงาน ระหว่างบริษัทท่านกับหน่วยงานอื่นๆ ทั้งภาครัฐ และเอกชน
- จัดการ และขนย้าย ทรัพย์สินของบริษัทท่าน
- ดูแลรักษา และจัดเก็บทรัพย์สิน ถ้าจำเป้นเราจะดำเนินการถ่ายรูป หรือส่งหลักฐานการมีอยู่ ให้เป็นระยะ
- ดำเนินการเป็น ตัวแทน จัดจำหน่าย จัดหาผู้รับซื้อ
- เอกสารสำคัญและหลักฐานประกอบการบันทึกบัญชี เราสามารถดำเนินการจัดเก็บ และรวมถึงทำลายเมื่อพ้นระยะเวลาที่กฎหมายให้จัดเก็บ
ปิดบริษัท เลิกกิจการ ด้วยตัวเอง
ท่าน จดทะเบียนปิดบริษัท (ปิดห้างหุ้นส่วน) ด้วยตัวเอง และต้องการ
ทนาย - ผู้สอบบัญชี รับรองการลงลายมือชื่อ เรายินดีรับรองให้ฟรี แต่ขอให้ท่านบริจาคเงินให้ มูลนิธิโรงพยาบาลเด็ก อย่างน้อย 1,000 บาท
(โอนเงินเสร็จ ส่งสลิป ให้เรา กรุณาระบุชื่อบริษัท ท่านเป็นผู้โอน - ติดต่อเราก่อนโอนบริจาค)
หมายเหตุ
ติดต่อเรา ก่อนโอนบริจาค 080 174 2000
บริจาคให้โรงพยาลเด็ก(ใส่ชื่อ บจก.ท่าน) คลิ๊กที่นี้
ข้อมูล จำนวนรายนิติบุคคล ที่จดทะเบียนเลิก กับ กรมพัฒนาธุรกจการค้า กระทรวงพาณิชย์
- กุมภาพันธ์ 2559 บริษัท-ห้างหุ้นส่วน จดทะเบียนเลิก ทั้งสิ้น ราย แยกเป็นจดทะเบียนเลิกในกรุงเทพ จำนวน ราย และจดทะเบียนเลิก ต่างจังหวัด จำนวน ราย
- กุมภาพันธ์ 2559 บริษัท-ห้างหุ้นส่วน จดทะเบียนเลิก ทั้งสิ้น ราย แยกเป็นจดทะเบียนเลิกในกรุงเทพ จำนวน ราย และจดทะเบียนเลิก ต่างจังหวัด จำนวน ราย
- กุมภาพันธ์ 2559 บริษัท-ห้างหุ้นส่วน จดทะเบียนเลิก ทั้งสิ้น ราย แยกเป็นจดทะเบียนเลิกในกรุงเทพ จำนวน ราย และจดทะเบียนเลิก ต่างจังหวัด จำนวน ราย
จดทะเบียนด้วยตัวเอง ติดต่อ
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
ส่วนกลาง
กรุงเทพฯ และนนทบุรี
ส่วนจดทะเบียนธุรกิจกลาง (สนามบินน้ำ) กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
ชั้น 4 ถนนนนทบุรี อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี11000
โทรศัพท์: 0 2547 5155 โทรสาร : 0 2547 5155
สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าเขต 1 (ปิ่นเกล้า) อาคารธนาลงกรณ์ ทาวเวอร์ ชั้น 14 ถนนบรมราชชนนี แขวงบางบำหรุ เขตบางพลัด กรุงเทพฯ 10700 โทรศัพท์: 0 2446 8160-1,67,69 โทรสาร : 0 2446 8191
สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าเขต 2 (พหลโยธิน) อาคารเลขที่ 78/13 ถนนพระราม 6 (สี่แยกประดิพัทธ์) เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์: 0 2618 3340-41,45 โทรสาร : 0 2618 3343-4
สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าเขต3 (รัชดาภิเษก) อาคารปรีชาคอมเพล็ก (ซี2) ชั้น 3 ถนนรัชดาภิเษก เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 (เยื้อง สน.สุทธิสาร) โทรศัพท์: 0 2276 7253,55,56,59,66 โทรสาร : 0 2276 7263
สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าเขต 4 (สุรวงศ์) อาคารวรวิทย์ ชั้น G เลขที่ 222 ถนนสุรวงศ์ แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500 โทรศัพท์: 0 2234 2951-3 โทรสาร : 0 2266 5852-3
สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าเขต5 (บางนา) อาคารแอมเพิลทาวเวอร์ ชั้น 4 ถนนบางนา-ตราด แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260 โทรศัพท์: 0 2348 3803-5 โทรสาร : 0 2348 3806
สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าเขต 6 (ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา) อาคารรัฐประศาสนภักดี(ชั้น 1) ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 โทรศัพท์: 0 2143 7921-2 โทรสาร : 0 2143 7924
ส่วนภูิมิภาค
ภาคเหนือ
เชียงใหม่ – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดเชียงใหม่
โทร. 0 5311 2736-7 โทรสาร. 0 5311 2738
chiangmai@dbd.go.th
เชียงราย – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดเชียงราย
โทร. 0 5374 4115-6 โทรสาร. 0 5374 4116
chiangrai@dbd.go.th
น่าน – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดน่าน
โทร. 0 5477 4033 , 0 5477 4034 โทรสาร. 0 5477 4034
nan@dbd.go.th
พะเยา – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดพะเยา
โทร. 0 5448 4370 โทรสาร. 0 5444 84327
payaow@dbd.go.th
พิจิตร – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดพิจิตร
โทร. 0 5665 2890 -1 , 0 5661 4930
โทรสาร. 0 5665 2891
phichit@dbd.go.th
พิษณุโลก – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดพิษณุโลก
โทร. 0 5521 6780 , 0 5521 6779
โทรสาร. 0 5521 6779
phitsanulok@dbd.go.th
เพชรบูรณ์ – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดเพชรบูรณ์
โทร. 0 5673 7042 ,0 5673 7044
โทรสาร. 0 5673 7043
phetchabun@dbd.go.th
แพร่ – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดแพร่
โทร. 0 5452 2051 , 0 5452 1616
โทรสาร. 0 5452 2052
phrae@dbd.go.th
แม่ฮ่องสอน – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดแม่ฮ่องสอน
โทร. 0 5361 2742 โทรสาร.0 5361 2743
maehongson@dbd.go.th
ลำปาง – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดลำปาง
โทร. 0 5432 3040 , 0 5423 0110 ,
0 5423 0132 โทรสาร. 0 5423 0110
lampang@dbd.go.th
ลำพูน – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดลำพูน
โทร. 0 5356 1483 โทรสาร. 0 5356 1483
อุตรดิตถ์ – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดอุตรดิตถ์
โทร. 0 5544 2787 , 0 5544 2572 โทรสาร. 0 5544 2572
uttaradit@dbd.go.th
ภาคกลาง
กำแพงเพชร – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดกำแพงเพชร
โทร. 0 5570 5171-3 โทรสาร. 0 5570 5172
kamphaengphet@dbd.go.th
ชัยนาท – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดชัยนาท
โทร. 0 5642 1315-6 โทรสาร. 0 5642 1315
chainat@dbd.go.th
นครปฐม – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดนครปฐม
โทร. 0 3425 0620 . 0 3424 3652 , 0 3425 0620
โทรสาร. 0 3421 3529
nakhonpathom@dbd.go.th
นครสวรรค์ – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดนครสวรรค์
โทร. 0 5622 4560 , 0 5622 3712-3
โทรสาร. 0 5622 3713 , 0 5622 4560
nakhonsawan@dbd.go.th
นนทบุรี – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดนนทบุรี
โทร. 0 2591 7882 , 0 2589 7958 โทรสาร. 0 2580 1071
nonthaburi@dbd.go.th
ปทุมธานี – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดปทุมธานี
โทร. 0 2567 0399 , 0 2567 0344 โทรสาร. 0 2567 3146
pathumthani@dbd.go.th
พระนครศรีอยุธยา – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
โทร. 0 3534 6227 โทรสาร. 0 3534 6229-30
ayuthaya@dbd.go.th
ลพบุรี – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดลพบุรี
โทร. 0 3642 1347 , 0 3641 3390
โทรสาร. 0 3641 3390 , 0 3641 3168
mailto:lopburi@dbd.go.th
สมุทรปราการ – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดสมุทรปราการ
โทร. 0 2701 9255 , 0 2701 9256 โทรสาร. 0 2701 9257
samutprakan@dbd.go.th
สมุทรสงคราม – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดสมุทรสงคราม
92/11 หมู่ 1 ถ.เอกชัย ต.ลาดใหญ่ อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม 75000
โทร. 0 3471 6746 , 0 3471 1228 โทรสาร. 0 3471 1228
samutsongkhram@dbd.go.th
สมุทรสาคร – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดสมุทรสาคร
โทร. 0 3442 3231 , 0 3442 7529
โทรสาร. 0 3442 3231 , 0 3482 0268
samutsakhon@dbd.go.th
สระบุรี – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดสระบุรี
โทร. 0 3622 0293-4 , 0 3622 3205 (ON-LINE) โทรสาร. 0 3622 0294
saraburi@dbd.go.th
สิงห์บุรี – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดสิงห์บุรี
โทร. 0 3653 9550 , 0 3653 9679 โทรสาร. 0 3653 9549
singburi@dbd.go.th
สุโขทัย – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดสุโขทัย
โทร. 0 5561 1742 , 0 5561 2822 , 0 5561 2558
โทรสาร. 0 5561 1801
sukhothai@dbd.go.th
สุพรรณบุรี – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดสุพรรณบุรี
โทร. 0 3554 5705 , 0 3555 5025 โทรสาร. 0 3554 5705
suphanburi@dbd.go.th
อ่างทอง – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดอ่างทอง
โทร. 0 3561 3521-2 โทรสาร. 0 3561 3521
angthong@dbd.go.th
อุทัยธานี – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดอุทัยธานี
โทร. 0 5652 4776 , 0 5651 3819
โทรสาร. 0 5652 4776 , 0 5651 2570
uthaithani@dbd.go.th
ภาคตะวันออก
จันทบุรี – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดจันทบุรี
โทร. 0 3930 1611 โทรสาร. 0 3931 1990
chanthaburi@dbd.go.th
ฉะเชิงเทรา – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดฉะเชิงเทรา
246/3 ถ.หน้าเมือง ต.หน้าเมือง อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา 24000
โทร. 0 3851 2223 , 0 3881 4436
โทรสาร. 0 3851 2223
chachoengsao@dbd.go.th
ชลบุรี – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดชลบุรี
43/16 ถ.โรงพยาบาลเก่า ต.บางปลาสร้อย อ.เมือง จ.ชลบุรี 20000
โทร. 0 3827 9169 , 0 3827 4812 โทรสาร. 0 3827 9521
chonburi@dbd.go.th
ชลบุรี(สาขาพัทยา) – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดชลบุรี สาขาพัทยา
33/32 ถนนสุขุมวิท หมู่ที่ 1 ต.นาเกลือ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี
โทร. 038-222106 , 038-222108, 038-2222109
ตราด – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดตราด
โทร. 0 3951 1530 โทรสาร. 0 3952 0704
trat@dbd.go.th
นครนายก – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดนครนายก
โทร. 0 3731 3181 , 0 3731 2262 โทรสาร. 0 3731 3181
nakhonnayok@dbd.go.th
ปราจีนบุรี – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดปราจีนบุรี
โทร. 0 3745 4070-1 , 0 3745 4071-2 โทรสาร. 0 3745 4070-1
prachinburi@dbd.go.th
สระแก้ว – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดสระแก้ว
โทร. 0 3742 5042 โทรสาร. 0 3742 5043
srakae@dbd.go.th
ระยอง – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดระยอง
โทร.0 3869 4053-4 โทรสาร. 0 3869 4054
rayong@dbd.go.th
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
กาฬสินธุ์ – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดกาฬสินธุ์
โทร. 0 4381 1435 โทรสาร. 0 4381 1431
kalasin@dbd.go.th
ขอนแก่น – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดขอนแก่น
โทร. 0 4324 1184 , 0 4324 1519
โทรสาร. 0 4324 1162 , 0 4324 3415
khonkaen@dbd.go.th
ชัยภูมิ – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดชัยภูมิ
โทร. 0 4483 0490-1 โทรสาร. 0 4483 0489
chaiyaphum@dbd.go.th
นครพนม – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดนครพนม
โทร. 0 4251 3957 , 0 4251 1887 , 0 4251 3888
โทรสาร. 0 4251 3888
nakhonphanom@dbd.go.th
นครราชสีมา – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดนครราขสีมา
โทร.0 4425 9806-7 โทรสาร. 0 4425 9806-7
korat@dbd.go.th
บึงกาฬ – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดบึงกาฬ
โทร.0 4249 1960 โทรสาร. 0 4249 1970
bungkan@dbd.go.th
บุรีรัมย์ – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดบุรีรัมย์
โทร. 0 4466 6539 โทรสาร. 0 4466 6540
buriram@dbd.go.th
มหาสารคาม – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดมหาสารคาม
โทร. 0 4372 5251 โทรสาร. 0 4374 0329
sarakham@dbd.go.th
มุกดาหาร – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดมุกดาหาร
โทร. 0 4263 2733 , 0 4261 4201 โทรสาร. 0 4263 2734
mukdaharn@dbd.go.th
ยโสธร – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดยโสธร
โทร. 0 4571 4069 โทรสาร. 0 4571 4069
yasothon@dbd.go.th
ร้อยเอ็ด – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดร้อยเอ็ด
โทร.0 4351 3736 , 0 4351 3738 , 0 4351 8089
โทรสาร. 0 4351 3736
roiet@dbd.go.th
เลย – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดเลย
โทร. 0 4281 2759 โทรสาร.0 4281 2719
loei@dbd.go.th
ศรีสะเกษ – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดศรีสะเกษ
โทร. 0 4561 4063 , 0 4562 3016 โทรสาร. 0 4561 4063
sisaket@dbd.go.th
สกลนคร – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดสกลนคร
โทร. 0 4271 5090 , 0 4271 6537 โทรสาร. 0 4271 5090
sakonnakhon@dbd.go.th
สุรินทร์ – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดสุรินทร์
โทร. 0 4451 2807 , 0 4451 8813 โทรสาร.0 4451 2807
surin@dbd.go.th
หนองคาย – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดหนองคาย
โทร. 0 4241 1528 , 0 4242 2813 โทรสาร. 0 4242 2813
nongkhai@dbd.go.th
หนองบัวลำภู – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดหนองบัวลำภู
โทร. 0 4231 2731 , 0 4231 2732 โทรสาร. 0 4231 2732
nongbualumpoo@dbd.go.th
อำนาจเจริญ – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดอำนาจเจริญ
โทร. 0 4545 1453 ,0 4551 2118 โทรสาร. 0 4545 1433
amnatcharoen@dbd.go.th
อุดรธานี – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดอุดรธานี
โทร. 0 4232 4969 , 0 4224 7324 โทรสาร. 0 4224 4192
udonthani@dbd.go.th
อุบลราชธานี – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดอุบลราชธานี
โทร.0 4524 6108
โทรสาร. 0 4504 6108 , 0 4526 2790
ubonratchatani@dbd.go.th
ภาคตะวันตก
กาญจนบุรี – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดกาญจนบุรี
สำนักงานพาณิชย์จังหวัดกาญจนบุรี
โทร. 0 3451 6856 , 0 3456 4297 , 0 3456 4301 , 0 3456 4314
โทรสาร. 0 3462 2125
kanchanaburi@dbd.go.th
เพชรบุรี – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดเพชรบุรี
โทร. 0 3240 0771 โทรสาร. 0 3240 0772
phetchaburi@dbd.go.th
ราชบุรี – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดราชบุรี
โทร. 0 3232 7586 โทรสาร. 0 3232 7586
ratchaburi@dbd.go.th
ประจวบคีรีขันธ์ – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
โทร. 0 3261 1528 , 0 3260 3495 โทรสาร. 0 3261 1528
prachuap@dbd.go.th
ประจวบคีรีขันธ์ (สาขาหัวหิน) – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าหัวหิน
โทร. 032-520669, 032-520670
ตาก – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดตาก
โทร. 0 5551 4582 โทรสาร. 0 5551 2546
tak@dbd.go.th
ตาก (สาขาแม่สอด) – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดตาก อำเภอแม่สอด
โทร. 055-532404, 055-532405
ภาคใต้
กระบี่ – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดกระบี่
โทร. 0 7563 2376 โทรสาร. 0 7563 2377
krabi@dbd.go.th
ชุมพร – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดชุมพร
โทร. 0 7750 2233 , 0 7750 3097 โทรสาร. 0 7750 3097
chumphon@dbd.go.th
ตรัง – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดตรัง
โทร. 0 7521 5107-8 , 0 7521 5266 โทรสาร. 0 7521 5108
trang@dbd.go.th
นครศรีธรรมราช – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดนครศรีธรรมราช
โทร. 0 7534 5415 , 0 7534 0065 โทรสาร. 0 7534 5416
nakhonsi@dbd.go.th
นราธิวาส – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดนราธิวาส
โทร. 0 7351 4734 , 0 7351 4355 โทรสาร. 0 7551 4734
narathiwat@dbd.go.th
ปัตตานี – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดปัตตานี
โทร. 0 7333 3603 โทรสาร. 0 7333 3606
pattani@dbd.go.th
พังงา – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดพังงา
โทร. 0 7644 0635 , 0 7644 0636 โทรสาร. 0 7644 0636
phangnga@dbd.go.th
พัทลุง – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดพัทลุง
โทร. 0 7461 5162 โทรสาร. 0 7461 1344
phathalung@dbd.go.th
ภูเก็ต – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดภูเก็ต
โทร. 0 7621 7406 , 0 7621 7746 , 0 7621 6578 โทรสาร. 0 7622 4419
phuket@dbd.go.th
ยะลา – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดยะลา
โทร. 0 7324 7100 โทรสาร. 0 7324 7100 . 0 7324 3016
yala@thairegistration.com
ระนอง – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดระนอง
โทร. 0 7782 3743 , 0 7782 1674 โทรสาร. 0 7782 1674
ranong@dbd.go.th
สงขลา – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดสงขลา
โทร. 0 7422 5655 โทรสาร. 0 7422 5656 , 0 7422 5657
songkhla@dbd.go.th
สตูล – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดสตูล
โทร. 0 7473 0227-8 โทรสาร. 0 7473 0227
satun@dbd.go.th
สุราษฎร์ธานี – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดสุราษฎร์ธานี
โทร. 0 7728 1328 , 0 7721 0303 โทรสาร. 0 7728 2584
suratthani@dbd.go.th
สุราษฎร์ธานี (สาขาเกาะสมุย) – สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดสุราษฎร์ธานี สาขาเกาะสมุย
119/18 หมู่ 1 ต.บ่อผุด อ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี
โทร. 077-427034
ศัพท์ ภาษาอังกฤษ ปิดบริษัท
The closing down company = ปิดบริษัท / เลิกกิจการ
The company's closure = ปิดบริษัท / เลิกกิจการ
The company's dissolution = ปิดบริษัท (ขั้นตอน ณ วันเลิกเบริษัท - ยังไม่สมบูรณ์)
The company's liquidation = ปิดบริษัท (ชั้นตอนเสร็จชำระบัญชี - ปิดบริษัทสมบูรณ์แล้ว)
Liquidator = ผู้ชำระบัญชี
Liquidation report = รายงานการชำระบัญชี
Certificate of company's dissolution = หนังสือรับรอง (กรมพัฒฯ) ณ วันเลิกบริษัท (วันจดทะเบียนปิดบริษัท)
Certificate of company's liquidation = หนังสือรับรองการเสร็จชำระบัญชี (วันที่เสร็จการปิดบริษัท)