>

สำนักงานบัญชี ตรวจสอบบัญชี และบริการภาษีอากร

บริษัท นารา การบัญชี จำกัด

 

Home - เกี่ยวกับเรา : คัดหนังสือรับรอง : คัดงบการเงิน : คัดบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น : คัดบริคณห์สนธิ : เปลี่ยนแปลงแก้ไข บริษัท : คัดรับรองตราประทับ : คัดเอกสารต่อใบอนุญาตทำงาน:
จดทะเบียนบริษัท : เลิกบริษัท : งบเปล่า : แปลเอกสาร : รับรองเอกสาร-โนตารี่พับลิค : การตลาด-พันธมิตร : ที่อยู่จดทะเบียน : ปรึกษาคดีฟรี-รับว่าความ : นักบัญชีหางาน : รับสมัครงาน
Affidavit 300 Baht dormant co-regis 2200B notary 1000B.
15000B-close
000B-ch-regis 12000B-address 500B-translation job-acc
000B-accountant

นาราการบัญชี บริการบัญชี ตรวจสอบบัญชี ที่ปรึกษาภาษีอากร และที่ปรึกษาบัญชี จดทะเบียนธุรกิจ ขออนุญาติประกอบธุรกิจ ขอใบอนุญาตการทำงาน ที่ปรึกษาด้านกฎหมายแรงงาน รวมถึงเจรจาต่อรองกับหน่วยงานราชการ ให้บริการทั้งเขตจังหวัด กรุงเ่ทพฯ และจังหวัดอื่น ๆ

 

nara office

สำนักงาน กรุงเทพฯ

ac1
ac2

บริษัท นารา การบัญชี จำกัด

บริษัท นารา การบัญชี จำกัด จัดตั้งโดยกลุ่มนักบัญชี ที่มีอุดมการณ์ในการร่วมกันพัฒนางานบริการด้านวิชาชีพ บัญชี สอบบัญชี และที่ปรึกษา เพื่อรองรับการเจริญเติบโตของลูกค้า ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2544 ซึ่งกว่า13 ปีที่ดำเนินธุรกิจ ได้ประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง

ปัจจุบันเรามีพนักงานจบปริญญาตรีกว่า 20 คน คอยให้บริการต่อท่าน และลูกค้ากว่า 180 ราย ทั้งที่เป็นบริษัทไทย บริษัทร่วมทุนจากต่างชาติ และบริษัทต่างชาติ ซึ่งตั้งอยู่หลายจังหวัด เช่น กรุงเทพมหานคร พัทยา ชลบุรี ระยอง สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา สมุทรสงคราม สมุทรสาคร ปทุมธานี อยุธยา สระบุรี ลพบุรี อุดรธานี เชียงใหม่ เชียงราย ภูเก็ต และอื่นๆ

  งานบริการ

บริการด้านบัญชี

  • บริการจัดทำบัญชีแบบเหมาจ่าย
  • บริการจัดทำบัญชีและภาษีอากร
  • บริการจัดทำบัญชีพร้อมจัดทำงบการเงินตามระยะเวลาที่กำหนด เช่น งบการเงินรายเดือน รายไตรมาส รายครึ่งปี เป็นต้น
  • บริการนักบัญชีทีี่มีคุณสมบัติ เพื่อรองรับข้อกำหนดตาม พรบ.การบัญชี
  • บริการวางรูประบบบัญชีเพื่อการเริ่มต้นประกอบธุรกิจ

    งานตรวจสอบบัญชี
  • บริการตรวจสอบบัญชี
  • บริการตรวจสอบตามข้อกำหนดของบริษัทแม่หรือบริษัทในเครือ
  • บริการตรวจสอบบัญชี สำหรับองค์กรที่ไม่มุ่งหวังกำหร (NGO) ทั้งที่จดทะเบียน/ไม่จดทะเบียนในประเทศไทย
  • บริการตรวจสอบบัญชี สำหรับองค์กรต่างประเทศ ทั้งที่จดทะเบียน/ไม่จดทะเบียนในประเทศไทย
  • บริการตรวจสอบพิเศษต่างๆ ตรวจสอบเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้
  • บริการตรวจสอบ ตามข้อกำหนดของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI)
  • บริการตรวจนับสินค้า เพื่อการทำลาย หรือรับรองสภาพ(จำนวน)สินค้าคงเหลือ

    งานให้คำปรึกษา
  • ให้คำปรึกษาด้านการลงทุนในประเทศไทย ครอบคลุมถึง /รูปแบบการประกอบกิจการที่เหมาะสมเพื่อสิทธิประโยชน์ทางภาษีและอำนาจการควบคุมกิจการ / การขอรับสิทธิทางภาษีและลดหย่อนที่ได้รับการส่งเสริมจากรัฐบาล / การถือหุ้นส่วนใหญ่โดยชาวต่างชาติ / การลงทุนภายใต้สนธิสัญญาระหว่างประเทศ
  • บริการให้คำปรึกษาด้านบัญชี ครอบคลุม มาตรฐานการบัญชีไทยและมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ (IFRS)
  • ให้คำปรึกษาด้านภาษีอากร เช่น ภาษีทางตรง - ทางอ้อมในประเทศไทย / การใช้สิทธิลดหย่อนทางภาษี / ภาษีระหว่างประเทศ ภาษีซ้อน
  • บริการให้คำปรึกษาเรื่องกฎหมายแรงงาน และธุรกิจ
  • ให้คำปรึกษาด้านวีซ่า - การขออยู่ต่อในราชอาณาจักร และการขอใบอนุญาตทำงาน

    งานจดทะเบียนธุรกิจ นิิติกรรม
  • จดทะเบียนจัดตั้งบริษัท จดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญ ร้านค้า กิจการร่วมค้า และอื่นๆ
  • จดขอหมายเลขผู้เสียภาษี
  • จดทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ
  • จดทะเบียนเพิ่มทุน ลดทุน
  • จดทะเบียนขอใบอนุญาตการประกอบธุรกิจ เช่น ใบอนุญาตสำหรับการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว / จดทะเบียนภายใต้สนธิสัญญาระหว่างประเทศ / ใบอนุญาตของสำนักงานผู้แทน สำนักงานภูมิภาค / จดทะเบียนขอใบอนุญาตประกอบกิจการของสาขานิติบุคคลต่างประเทศ และอื่นๆ
  • จดทะเบียนใบอนุญาต โรงงาน กิจการที่อยู่ภายใต้การควบคุมพิเศษ และอื่นๆ
  • บริการชำระบัญชี จดทะเบียนเลิกกิจการต่อกระทรวงพาณิชย์และกรมสรรพากร ยกเลิกภาษีมูลค่าเพิ่ม และคืนบัตรผู้เสียภาษี พร้อมทั้งเป็นตัวแทนชี้แจงในส่วนงานเลิกที่เกี่ยวข้องกับภาษีอากรต่อเจ้าหน้าที่กรมสรรพากร
  • จดทะเบียนเปลี่ยนข้อมูลทางธุรกิจ เช่น เปลี่ยนแปลงกรรมการ / เปลี่ยนที่อยู่ / เปลี่ยนวัตถุประสงค์ / เปลี่ยนชื่อ / เปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้น
  • คัดสำเนาเอกสารทางราชการ เช่น เอกสารสำคัุญของบริษัท หนังสือรับรอง, ข้อบังคับ, วัตถุประสงค์, ตราประทับ/ คัดงบการเงิน/ คัดเอกสารแบบแสดงรายการภาษีพร้อมรับรองเอกสาร

    งานให้คำปรึกษา
  • ให้คำปรึกษาด้านการลงทุนในประเทศไทย ครอบคลุมถึง /รูปแบบการประกอบกิจการที่เหมาะสมเพื่อสิทธิประโยชน์ทางภาษีและอำนาจการควบคุมกิจการ / การขอรับสิทธิทางภาษีและลดหย่อนที่ได้รับการส่งเสริมจากรัฐบาล / การถือหุ้นส่วนใหญ่โดยชาวต่างชาติ / การลงทุนภายใต้สนธิสัญญาระหว่างประเทศ
  • บริการให้คำปรึกษาด้านบัญชี ครอบคลุม มาตรฐานการบัญชีไทยและมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ (IFRS)
  • ให้คำปรึกษาด้านภาษีอากร เช่น ภาษีทางตรง - ทางอ้อมในประเทศไทย / การใช้สิทธิลดหย่อนทางภาษี / ภาษีระหว่างประเทศ ภาษีซ้อน
  • บริการให้คำปรึกษาเรื่องกฎหมายแรงงาน และธุรกิจ
  • ให้คำปรึกษาด้านวีซ่า - การขออยู่ต่อในราชอาณาจักร และการขอใบอนุญาตทำงาน

    บริการอื่นๆ
  • บริการจดทะเบียน - จัดทำและนำยื่นประกันสังคม
  • บริการให้ใช้ที่อยู่ เพื่อการจดทะเบียนในประเทศไทย
  • บริการนักบัญชีที่มีคุณสมบัติเพื่อรองรับการปฎิบัติตาม พรบ.การบัญชี พ.ศ. 2543 และ พรบ.วิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547
  • บริการเป็นตัวแทนเข้าพบสรรพากรเพื่อชี้แจงต่างๆ
  • บริการเจรจาต่อรองกับหน่วยงานของราชการ
  • บริการแปลเอกสาร และรับรองเอกสาร โดยโนตารี่พับบลิค (Notary Public)
  • บริการคัดหนังสือรับรอง คัดเอกสารทะเบียนธุรกิจ และหนังสือสำคัญบริษัท

นาราการบัญชี ขอให้คำมั่นต่อลูกค้าว่าเราปฏิบัติงานด้วยความรับผิดชอบ ส่งมอบงานตรงเวลา แจ้งปัญหาเบื้องต้นที่พบและอยู่บนหลักการที่ว่าข้อมูลทุกอย่างเป็นสิ่งที่ไม่เปิดเผยต่อบุคคลอื่น

บริษัท นารา การบัญชี จำกัด ตระหนักถึงปัญหาเรื่องการสื่อสารกับชาวต่างประเทศ เรามีทึมงานชาวต่างชาติซึ่งปฏิบัติงานเต็มเวลาคอยประสานงานสำหรับกลุ่มลูกค้าต่างประเทศ ท่านจึงสามารถไว้ใจในงานบริการของเราได้ว่า ไม่เกิดปัญหาเรื่องการสื่อสารอย่างแน่นอน


บทความ ที่น่าสนใจ

การเลือกหรือว่าจ้าง ผู้สอบบัญชี/ บริษัทตรวจสอบบัญชี/ สำนักงานสอบบัญชี อย่างไร

ปัจจัยที่ควรพิจารณาในการว่าจ้างผู้ให้บริการตรวจสอบบัญชี/ ผู้สอบบัญชี/ สำนักงานสอบบัญชี

  1. ความเป็นมาของบริษัทและประสอบการณ์ด้านบริการตรวจสอบบัญชี
  2. ประวัติ ความเป็นมาของผู้สอบบัญชี และต้องมั่นใจให้ได้ว่า ผู้สอบบัญชีได้ทำงานเต็มเวลา ในบริษัทตรวจสอบบัญชี/ สำนักงานสอบบัญชี ที่เราว่าจ้าง
  3. ประสบการณ์การบริหารทีมสอบบัญชี
  4. ข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าที่ใช้บริการ ทั้งประเภทธุรกิจและขนาดของลูกค้า
  5. ในกรณีที่บริษัทของคุณเป็นบริษัทต่างชาติ หรือมีผู้บริหารเป็นชาวต่างชาติ หรือการลงทุนจากชาวต่างชาติ ขั้นตอนของการสัมภาษณ์ หรืออย่างน้อยการพูดคุยทางโทรศัพท์นั้นเป็นสิ่งจำเป็นก่อนเริ่มงานสอบบัญชี
  6. ขนาดของบริษัทตรวจสอบ/ สำนักงานสอบบัญชี และอัตราที่เหมาะสมระหว่างทีมงานสอบบญชีกับจำนวนลูกค้า
  7. ความชัดเจนของเอกสารเสนอบริการสอบบัญชีรวมถึงขอบเขตบริการ เงื่อนไขการให้บริการ และค่าบริการที่อาจเรียกเก็บเพิ่ม จะต้องบแสดงอย่างชัดเจน
  8. การเข้าเยี่ยมบริษัทตรวจสอบบัญชีอาจเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทตรวจสอบ(สำนักงานสอบบัญชี) มีตัวตนจริงและทำงานบนพื้นฐานวิชาชีพ และเป็นสิ่งจำเป็นเช่นกันที่ต้องมั่นใจว่าข้อมูลหรือเอกสารการตรวจสอบจะต้องเก็บรักษาอย่างเหมาะสมโดยไม่เปิดเผยให้บุคคลภายนอกทราบ
  9. ผู้ให้บริการสอบบัญชี ที่จัดตั้งในรูปแบบนิติบุคคล จะต้องจดทะเบียนต่อสภาวิชาชีพบัญชี/ ต้องจัดให้มีหลักประกันเพื่อประกันความรับผิดต่อบุคคลที่สาม และบุคคลซึ่งมีอำนาจลงนามผูกพันนิติบุคคลในการให้บริการสอบบัญชีต้องเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต

รูปแบบ และประเภทของผู้ให้บริการตรวจสอบบัญชี ในประเทศไทย

  1. รูปแบบบุคคลธรรมดา
    รูปแบบนี้ ไม่ได้การควบคุมโดย พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 ไม่จำเป็นต้องค้ำประกันต่อบุคคลอื่นเกี่ยวกับความผิดพลาด

  2. รูปแบบคณะบุคคล(ปัจจับันไม่อนุญาติแล้ว) และ ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน
    รูปแบบนี้เป็นที่นิยมในอดีตเนื่องจากว่าง่ายต่อการจัดตั้งและยื่นชำระภาษี แต่เป็นรูปแบบที่ไม่ใช่นิติบุคคลดังนั้นการยื่นภาษีจะต้องยื่นเสียภาษีแบบบุคคลธรรมดา รูปแบบนี้ไม่ได้ถูกบังคับตาม พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 ผู้ให้บริการจึงไม่จำเป็นต้องต้องจดทะเบียนต่อสภาวิชาชีพบัญช และไม่ต้องค้ำประกันต่อบุคคลอื่นในการสอบบัญชี

  3. รูปแบบ บริษัทจำกัด / ห้างหุ้นส่วนจำกัด
    รูปแบบนนี้เป็นรูปนิติบุคคล ซึ่งมีความน่าเชื่อถือสูงและถูกควบคุมอย่างเคร่งครัด ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 ซึ่งจำเป็นต้อง

(1) นิติบุคคลต้องจดทะเบียนต่อสภาวิชาชีพบัญชีตามเงื่อนไข ดังนี้

• นิติบุคคลที่ให้บริการการสอบบัญชี หรือการทำบัญชีอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 ใช้บังคับ ให้ยื่นจดทะเบียนต่อสภาวิชาชีพบัญชี ภายใน 1 ปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ คือ ภายในวันที่ 22 ตุลาคม 2548 แต่หากให้บริการภายหลังจากวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้ยื่นขอจดทะเบียนต่อสภาวิชาชีพบัญชีภายใน 30 วัน หลังจากการจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์แล้วเสร็จ โดยสภาวิชาชีพบัญชีได้กำหนดค่าจดทะเบียนนิติบุคคลไว้รายละ 2,000 บาท และต้องยื่นขอต่ออายุทุก 3 ปี นับจากวันจดทะเบียนกับสภาวิชาชีพบัญชี โดยดำเนินการต่ออายุภายใน 3 เดือนก่อนใบทะเบียนหมดอายุ
• นิติบุคคลนั้นต้องจัดให้มีหลักประกันเพื่อประกันความรับผิดต่อบุคคลที่สามตามประเภท จำนวน หลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดโดยกฎกระทรวง
• ในกรณีนิติบุคคลนั้นประกอบกิจการให้บริการสอบบัญชี บุคคลซึ่งมีอำนาจลงนามผูกพันนิติบุคคลในการให้บริการสอบบัญชีต้องเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
ทั้งนี้ ในกรณีที่นิติบุคคลนั้นให้บริการการสอบบัญชีหรือการทำบัญชีอยู่ก่อนวันที่ 23 ตุลาคม 2547 ซึ่งเป็นวันที่กฎหมายฉบับนี้ใช้บังคับ นอกจากกำหนดให้จดทะเบียนต่อสภาวิชาชีพบัญชีแล้ว

  • นิติบุคคลนั้นต้องจัดให้มีหลักประกันเพื่อประกันความรับผิดต่อบุคคลที่สามให้ครบถ้วนภายในระยะเวลาตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งต้องไม่เกินกว่าสามปี
  • กรณีที่เป็นนิติบุคคลที่ให้บริการสอบบัญชีก็ต้องดำเนินการให้บุคคลซึ่งมีอำนาจลงนามผูกพันนิติบุคคลในการให้บริการสอบบัญชีต้องเป็นผู้สอบบัญชีภายในสามปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับนั้น ก็คือภายในวันที่ 22 ตุลาคม 2550 นั่นเอง

(2) ในกรณีผู้สอบบัญชีต้องรับผิดชอบต่อบุคคลที่สาม นิติบุคคลซึ่งผู้สอบบัญชีนั้นสังกัดอยู่ ต้องร่วมรับผิดด้วยอย่างลูกหนี้ร่วม และหากยังไม่สามารถชำระค่าเสียหายได้ครบจำนวนให้หุ้นส่วนหรือกรรมการผู้มีอำนาจผูกพันนิติบุคคลนั้น ต้องร่วมรับผิดจนครบจำนวนเว้นแต่พิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนรู้เห็นหรือยินยอมในการกระทำผิดที่ต้องรับผิด

 

กรณีที่ท่านต้องการข้อมูลส่วนใดเพิ่มเติม กรุณาแจ้งให้ทราบด้วยเพื่อจะได้จัดส่งให้ในโอกาสต่อไป

 
ถาม - ตอบ

ถาม - 1 บริษัท ต้องเก็บเอกสาร ไว้นานเท่าไหรครับ หรือว่าต้องเก็บไว้จนกว่ามีการตรวจสอบของสรรพากร จึงจะทำลายได้ และตอนทำลายต้องแจ้งใครหรือไม่ครับ

นารา - ผุ้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ต้องเก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี นับแต่วันปิดบัญชี ตามมตรา 14 พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543

สำหรับการจัดเก็บเอกสารเพื่อการตรวจสอบของสรรพากรนั้น ไม่ได้มีบทบัญญัติในส่วนนี้ แต่ปกติเจ้าหน้าที่สรรพากรจะเรียกตรวจไม่เกิน 3 ปีย้อนหลัง และมีสิทธิเรียกตรวจได้เกินกว่านั้น เพราะอายุความทางคดีภาษีนั้นไม่มีที่สิ้นสุด

 

ถาม -2 ไม่ทราบว่า "ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี" และ "ผู้ทำบัญชี" มีความหมายต่างกันอยางไร

ตอบ - ความหมายตาม พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 (มาตรา 4) มีดังนี้

  • "ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี” หมายความว่า ผู้มีหน้าที่จัดให้มีการทำบัญชีตามพระราชบัญญัตินี้
  • "ผู้ทำบัญชี” หมายความว่า ผู้รับผิดชอบในการทำบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ไม่ว่าจะได้กระทำในฐานะเป็นลูกจ้าง ของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีหรือไม่ก็ตาม 

นั่นหมายถึงว่า

  • ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี คือ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร (คือ ตัวองค์ฺกร นั้นเองครับ)
  • ผู้ทำบัญชี คือ นักบัญชีของบริษัท (คือ ตัวพนักงาน น้นเองครับ)
 
 
 

สนใจบริการ หรือ ข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ

โทร 080 173 2000 ; 080 174 2000
โทร 02 933 5511

อีเมล์: info@53ac.com
และสำเนาอีเมล์ ถึง (CC) : 53ac.com@gmail.com

QRlogo

เพิ่ม นาราการบัญชี เป็นเพื่อน @nara53

 line-logo

contactt

แผนที่

https://goo.gl/maps/GBPpLfS42QsZg4jf6

เดินทาง รถไฟฟ้า สายสีเหลือง สถานี โชคชัย 4 ประตูทางออก 4 นาราฯ อยู่ในซอยลาดพร้าว 52

ที่อยู่ บริษัท นารา การบัญชี จำกัด

เลขที่ 4/1 ซอยลาดพร้าว 52 ถนนลาดพร้าว แขวงวังทองหลาง เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310

เราบริการ: จดทะเบียนบริษัท จัดตั้งบริษัท ตรวจสอบบัญชี บริการบัญชี จัดทำงบรายเดือน บัญชีรายเดือน วางระบบบัญชี ที่ปรึกษาด้านบัญชี บริการภาษีอากร ภาษีรายเดือน ภาษีรายปี ที่ปรึกษาภาษีอากร บริการตรวจสอบบัญชี ตรวจสอบพิเศษ ตรวจสอบพิเศษ(ตามความต้องการหรือข้อกำหนดของบริษัทแม่) เปิดบริษัท เลิกบริษัท จดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วน จดทะเบียนธุรกิจ ขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจ ขอใบอนุญาตทำงาน จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ขอหมายเลขผู้เสียภาษี คัดหนังสือรับรอง คัดเอกสารบริษัท แปลหนังสือรับรอง แปลเอกสารบริษัท โนตารี่พับลิค รับรองเอกสาร จัดหานักบัญชี ฝึกอบรมพนักงานบัญชี

ขอขอบคุณ ที่สนใจงานบริการของเรา บริษัท นาราการบัญชี จำกัด

copyright

__________________________________________________________________________________________