บริการจดทะเบียนบริษัท ครบวงจร ค่าบริการ 5,000 บาท
ครอบคลุมขอบเขตบริการต่างๆ ดังต่อไปนี้
- จดทะเบียน ต่างๆ ณ จังหวัดท่าน โดยครอบคลุมงานจดทะเบียน ดังต่อไปนี้
- จดทะเบียนบริษัท
- ขอหมายเลขผู้เสียภาษี
- จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
- จัดส่งเจ้าหน้าที่ของ นาราฯ นำเอกสารให้ท่านเซ็นต์ยังจังหวัดของท่าน
- ไม่รวมการจัดทำใบหุ้น สมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น จดทะเบียนประกันสังคม
- ไม่รวมแปลเอกสารเป็นภาษาอังกฤษ หรือสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษกับชาวต่างชาติ จำเป็นต้องเรียกเก็บค่าบริการเพิ่ม โดยที่เรามีเจ้าหน้าที่ต่างชาติซึ่งปฎิบัติงานเต็มเวลาดำเนินการประสานงาน
|
ขั้นตอน |
ดำเนินการโดย |
1. - วันจันทร์ |
ดำเนินการจองชื่อบริษัท จะได้รับอนุมัติชื่อภายในวันพุธ ( 3 วันทำการ ) |
นาราการบัญชี |
2. - วันอังคาร - พุธ |
ดำเนินการจัดเตรียมเอกสาร เพื่อให้ท่าน (กรรมการ/ ผู้ก่อการ/ ผู้ถือหุ้น/ พยาน) สามารถลงลายมือชื่อในเอกสารแบบฟอร์มการจดทะเบียน |
นาราการบัญชี |
3. - วันพฤหัสบดี
|
ดำเนินการจดทะเบียนที่กรมพัฒนาธุรกิจและการค้า เมื่อดำเนินการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทเสร็จ ท่าน(กรรมการ) สามารถลงลายมือชื่อในเอกสารสำหรับจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ดำเนินการจดทะเบียนขอบัตรผู้เสียภาษีและจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แล้วเสร็จในวันเดียวกัน |
นาราการบัญชี |
ประมาณการค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งบริษัท สำหรับเงินทุนจดทะเบียนไม่เกิน 1 ล้านบาท
ประมาณการค่าใช้จ่ายสำหรับทุนจดทะเบียนไม่เกิน 1 ล้านบาท
|
บาท |
ค่าบริการจดทะเบียนบริษัท - ครบวงจร |
5,000 |
ขอหมายเลขผู้เสียภาษี |
- 0 - |
จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม |
- 0 - |
จัดทำตราประทับ |
500 |
บวก ค่าธรรมเนียมจ่ายให้กรมพัฒนาธุรกิจและการค้า |
6,500 |
บวก ค่าเดินทางไปจดทะเบียน ณ จังหวัดท่าน |
2,000 |
รวมค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น |
14,000
|
|
บริการเตรียมเอกสาร(จดทะเบียนบริษัท) ค่าบริการ 2,200 บาท
ครอบคลุมขอบเขตบริการต่างๆ ดังต่อไปนี้
- จัดเตรียมเอกสารเพื่อการ
- จดทะเบียนบริษัท
- ขอหมายเลขผู้เสียภาษี
- จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
(ท่านดำเนินการยื่นเอกสาร ดังกล่าวต่อหน่วยงานราชการ ด้วยตัวท่านเอง)
- ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่ออำนวยความสะดวก ต่อท่านในการเดินทางไปจดทะเบียน
- รวมค่าใช้จ่ายในการส่งเอกสารให้เซ็นต์ 1 ครั้ง
- ไม่รวมการจัดทำใบหุ้น สมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น จดทะเบียนประกันสังคม
- ไม่รวมแปลเอกสารเป็นภาษาอังกฤษ หรือสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษกับชาวต่างชาติ จำเป็นต้องเรียกเก็บค่าบริการเพิ่ม โดยที่เรามีเจ้าหน้าที่ต่างชาติซึ่งปฎิบัติงานเต็มเวลาดำเนินการประสานงาน
|
ขั้นตอน |
ดำเนินการโดย |
1. - วันจันทร์ |
ดำเนินการจองชื่อบริษัท จะได้รับอนุมัติชื่อภายในวันพุธ ( 3 วันทำการ ) |
นาราการบัญชี |
2. - วันอังคาร - พุธ |
ดำเนินการจัดเตรียมเอกสาร เพื่อให้ท่าน (กรรมการ/ ผู้ก่อการ/ ผู้ถือหุ้น/ พยาน) สามารถลงลายมือชื่อในเอกสารแบบฟอร์มการจดทะเบียน |
นาราการบัญชี |
3. - วันพฤหัสบดี
|
ดำเนินการจดทะเบียนที่กรมพัฒนาธุรกิจและการค้า เมื่อดำเนินการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทเสร็จ ท่าน(กรรมการ) สามารถลงลายมือชื่อในเอกสารสำหรับจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ดำเนินการจดทะเบียนขอบัตรผู้เสียภาษีและจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แล้วเสร็จในวันเดียวกัน |
ท่าน / ลูกค้า |
ประมาณการค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งบริษัท สำหรับเงินทุนจดทะเบียนไม่เกิน 1 ล้านบาท
ประมาณการค่าใช้จ่ายสำหรับทุนจดทะเบียนไม่เกิน 1 ล้านบาท
|
บาท |
ค่าบริการจัดเตรียมเอกสาร |
2,200 |
ขอหมายเลขผู้เสียภาษี |
- 0 - |
จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม |
- 0 - |
จัดทำตราประทับ |
500 |
บวก ค่าธรรมเนียมจ่ายให้กรมพัฒนาธุรกิจและการค้า |
6,500 |
รวมค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น |
9,200
|
|
|
หมายเหตุ ขอให้ข้อสังเกตุเกี่ยวกับการจดทะเบียนบริษัท ไว้ดังนี้
- ทุนจดทะเบียน ควรจดขั้นต่ำ 1 ล้านบาท แต่อาจเรียกชำระเพียงแค่ 25% เพื่อลดปัญหาในเรื่องของข้อจำกัดเกี่ยวกับเงินทุนที่นำมาลง และภาษีที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับภาษีของบริษัทภายหลังการจดทะเบียน
- ค่าธรรมเนียม สำหรับทุนจดทะเบียน กรมพัฒนาธุรกิจและการค้า จะเรียกเก็บในอัตราคงที่ต่อทุนจดทะเบียนหลักล้านบาท นั้นหมายถึงหากท่านจดทะเบียนด้วยทุน 5 แสนบาท (น้อยกว่า 1 ล้านบาท) ค่าธรรมเนียมก็เป็นจำนวนเดียวกันกับจดทะเบียนด้วยทุน 1 ล้านบาท
- การถือหุ้นโดยคนต่างชาติหรือบริษัทต่างชาติ ในกรณีที่มีการลงทุนตั้งแต่ 40% ถึง 50% ของทุนจดทะเบียน และชาวต่างชาตินั้นมีอำนาจลงลายมือชื่อในนามบริษัท ผู้ถือหุ้นไทยทุกคนต้องแสดงหลักฐานแหล่งที่มาของเงินทุนเกี่ยวกับเงินที่นำมาลงทุน โดยอาจเลือกแสดงโดยวิธีใดก็ได้ ดังต่อไปนี้
- สำเนาหลักฐานสมุดบัญชีธนาคาร ย้อนหลัง 6 เดือน
- เอกสารรับรองจากธนาคารที่แสดงถึงฐานการเงินของผู้ถือหุ้น
- สำเนาหลักฐานแสดงที่มาของเงินเพื่อแสดงว่าได้มีการจ่ายชำระค่าหุ้น
- รอบบัญชี เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องนำมาพิจารณา โดยส่วนใหญ่บริษัททั่วไปจะกำหนดรอบบัญชีสิ้นสุด 31 ธ้ันวาคม ซึ่งจะง่ายต่อการจดจำ กำหนดการทางภาษีและการยื่นงบการเงิน อย่างไรก็ตามท่านสามารถเลือกรอบบัญชีได้เองแต่ต้องไม่เกิน 365 วัน หากจำเป็นต้องเลือกเป็นรอบอื่น (นอกจาก 31 ธันวาคม) ท่านควรกำหนดวันสิ้นรอบเป็นวันสิ้นเดือนเพื่อให้ง่ายต่อการจัดทำบัญชีและการนำยื่นภาษีต่างๆ
เอกสารที่ต้องการ สำหรับจดทะเบียนบริษัท ได้แก่
- สำเนาบัตรประชาชนของกรรมการ พร้อมรับรองสำเนา
- สำเนาบัตรประชาชนของผู้ก่อการ พร้อมรับรองสำเนา
- สำเนาบัตรประชาชนของพยาน พร้อมรับรองสำเนา
- สำเนาทะเบียนบ้าน สำหรับสถานที่จดทะเบียนบริษัท
เอกสารที่ต้องการ สำหรับขอบัตรผู้เสียภาษี ใช้เอกสารประกอบ ดังต่อไปนี้
- สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลจากกระทรวงพาณิชย์ กรรมการลงนามและ
ประทับตราสำคัญ (ไม่เกิน 60 วัน นับจากวันที่จดทะเบียน ถ้าเกินกำหนด ปรับ 500 บาท)
- สำเนาบัตรประชาชนและทะเบียนบ้านของกรรมการพร้อมลงลายมือชื่อ 1 ชุด
- แบบ ล.ป.10.3
- หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่
- สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าบ้าน 1 ชุด
หมายเหตุ
- กรณีเจ้าของสถานที่เป็นนิติบุคคลให้แนบสำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคลพร้อมวัตถุประสงค์และสำเนาบัตรประชาชนของกรรมการมาด้วย
- ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2555 กรมสรรพากรให้ยกเลิกเลขผู้เสียภาษีที่ออกโดยกรมสรรพากร และให้ใช้ เลขทะเบียนนิติบุคคลที่ออกโดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้า แทน
เอกสารที่ต้องการสำหรับ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ใช้แบบคำขอ แบบ ภ.พ.01 (จำนวน 5 ฉบับ) และ แบบ ภ.พ.01.1 (จำนวน 3 ฉบับ) เอกสารประกอบ ได้แก่
- สำเนาบัตรประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจ
- สำเนาทะเบียนบ้านกรรมการผู้มีอำนาจ
- สำเนาหนังสือรับรองกระทรวงพาณิชย์ไม่เกิน 6 เดือน
- สำเนาหนังสือบริคณห์สนธิ
- สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5)
- สำเนาใบสำคัญแสดงรายการจดทะเบีียนห้างหุ้นส่วน/บริษัท
- บัตรประจำตัวผู้เสียภาษีของบริษัท (หากจดทะเบียนตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์ 2555 ไม่ต้องใช้บัตรผู้เสียภาษี)
- หนังสือยินยอมให้ใช้สถานประกอบการ
- สำเนาทะเบียนบ้านของสถานประกอบการ
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าบ้าน ถ้ากรรมสิทธิ์ในอาคารเป็นของนิติบุคคล ต้องนำหนังสือรับรองนิติบุคคลพร้อมวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลนั้นมาด้วย
- แผนที่ตั้งพอสังเขป 2 ชุด (พร้อมรับรองสำเนา)
- รูปถ่ายสถานประกอบการ 2 ชุด (ถ่ายให้เห็นชื่อบริษัทและเลขที่บ้านสถานประกอบการอย่างชัดเจนพร้อมรับรองสำเนา)
- ตราประทับ
- หนังสือขอใช้สิทธิ์แจ้งต่ออธิบดีกรมสรรพากรเพื่อจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
หมายเหตุ เอกสารตามข้อ 3 - 6 จะต้องมีตราประทับนายทะเบียนรับรองรองเอกสาร (ฉบับขอคัด)
|
ถาม 1 - ต้องการจดทะเบียนบริษัท แต่มีชาวต่างชาติมาถือหุ้นด้วย ไม่ทราบว่ามีวิธีการและขั้นตอนที่แตกต่างบริษัทไทยทั่วไปหรือไม่คะ
ตอบ 1 - แน่นอนครับ มีกรรมวิธีที่สับซ้อนกว่าเยอะครับ เนื่องจากบ้านเราค่อนข้างระมัดระวังเกี่ยวกับการเข้ามาทำธุรกิจของชาวต่างชาติ จึงได้มีการออก "พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542" เข้ามาควบคุมการทำธุรกิจของคนต่างด้าว (ไม่ขอพูดในรายละเอียดครับ มันยาวมาก มาก)
ขอสรุปง่ายๆ ดังนี้ครับ ถ้าคนต่างชาติมาถือหุ้นไม่เกิน 49% (ส่วนที่เหลือเป็นคนไทย 51% หรือมากกว่า) ก็ถือเป็นบริษัทไทย ไม่ต้องไปสนใจ พรบ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 ดังกล่าว แต่การที่คนต่างชาติมาถือหุ้นเกิน 40% แต่ไม่เกิน 50% หรือคนต่างชาติดังกล่าวมาถือหุ้นน้อยกว่า 40% แต่เข้าร่วมเป็นกรรมการของบริษัท ผู้ถือหุ้นคนไทยทุกคนต้องแสดงที่มาของเงินลงทุนร่วมในบริษัทดังกล่าว อาจวิธีใดวิธีหนึ่งดังต่อไปนี้
- สำเนาบัญชีเงินฝากธนาคาร ย้อนหลัง 6 เดือน
- เอกสารรับรองจากธนาคารแสดงการรับรองฐานะการเงิน
- สำเนาหลักฐานที่แสดงถึงที่มาของเงินทุนสำหรับการจ่ายค่าหุ้น อาจหมายถึง สัญญากู้ยืมเงิน
|
ถาม 2 - เงินลงทุนขั้นต่ำ ควรมีอย่างน้อยเท่าไหร่ และต้องแสดงหลักฐานการนำเงินมาลงทุนอย่างไร
ตอบ 2 - ในกรณีของบริษัททั่วไปไม่ได้มีข้อจำกัดเรื่องเงินลงทุน ตามกฎหมายกำหนดให้หุ้นมีมูลค่าอย่างน้อย 5 บาทต่อหุ้น และจะต้องมีอย่างน้อย 3 หุ้น นั้นหมายถึงว่า เงินทุนขึ้นต่ำต้องมีอย่างน้อย 15 บาทครับ แต่ไม่เห็นด้วยนะครับที่จะจดทะเบียนด้วยเงินทุนเท่านี้ เพราะว่า
- ค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียน จะถูกกำหนดเป็นสัดส่วนต่อทุนจดทะเบียนหลักล้านบาท นั้นหมายถึงการจดด้วยทุน 1 ล้านบาท และ ทุน 15 บาท จะมีค่าธรรมเนียมเท่ากันครับ จึงควรจดด้วยทุนจดทะเบียนหลักล้านบาทครับ
- ต้องดูเงื่อนไขต่างๆ ในการทำธุรกิจด้วย เช่น หากต้องจากชาวต่างชาติเข้าทำงานด้วย ต้องจดทะเบียนด้วยอย่างน้อย 2 ล้านบาท ต่อการว่าจ้างชาวต่างชาติ 1 คน และจะเป็นสัดส่วนอย่างนี้ต่อการว่าจ้างชาวต่างชาติที่เพิ่มขึ้น
- ต้องดูขนาดของการทำธุรกิจ เพื่อความเหมาะสม และเพื่อการแสดงฐานะการเงินอย่างน่าเชื่อถือ
- ขอให้ข้อสังเกตุว่า ท่านอาจจดทะเบียนด้วยทุนตามที่ต้องการได้ เช่น 1 ล้านบาท และอาจแสดงเงินทุนแบบเรียกชำระไม่ครบ เช่น เรียกชำระเพียงแค่ 25% ก่อนในช่วงเริ่มแรก เพื่อเป็นการประหยัดเกี่ยวกับภาษีที่เกี่ยวข้องกับการที่ไม่ได้นำเงินเข้ามาในบริษัท
อันที่จริงแล้ว ณ วันจดทะเบียน ยังไม่ต้องแสดงหลักฐานเกี่ยวกับเงินที่นำมาลงทุน เพียงแค่แสดงในเอกสารและรับรองโดยกรรมการบริษัทเกี่ยวกับการเก็บรักษาเงินลงทุน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วกรรมการจะแจ้งว่าเก็บรักษาไว้โดยกรรมการ และสามารถพูดได้ว่าบริษัทส่วนใหญ่แล้วไม่ได้นำเงินเข้าลงทุนจริง (แค่แจ้งในเอกสารเท่านั้น) ดังนั้น การทำบัญชีจะแสดงเงินที่ไม่ได้นำเข้ามาลงทุนจริงดังกล่าว ในบัญชี เงินให้กู้ยืมแก่กรรมการ และต้องคิดดอกเบี้ยเพื่อเสียภาษี ทั้งภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีธุรกิจเฉพาะ เพื่อให้สอดคลัองกับหลัำกการจัดเก็บภาษี เสมือนว่าบริษัทท่านได้นำเงินลงทุนไปฝากธนาคาร |
ถาม 3 - หากจดทะเบียนแล้ว จะมีภาระหน้าที่อะไรบ้างครับ โดยเฉพาะเรื่องภาษี
ตอบ 3 - โปรดดูรายละเอียดคร่าว ๆ จากเอกสารข้างล่างนี้ก่อนครับ
|
ถาม 4 - ไม่ทราบว่ามีให้บริการ เปลี่ยนแปลงที่อยู่ และเปลี่ยนชื่อและตราประทับ หรือไม่ และราคาเท่าไหร่
1.ต้องการเปลี่ยนที่อยู่บริษัท
นาราการบัญชี มีให้บริการครับ รายละเอียดค่าบริการและค่าธรรมเนียม เป็นดังนี้:
- ค่าบริการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงที่อยู่สำนักงาน 4,000 บาท (ครอบคลุมทั้งกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและสรรพากร)
- ค่าธรรมเนียมจ่ายให้กรมฯ 600.00 บาท
2. ต้องการเปลี่ยนชื่อและตราประทับบริษัท
นาราการบัญชี มีให้บริการครับ รายละเอียดค่าบริการและค่าธรรมเนียม เป็นดังนี้:
- ค่าบริการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อและตรายางบริษัท (ครอบคลุมทั้งกรมพัฒฯ และกรมสรรพากร) 4,000.00 บาท
- ค่าาธรรมเนียมรัฐบาล 1,150 บาท
- ค่าลงโฆษณาเชิญประชุมในหนังสือพิมพ์ท้ัองถิ่น 800.00 บาท
- ค่าแสตป์์และบริการจัดส่งจดหมายเิชิญประชุม 120 บาท
เพิ่มเติม เรื่องค่าบริการครับ กรณีให้ดำเนินการพร้อมกัน มีส่วนลดให้ครับ งานส่วนที่สอง ลอให้ครึ่งหนึ่ง 50%
เอกสารที่ต้องเตรียมสำหรับการ เปลี่ยนแปลงที่ตั้งสำนักงาน บริษัท:
- สำเนาบัตรประชาชนของกรรมการ ผู้มีอำนาจลงนาม 3 ชุด
- สำเนาทะเบียนบ้านของกรรมการผู้มีอำนาจ 3 ชุด
- สำเนาแผนที่ตั้งแห่งใหม่ขอสังเขป 3 ชุด
- สำเนาแบบ ภพ.01, 09, 20 ของทุกครั้งที่มีการยื่นเปลี่ยนแปลง 2 ชุด (พร้อมฉบับจริง)
- สำเนาบัตรประจำตัวผู้เสียภาษี 2 ชุด (พร้อมตัวจริง)
- ภาพถ่ายสถานประกอบการ 4 ภาพ ถ่ายให้เห็นเลขที่บ้านและชื่อบริษัทให้ชัดเจน ติดลงกระดาษเอ 4 (เซ็นต์รับรองโดยกรรมการ) 2 ชุด
หลักฐานของสำนักงานแห่งใหม่
- หนังสือยินยอมให้ใช้สถานประกอบการ 2 ชุด
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและทะเบียนบ้านของเจ้าของสถานประกอบการ 2 ชุด
กรณีกรรมสิทธิ์ในอาคารเป็นของนิติบุคคลไม่ต้องเตรียมข้อ 6 แต่ต้องเตรียมเอกสารตามรายละเอียดตามด้านล่างนี้แทน
- สำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคลพร้อมวัตถุประสงค์ของนิติบุคคลนั้น 2 ชุด
- สำเนาบัตรประชาชนของกรรมการ 2 ชุด
- สำเนาทะเบียนบ้านของกรรมการ 2 ชุด
- สำเนาสัญญาเช่าสำนักงาน 2 ชุด
- สำเนาทะเบียนบ้านของสถานประกอบการแห่งใหม่ 2 ชุด
- เจ้าหน้าที่อาจขอสำเนาโฉนดที่ดินเพิ่มเติม ถ้าในกรณีที่บริษัทไม่มีสำเนาทะเบียนบ้าน
หมาเหตุ เอกสารตามข้อที่กล่าวมาข้างต้้นให้กรรมการผู้มีอำนาจลงนามและประทับตราทุกฉบับยกเว้น ข้อ 7 - 8
|
ถาม 5 - อยากทราบว่าในการจัดทำตราประทับ มีข้อกำหนดอะไรบ้าง
ตอบ 5 - หลักเกณฑ์การจัดทำดวงตราของห้างหุ้นส่วนและบริษัท ดังต่อไปนี้
- ดวงตราของห้างหุ้นส่วนและบริษัทต้องไม่มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
- เครื่องหมายตรามหาจักรีบรมราชวงศ์
- พระบรมราชาภิไธย พระปรมาภิไธยย่อของพระมหากษัตริย์ทุกรัชกาล และพระนามาภิไธยย่อของสมเด็จพระอัครมเหสีหรือสมเด็จพระยุพราช
- พระบรมราชสัญลักษณ์ และพระราชสัญลักษณ์ของพระมหากษัตริย์ สมเด็จพระอัครมเหสี และสมเด็จพระยุพราช
- พระมหามงกุฎ มงกุฎขัตติยราชนารี หรือเครื่องราชอิสริยาภรณ์อื่นใดที่ใกล้เคียงกับมงกุฎ
- ฉัตรต่าง ๆ อันเป็นลักษณะของเครื่องประกอบพระบรมราชอิสริยยศ
- ตราแผ่นดิน ตราราชการ ตราครุฑพ่าห์ ธงหลวง ธงชาติ หรือธงราชการ เว้นแต่จะได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต
- พระราชลัญจกร และลัญจกรในราชการ
- เครื่องหมายกาชาด ชื่อกาชาด กาเยเนวา เครื่องหมายราชการ หรือเครื่องหมายใด ๆ ที่ขัดต่อรัฐประศาสโนบายหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
- เครื่องหมายที่ราชการ องค์การ หน่วยงานของรัฐหรือองค์การ ระหว่างประเทศขอสงวนไว้
- สัญลักษณ์ประจำชาติไทย ได้แก่ ช้างไทย ดอกราชพฤกษ์ และ ศาลาไทย
- ดวงตราจะมีชื่อห้างหุ้นส่วนบริษัทหรือไม่ก็ได้ ในกรณีตรามีชื่อห้างหุ้นส่วน บริษัท ชื่อในดวงตรานั้นต้องชัดเจนและตรงกับชื่อที่ขอจดทะเบียน หรือตรงกับชื่อภาษาต่างประเทศที่ขอใช้และต้องมีคำแสดงประเภทของนิติบุคคลด้วย
- กรณีขอจดทะเบียนดวงตราสำคัญมากกว่า 1 ดวง ให้ผู้ขอจดทะเบียนระบุให้ชัดเจนไว้ในรายการจดทะเบียนอย่างอื่นซึ่งเห็นสมควรจะให้ประชาชนทราบว่าดวงตราดวงใดใช้ในกรณีใด
- บริษัทจะขอจดทะเบียนดวงตราสำคัญหรือไม่ก็ได้เว้นแต่อำนาจกรรมการ จะระบุว่าต้องประทับตราสำคัญบริษัทก็ต้องขอจดทะเบียนดวงตราสำคัญด้วย
|
ถาม 6 - อยากจะทราบว่ามีข้อบังคับทางกฎหมายเกี่ยวกับการเขียนชื่อบริษัทจำกัดในภาษาอังกฤษหรือไม่
ปกติจะพบเห็นบริษัทจำกัดเขียนชื่อของบริษัทแล้วตามด้วย Company Limited หรืออักษรย่อ Co., Ltd. โดยทั่วไป แต่บริษัทบางบริษัท หรือบริษัทที่จดทะเบียนเป็นบริษัทลูกของบริษัทจากต่างชาติก็นิยมใช้เพียงคำว่า Limited หรืออักษรย่อ Ltd. ตามท้ายชื่อบริษัท จึงอยากสอบถามว่าในเชิงกฎหมายแล้วมีข้อบังคับหรือบ่งชี้ในการเขียนชื่อบริษัทหรือไม่อย่างไรครับ
ตอบ 6 - การใช้ชื่อภาษาต่างประเทศซึ่งมีความหมายว่า บริษัท นั้น กำหนดให้ใช้ Company Limited (ย่อว่า Co., Ltd.) หรือ ในกรณีที่ไม่ใช้คำว่า Company หรือคำว่า Corporation ให้ใช้คำว่า Limited (ย่อว่า Ltd.) คำเดียวในตอนท้ายชื่อ สำหรับบริษัทจำกัดจดทะเบียนในสหรัฐอเมริกา ให้ใช้คำว่า Corporation หรือ Incorparated (ย่อว่า Inc.) ตอนท้ายชื่อ ทั้งนี้เป็นไปตามประกาศกระทรวงเศรษฐการ เรื่อง อักษรต่างประเทศ ซึ่งมีความหมายว่า ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด และ บริษัทจำกัด
ห้างหุ้นส่วนจำกัด และ บริษัทจำกัด
อาศัยความตามาตรา ๓ (๒) และมาตรา ๕ (๒)แห่งพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ. ๒๔๙๙ กระทรวงเศรษฐการ ประกาศอักษรต่างประเทศ ซึ่งมีความหมายว่า ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด และบริษัทจำกัด คือ
หมายเหตุ :- ในกรณีที่ไม่ใช้คำว่า Company หรือคำว่า Corporation ให้ใช้คำว่า Limited (ย่อว่า Ltd.) คำเดียวในตอนท้ายชื่อ
สำหรับบริษัทจำกัดจดทะเบียนในสหรัฐอเมริกา ให้ใช้คำว่า Corporation หรือ Incorporated (ย่อว่า Inc.) ในตอนท้ายชื่อ
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ประกาศเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๐๐
พลตรี ศิริ สิริโยธิน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการ
|
ถาม 7 - สอบถามค่ะ เมื่อหุ้นส่วนผู้จัดการเสียชีวิตลง แล้วต้องการเปลี่ยนหุ้นส่วนท่านอื่นเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการแทนพร้อมทั้งเพิ่มหุ้นส่วนใหม่เข้าไปในหจก. จะต้องทำอย่างไรและเอกสารที่ต้องใช้มีอะไรบ้างคะ โดยที่หุ้นส่วนผจก.มีบุตรเป็นผู้จัดการมรดกอยู่ สิทธิ์ในการบริหารหจก.จะตกสู่ทายาทของผู้เสียชีวิตโดยอัตโนมัติหรือไม่คะ
ตอบ 7 - กรณีผู้เป็นหุ้นส่วนตาย แต่ผู้เป็นหุ้นส่วนที่เหลืออยู่ได้ตกลงกันและมีความประสงค์ที่จะให้ห้างยังคงอยู่ต่อไป ก็สามารถกระทำได้ รวมทั้งการตกลงเพิ่มตัวผู้เป็นหุ้นส่วนและสิทธิ์ในการบริหารด้วย อนึ่งการยื่นขอจดทะเบียนจะต้องแนบสัญญาลงลายมือชื่อของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน และสำเนาหลักฐานการเป็นผู้จัดการมรดก พร้อมคำขอจดทะเบียนด้วย |
ถาม 8 - อยากทราบว่าจดทะเบียนนิติบุคลไว้ แล้วอยู่มาทางเขตแจ้งเปลี่ยนบ้านเลขที่ต้องทำอย่างไรบ้างกับทะเบียนนิติบุคคลคะ
ตอบ 8 - ให้ผู้ประกอบการนำหลักฐานที่ทางเขตแจ้งเปลี่ยนที่อยู่ ไปติดต่อขอแก้ไขทะเบียนนิติบุคคลได้ที่ ชั้น 3 กรมพัมนาธุรกิจการค้า หรือ สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าเขต (สพข.) ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ ดังนี้
- สพข.1 (ปิ่นเกล้า)อาคารธนาลงกรณ์ทาวเวอร์ชั้น 14 สพข.2 ถ.บรมราชชนนี
- สพข.2 (พหลโยธิน สี่แยกประดิพัทธ์)
- สพข.3 (รัชดาภิเษก) อาคารปรีชาคอมเพล็กซ์ C 2 ชั้น 3
- สพข.4 (สุรวงศ์) อาคารวรวิทย์ ชั้น 8 โซน A-B
- สพข.5 (ศรีนครินทร์) อาคารโมเดิร์นฟอร์ม ชั้น 16
|
|
สนใจบริการ หรือ ข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ
โทร 080 173 2000 ; 080 174 2000
โทร 02 933 5511
อีเมล์: info@53ac.com
และสำเนาอีเมล์ ถึง (CC) : 53ac.com@gmail.com
|
เพิ่ม นาราการบัญชี เป็นเพื่อน @nara53
|
แผนที่
https://goo.gl/maps/GBPpLfS42QsZg4jf6
เดินทาง รถไฟฟ้า สายสีเหลือง สถานี โชคชัย 4 ประตูทางออก 4 นาราฯ อยู่ในซอยลาดพร้าว 52
ที่อยู่ บริษัท นารา การบัญชี จำกัด
เลขที่ 4/1 ซอยลาดพร้าว 52 ถนนลาดพร้าว แขวงวังทองหลาง เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310 |
|
__________________________________________________________________________________________