logo

รับรองเอกสาร รับรองโดยทนาย โนตารี่ พับลิค Notary Public

ทนายความผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสาร Notarial Services Attorney

 

 

บริการ โนตารี่ พับลิค (หรือ โนตารี่ ปับลิค)

  • รับรองเอกสาร เพื่อการนำไปใช้ต่างประเทศ
  • รับรองเอกสาร เพื่อการศึกษาต่อต่างประเทศ
  • รับรองเอกสาร เพื่อการทำงาน สมรส ย้านถิ่นฐาน ขอถิ่นที่อยู่ ต่างประเทศ
  • รับรองคำแปล รับรองผู้แปล
  • รับรองเอกสาร สำคัญบริษัท เพื่อการลงทุน หรือร่วมทุนระหว่างประเทศ หรือเพื่อการอื่น
  • รับรองเอกสารบุคคล สถานะสมรส ใบเกิด ใบตาย ใบเปลี่ยนชื่อ-สกุล
  • รับรองเอกสารสำคัญถิ่นที่อยู่
  • รับรองเอกสารการผ่านงาน
  • รับรองหนังสือเดินทาง
  • รับรองอื่นๆ เช่น คำสาบาน รับรองการประณีประนอมยอมความ รับรองการลงลายมือชื่อพยาน รับรองการลงลายมือชื่อผู้สมัครเรียน สมัครทำงาน สมัครสอบ และอื่นๆ

ทนาย โนตารีพับลิค ของเรา สามารถรับรองเอกสารได้ เทียบเท่ากับการรับรองเอกสารที กรมการกงศุล กระทรวงการต่างประเทศ โดยแยกประเภทการรับรองได้ดังนี้
1. การรับรองคำแปล 
1.1 คำแปลเอกสารภาษาไทยเป็นอังกฤษ 

  • เอกสารการทะเบียนราษฎรและเอกสารเกี่ยวกับบุคคล เช่น สูติบัตร มรณบัตร บัตรประจำตัวประชาชน บัตรประจำตัวคนต่างด้าวทะเบียนบ้าน ใบเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุล ฯลฯ
  • เอกสารการทะเบียนครอบครัว เช่น ใบสำคัญการสมรส ทะเบียนสมรส ใบสำคัญแสดงการหย่า ทะเบียนหย่า ทะเบียนรับบุตรบุญธรรมหนังสือรับรอง (ความเป็นโสด) ที่อำเภอออกให้ ฯลฯ
  • เอกสารการทะเบียนและเอกสารที่เกี่ยวกับนิติบุคคล เช่น ทะเบียน นิติบุคคล ใบทะเบียนการค้า ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนบริษัท หนังสือบริคณห์สนธิรายชื่อผู้ถือหุ้น รายงานการตรวจสอบบัญชี งบดุล ใบเสร็จการชำระภาษี ฯลฯ
  • เอกสารการศึกษา เช่น ใบสุทธิ ประกาศนียบัตร ปริญญาบัตร หนังสือ รับรองจากสถาบันการศึกษา ฯลฯ ทั้งนี้ หากเป็นเอกสารที่ออกโดยสถาบันการศึกษาของเอกชนต้องผ่านการรับรองจากกระทรวงศึกษาธิการก่อน 
  • เอกสารอื่น ๆ เช่น ใบอนุญาตจัดหางานไปทำงานต่างประเทศ ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ ฯลฯ

    1.2 คำแปลเอกสารภาษาอังกฤษเป็นไทย 

2. การรับรองลายมือชื่อผู้มีอำนาจลงนามในเอกสาร
การรับรองลายมือชื่อผู้มีอำนาจลงนามในเอกสาร ได้แก่

  • เอกสารทางการค้า เช่น ใบกำกับราคาสินค้า ใบรับรองแหล่ง กำเนิดสินค้า ฯลฯ ต้องผ่านการรับรองจากกระทรวงพาณิชย์หรือหอการค้าไทย หรือสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยก่อน
  • เอกสารทางการเงิน เช่น หนังสือรับรองการเงินที่ออกโดยธนาคารและลงนามโดยผู้มีอำนาจของธนาคารที่ออกเอกสารนั้น 
  • หนังสือมอบอำนาจ (ในนามบริษัท) ผู้มอบอำนาจต้องเป็นกรรมการบริษัทผู้มีอำนาจลงนามตามที่ระบุในหนังสือรับรองของกระทรวงพาณิชย์ และต้องมาลงนามต่อหน้าเจ้าหน้าที่     
  • หนังสือมอบอำนาจ (ส่วนบุคคล) ผู้มอบอำนาจต้องมาลงนามต่อหน้าเจ้าหน้าที่ 
  • หนังสือรับรองอื่น ๆ อาทิ หนังสือรับรองผลการวิเคราะห์สินค้า และหนังสือรับรองความประพฤติ ต้องเป็นเอกสารซึ่งออกหรือผ่านการรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 

3. การรับรองสำเนาเอกสารที่หน่วยงานราชการไทยออกให้

  • เอกสารการทะเบียนราษฎรและเอกสารเกี่ยวกับบุคคล เช่น สูติบัตร มรณบัตร บัตรประจำตัวประชาชน หนังสือเดินทาง ฯลฯ
  • เอกสารการทะเบียนครอบครัว เช่น ใบสำคัญการสมรส ทะเบียนสมรสใบสำคัญแสดงการหย่า หนังสือรับรองความเป็นโสด ฯลฯ
  • เอกสารการทะเบียนและเอกสารที่เกี่ยวกับนิติบุคคล เช่น ทะเบียนนิติบุคคล ใบทะเบียนการค้า ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนบริษัท หนังสือบริคณห์สนธิ ฯลฯ
  • เอกสารการศึกษา เช่น ใบสุทธิ ประกาศนียบัตร ปริญญาบัตร และหนังสือรับรองสถาบันการศึกษา ฯลฯ
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หากยื่นแทนเจ้าของเอกสารต้องมีหนังสือมอบอำนาจ และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ


ค่าบริการ คิดเป็นเรื่อง ในอัตราเรื่องละ 1,000 บาท
(มีอัตราพิเศษหาก ใช้บริการหลายเรื่อง)
(กรณี จัดส่งทาง EMS ท่านต้อง บวกค่าจัดส่งเพิ่ม 50 บาท )

 

สนใจบริการ หรือ ข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ

โทร 080 173 2000 ; 080 174 2000
โทร 02 933 5511

อีเมล์: info@53ac.com
และสำเนาอีเมล์ ถึง (CC) : 53ac.com@gmail.com

QRlogo

เพิ่ม นาราการบัญชี เป็นเพื่อน @nara53

 line-logo

contactt

แผนที่

https://goo.gl/maps/GBPpLfS42QsZg4jf6

เดินทาง รถไฟฟ้า สายสีเหลือง สถานี โชคชัย 4 ประตูทางออก 4 นาราฯ อยู่ในซอยลาดพร้าว 52

ที่อยู่ บริษัท นารา การบัญชี จำกัด

เลขที่ 4/1 ซอยลาดพร้าว 52 ถนนลาดพร้าว แขวงวังทองหลาง เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310


Notary Public ในประเทศไทย

ชื่อเรียก

  • ทนายความผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสาร Notarial Services Attorney
  • ข้อบังคับสภาทนายความ ว่าด้วยการขึ้นทะเบียนทนายความผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสาร พ.ศ. 2551 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 8 มกราคม 2552

คุณสมบัติ

  • ประกอบอาชีพทนายความ (มีใบอนุญาตจากสภาทนายความ)
  • ไม่อยู่ระหว่างถูกลงโทษฐานประพฤติผิดมารยาท ม.51(2) หรืออยู่ระหว่างถูกสอบสวนคดีมารยาท
  • ไม่เคยถูกลบชื่อ เหตุประพฤติผิดมารยาททนายความ
  • มีความซื่อสัตย์สุจริต ไม่มีประวัติเสื่อมเสียเรื่องการับรองลายมือชื่อหรือนิติกรรม
  • ผ่านการอบรมและทดสอบ ตามที่สภาทนายความกำหนด

การขึ้นทะเบียน

  • ผ่านการฝึกอบรม และผ่านการทดสอบ ตามที่สภาทนายความกำหนด
  • สภาทนายความออกหนังสือรับรอง
  • ให้เลขทะเบียน
  • ให้ตราประทับ
  • ส่งรายชื่อให้กระทรวงต่างประเทศ และสถานทูตต่างในประเทศไทย

กรณีสภาทนายความไม่รับขึ้นทะเบียน หรือไม่รับต่ออายุ

  • ต้องแสดงเหตุผลชัดเจน
  • ผู้ยื่นมีสิทธิ์อุทธรณ์ต่อ “สภานายกพิเศษ แห่งสภาทนายความ” (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม)
  • 30 วัน จากได้รับคำสั่ง

จำนวน

  • ไม่จำกัดจำนวน

เขตอำนาจ

  • ไม่จำกัดพื้นที่ กระทำการได้ทั่วประเทศ

ระยะเวลา

  • 2 ปี
  • ต่ออายุได้ ต้องยื่นคำขอภายใน 90 วัน ก่อนสิ้นอายุ

ค่าตอบแทน

  • ไม่มีกฎหมายกำหนดอัตราค่าธรรมเนียม
  • เก็บในอัตราที่เป็นธรรม
  • ควรแจ้งรายละเอียดค่าบริการให้ทราบล่วงหน้า (ป้องกันข้อขัดแย้ง)

การกำกับดูแล

  • สภาทนายความเป็นผู้สอดส่องดูแลการทำงานของทนายความผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสาร

การปฎิบัติหน้าที่

  • แนวทางในการปฎิบัติหน้าที่ 10 ประการ
  • รายละเอียดปรากฎในคู่มือ
  • ต้องให้ผู้จะลงลายมือชื่อมาปรากฎตัวต่อหน้าเสมอ ต้องตรวจบัตรประจำตัว
  • อธิบายให้รู้ถึงความสำคัญของการลงรายมือชื่อ
  • คำรับรองต้องชัดเจนว่า รับรองอะไร แค่ไหน (เพื่อป้องกันตนเอง)
  • ไม่ออกคำรับรองเท็จ หรือไม่ครบถ้วนสมบูรณ์
  • ไม่เกี่ยวข้อกับเอกสารเท็จ หรือธุระกรรมที่ฉ้อฉลหลอกลวง
  • สมุดทะเบียน เก็บสำเนา 1 ชุด ไว้ที่สำนักงานเสมอ
  • รักษาความลับ

อำนาจหน้าที่

  • มีอำนาจทำการรับรองเอกสาร รับรองข้อเท็จจริง รับรองความถูกต้องของเจตนาของคู่สัญญา ความถูกต้องของลายมือชื่อของคู่สัญญาและความมีผลทางกฎหมายของเอกสาร
  • กรณีจัดทำเอกสารสัญญา – เป็นเอกสารเอกชน ถ้ามีข้อพิพาทในศาล คู่คึวามต้องนำพยานมาสืบเพิ่มเติม

สมุดทะเบียนการรับรอง

  • ต้องมีรายละเอียดอย่างน้อง
  • วันที่รับเอกสาร
  • ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ยื่นขอ
  • ชื่อเจ้าของเอกสาร
  • ชื่อ และ/หรือ ประเภทของเอกสาร
  • วันเดือนปี ที่ทำคำรับรอง
  • เก็บสำเนาเอกสารสัญญาต่างๆ ที่ทำคำรับรอง 1 ชุด
  • 5 ปี นับจากวันรับรองครั้งสุดท้าย
  • ยินยอมให้มีการตรวจสอบได้

ความรับผิดชอบ

  • ต้องรับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการกระทำหน้าที่ที่ขัดต่อกฎหมาย หรือบกพร่องในการปฎิบัติหน้าที่ของตน
  • ต้องรับผิดทางเพ่ง ทางอาญา ผิดมรรยาททนายความ ซึ่งอาจถูกลงโทษถึงขั้นถอนใบอนุญาตว่าความ

ประกันภัย

  • ไม่มีกฎหมายบังคับให้ทนายความผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสาร ต้องทำประกันภัย

การพ้นสภาพ

  • พันสภาพเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทนายความ
  • ขาดต่ออายุหนังสือรับรอง
  • ถูกลงโทษฐานประพฤติผิดมรรยาท ตาม ม.52(2)
  • ทำการรับรองโดยผิดต่อข้อบังคับสภาทนายความหรือผิดระเบียบสภาทนายความและสภาทนายความ
    มีมติให้พ้นสภาพ
  • ขาดคุณสมบัติ ไม่ว่าก่อนหรือหลังการขึ้นทะเบียน
บทความดีดี จาก ทนายณัฐวัฒน์

ก่อนอื่น ขอขอบคุณทุกท่านที่เข้าเยี่ยมชมเวปไซท์โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน้านี้ “Notary Public” หรือ “ทนายผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสาร” เราคาดหวังว่าข้อมูลในเวปไซท์หน้านี้จะเป็นประโยชน์ และเป็นที่พอใจ ทำให้ท่านเข้าใจในขอบเขตของการทำการรับรองเอกสาร (Notary Public) เราพยายามที่จะรวบรวมความรู้ที่เกี่ยวข้อง ความเป็นมา และตัวอย่างการรับรองแต่ละประเภท เพื่อให้ง่ายและสะดวกต่อท่าน

ด้วยความเคารพ
ทนาย ณัฐวัฒน์ เชี่ยวชาญวิช

หนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนเป็นทนายความผู้ทำคำรับรองรายมือชื่อและเอกสาร
notaryCer
ex.notary

ตัวอย่าง การรับรองการลงลายมือชื่อของผู้แปลเอกสารเป็นภาษาอังกฤษ

To whom it may concern


I, the undersigned, Attorney at Law and Member of the Law Society of Thailand, License No. …….. , do hereby certify that Mr…………………………………. , personally know to me to the same person wholse name and signature is shown in the attached copies of the English translation of the attached Thai documents appeared before me, this day in person with the original thereof.

I, hereby confirm that the attached are true and correct copies translated by Mr…………………………………

Given on this 7th day of September 1998 in The Province of ……………………………………….Kingdom of Thailand.

……………………………………
Mr. ……………………………….
Notarial Services Attorney
Member of the Law Society of Thailand
License No. ……………………………
License Expired: …………………………

ตัวอย่าง การรับรองสัญชาติของคนอังกฤษที่มีถิ่นพำนักในประเทศไทย

NATIONALITY CERTIFICATE

I, Mr. …………………………………, attorney-at-law of …………………………, Ladprao Road, Wangthonglang 10310, Thailand, do hereby certify that Mr. ……………………………………………… born on the 29th April 1970, and residing at ………………………………… Sukhumvit Road, Wattana Bangkok 10110, Thaialnd is a citizen of the United Kingdom, holding the United Kingdom passport No…………………

 

……………………………………………….
Mr………………………………………
Notarial Services Attorney

ตัวอย่าง การรับรองคนสัญชาติไทยตามสำเนาหนังสือเดินทางที่นำมาแสดงพร้อมกับต้นฉบับ

BANGKOK METROPOLIS
THAILAND

TO WHOM IT MAY CONCERN

I, the undersigned, Attorney at Law and Ordinary Member of the Law Society of Thailand, do hereby certify that Mr………………………………. presently residing at No…………… Ramkhamhaeng Road, Huamark, Bangkapi Bangkok 10240 and personally known to me to be the same person whose name is shown in the attached copy of the passport No. ………. Issued on …… November 2009 by The Passport Division Bangkok, Ministry of Foreign Affairs, the original of which is shown before me this day.

I , hereby confirm that the attached copy is true and correct in all respects corresponding to the original.
Given on this 24th October 2010 in Bangkok Metropolis, Thailand.

 

…………………………………..
Mr…………………………….
ATTORNEYS AT LAW
Address………

ตัวอย่าง คำรับรองใบเกิด

Certificate

    I, Mr.Nattawat Chiewchanwich,Esq. Notarial Services Attorney, hereby certify that:
On December 1, 2011, I examined the attached copy of Birth Certificate  and   compared the same with the document presented to me as the original documents and found it to be a true and complete copy of the original document presented.

___________________________
( Mr.Nattawat Chiewchanwich ,Esq )
Notarial Services Attorney

                                                    

ตัวอย่าง การรับรองใบสมัครงานประเทศแคนาดา

Certificate
I, Mr.Nattawat Chiewchanwich,Esq. Notarial Services Attorney, hereby certify that:
On December 1, 2011, I examined the attached copy of Generic Application Form for CANADA and compared the same with the document presented to me as the original documents and found it to be a true and complete copies of the original document presented.

____________________________
( Mr.Nattawat Chiewchanwich ,Esq )
Notarial Services Attorney

ตัวอย่าง การรับรองใบผ่านงานจากประเทศสิงคโปร์

Certificate
I, Mr.Nattawat Chiewchanwich,Esq. Notarial Services Attorney, hereby certify that:
On December 1, 2011, I examined the attached copy of Entry Permit of Singapore and compared the same with the document presented to me as the original documents and found it to be a true and complete copy of the original document presented.

____________________________
( Mr.Nattawat Chiewchanwich ,Esq )
Notarial Services Attorney

ตัวอย่าง การรับรองหนังสือเดินทาง เพื่อการเดินทางไปทำงานต่างประเทศ

Certificate
I, Mr.Nattawat Chiewchanwich,Esq. Notarial Services Attorney, hereby certify that:
On December 1, 2011, I examined the attached copy of Passport and Visas of Mr......................... and compared the same with the document presented to me as the original documents and found it to be a true and complete copy of the original document presented.

____________________________
( Mr.Nattawat Chiewchanwich ,Esq )
Notarial Services Attorney

 

 

โนตารี่ พับลิค - ความเป็นมาในประเทศไทย

27 สิงหาคม พ.ศ. 2542

  1. ทนายความรับรองการทำนิติกรรม
  2. คุณสมบัติของทนายความรับรองการทำนิติกรรม
  3. การแต่งตั้งทนายความรับรองการทำนิติกรรม
  4. การดำรงตำแหน่งและระยะเวลาสิ้นสุด
  5. การบริหารงานของทนายความรับรองการทำนิติกรรม
  6. กฎข้อบังคับและข้อบังคับมรรยาททนายความรับรองการทำนิติกรรม

27 สิงหาคม พ.ศ. 2542

                        1. นายเดชอุดม  ไกรฤทธิ์                    เป็น     ประธานคณะทำงาน
                        (อุปนายกฝ่ายนโยบายและแผนงาน)
                        2. นายสมัคร   เชาวภานันท์                เป็น     คณะทำงาน
                        (อุปนายกฝ่ายบริหาร/กรรมการประชาสัมพันธ์)
                        3. นายสุชาติ   ธรรมาพิทักษ์กุล           เป็น     คณะทำงาน
                        (อุปนายกฝ่ายวิชาการ/ผู้อำนวยการสำนักฝึกอบรมวิชาว่าความฯ)
โดยชอบด้วยระเบียบและกฎหมายของสภาทนายความ และอุปนายกฝ่ายนโยบายและแผนงานเสนอ
24 กันยายน พ.ศ. 2542

28 กันยายน พ.ศ. 2542

13 ตุลาคม พ.ศ. 2542

20 ตุลาคม พ.ศ. 2542

1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542

24 กันยายน พ.ศ. 2543

23 พฤษภาคม พ.ศ. 2546

18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

28 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

7 สิงหาคม พ.ศ. 2551

นายกสภาทนายความ ออกหนังสือที่ สท.484/2551 ถึงนายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม สภานายกพิเศษแห่งสภาทนายความ เรื่องหลักการและเหตุผลในการออกข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยการขึ้นทะเบียนทนายความ
ผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสาร พ.ศ. 2551 เพื่อขอส่งหลักการ
และเหตุผลในการออกข้อบังคับฯ เพื่อประกอบการพิจารณาให้ความเห็นชอบ

13 สิงหาคม พ.ศ. 2551

14 สิงหาคม พ.ศ. 2551

27 สิงหาคม พ.ศ. 2551

30 กันยายน พ.ศ. 2551

10 ตุลาคม พ.ศ. 2551

6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

4 ธันวาคม พ.ศ. 2551

8 มกราคม พ.ศ. 2552

20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

21 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

29 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

นายกสภาทนายความ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสภาทนายความออกระเบียบว่าด้วยการ
ขึ้นทะเบียนทนายความผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสาร พ.ศ. 2552 ฉบับลงวันที่ 29 พฤษภาคม 2552 เพื่อใช้บังคับต่อไป

ระเบียบว่าด้วยการ

ขึ้นทะเบียนทนายความผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสาร พ.ศ. 2552

อาศัยอำนาจตามความในข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยการแบ่งส่วนงานของสภาทนายความและอำนาจหน้าที่ของกรรมการ
สภาทนายความ พ.ศ. 2547 ข้อ 4 และข้อ 5 และข้อบังคับสภาทนายความ ว่าด้วยการขึ้นทะเบียนทนายความผู้ทำคำรับรอง
ลายมือชื่อและเอกสาร พ.ศ. 2551 ข้อ 4 (2)  นายกสภาทนายความ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสภาทนายความ ได้ออกระเบียบและหลักเกณฑ์ว่าด้วยการขึ้นทะเบียนทนายความผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสาร พ.ศ. 2552 ดังต่อไปนี้

ข้อ 1  ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบว่าด้วยการขึ้นทะเบียนทนายความผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสาร พ.ศ. 2552”

  ข้อ 2  ระเบียบนี้ให้ใช้ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป

  ข้อ 3  ให้ยกเลิกคำสั่งและข้อกำหนดว่าด้วยการขึ้นทะเบียนทนายความผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสาร พ.ศ. 2543 และ พ.ศ. 2546

  ข้อ 4  บรรดาระเบียบ คำสั่ง และข้อกำหนดอื่นใดที่กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัติของระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน

ข้อ 5  ในระเบียบนี้

  (1)  “ระเบียบ” หมายความว่า ระเบียบว่าด้วยการขึ้นทะเบียนทนายความผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสาร พ.ศ. 2552

  (2) “ข้อบังคับ” หมายความว่า ข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยการขึ้นทะเบียนทนายความผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสาร พ.ศ. 2551

  (3) “สำนักงาน” หมายความว่า สำนักงานทะเบียนแบบการรับรองลายมือชื่อและเอกสาร

  (4) “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการตามข้อ 9 ของระเบียบนี้

  (5) “ผู้อำนวยการ” หมายความว่า ผู้อำนวยการสำนักงานทะเบียนแบบการรับรองลายมือชื่อและเอกสารตามระเบียบนี้ และให้หมายรวมถึงบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการด้วย

ส่วนที่ 1

สำนักงานทะเบียนแบบการรับรองลายมือชื่อและเอกสาร

ข้อ 6  ให้สำนักงานดำเนินการฝึกอบรมหลักปฏิบัติทั่วไปในการรับรองลายมือชื่อและเอกสาร ฝึกอบรมจรรยาบรรณและการทดสอบเชิงปฏิบัติการงานรับรองลายมือชื่อและเอกสารตามแบบที่คณะกรรมการกำหนด

  ข้อ 7  ผู้เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรการรับรองลายมือชื่อและเอกสาร ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

(1) ต้องเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทนายความ และไม่อยู่ระหว่างถูกลงโทษฐานประพฤติผิดมรรยาททนายความ ตามมาตรา 52 (2)
แห่งพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ.2528 หรืออยู่ระหว่างถูกสอบสวนในคดีประพฤติผิดมรรยาททนายความ

  (2) ไม่เคยถูกลบชื่อออกจากทะเบียนทนายความ เพราะเหตุประพฤติผิดมรรยาททนายความ

  (3) เป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริต และไม่เคยมีประวัติเสื่อมเสียเกี่ยวกับการรับรองลายมือชื่อ เอกสารหรือนิติกรรม

ผู้เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรการรับรองลายมือชื่อและเอกสารซึ่งได้ผ่านการฝึกอบรมและการทดสอบที่จัดโดยสำนักงานตามหลักสูตร
ที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้เท่านั้น มีสิทธิขอขึ้นทะเบียนเป็นทนายความผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสารตามข้อบังคับของสภาทนายความ

  ข้อ 8  ให้ผู้อำนวยการเป็นผู้บริหารกิจการของสำนักงานตามนโยบายหรือมติของคณะกรรมการ

ข้อ 9  ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง ซึ่งแต่งตั้งโดยคณะกรรมการสภาทนายความ เรียกว่า คณะกรรมการอำนวยการสำนักงานทะเบียน
แบบการรับรองลายมือชื่อและเอกสาร ซึ่งประกอบด้วย อุปนายกสภาทนายความฝ่ายวิชาการ ทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการ และกรรมการอื่นซึ่งคณะกรรมการสภาทนายความแต่งตั้งรวมไม่เกิน 15 คน ทั้งนี้ให้นายก อุปนายก
และเลขาธิการสภาทนายความ เป็นที่ปรึกษาโดยตำแหน่ง

 

ข้อ 10  ให้คณะกรรมการดำรงตำแหน่งเท่ากับวาระของคณะกรรมการสภาทนายความซึ่งเป็นผู้แต่งตั้งให้เข้ารับตำแหน่ง

คณะกรรมการสภาทนายความอาจมีมติให้กรรมการคนใดคนหนึ่ง หรือทั้งคณะ พ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระก็ได้ และจะแต่งตั้งบุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นกรรมการแทนกรรมการที่ตาย ลาออกหรือต้องพ้นตำแหน่งก่อนวาระก็ได้ คณะกรรมการหรือกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งแทนนี้ให้อยู่ในตำแหน่งได้เท่าวาระของกรรมการที่ตนแทน

  ข้อ 11  ในกรณีที่คณะกรรมการพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ ไม่ว่าจะเป็นการพ้นจากตำแหน่งตามวาระหรือก่อนครบวาระก็ตาม ให้ผู้อำนวยการยังคงรักษาการในตำแหน่งเช่นนั้นต่อไปจนกว่าจะมีคณะกรรมการชุดใหม่เข้ารับหน้าที่

ข้อ 12  ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้

    (1) กำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติในการบริหารกิจการสำนักงานให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของสภาทนายความ

  (2) กำหนดรายละเอียดของหลักสูตรการรับรองลายมือชื่อและเอกสาร ตลอดจนเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการฝึกอบรมตามความเหมาะสม

  (3) กำหนดค่าธรรมเนียมที่จะพึงเรียกเก็บจากผู้เข้ารับการฝึกอบรม แต่ต้องไม่เกินห้าพันบาท

(4) จัดทำประมาณการรายรับ-รายจ่าย และรายงานเกี่ยวกับฐานะทางการเงินของสำนักงานเสนอต่อคณะกรรมการสภาทนายความเพื่อให้ความเห็นชอบ

  (5) จัดทำรายงานการฝึกอบรมเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการสภาทนายความ

  (6) คัดเลือก แต่งตั้ง และสับเปลี่ยนผู้บรรยาย ผู้ทดสอบและผู้ควบคุมหรือผู้ให้การฝึกอบรมตามที่เห็นสมควร

  (7) แต่งตั้งและถอดถอนที่ปรึกษาหรือคณะที่ปรึกษาอื่น ซึ่งคณะกรรมการแต่งตั้งตามที่เห็นสมควร

  (8) ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ที่จำเป็นและสมควร เพื่อให้กิจการของสำนักงานสำเร็จผลด้วยดี

ข้อ 13  ให้ผู้อำนวยการเป็นผู้กำหนดนัดและเรียกประชุมคณะกรรมการได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม

  ในการประชุมคณะกรรมการจะต้องมีกรรมการเข้าร่วมประชุมอย่างน้อยกึ่งหนึ่งจึงจะเป็นองค์ประชุม ให้ผู้อำนวยการหรือกรรมการที่ผู้อำนวยการมอบหมายทำหน้าที่เป็นประธานที่ประชุม

  มติของที่ประชุมคณะกรรมการให้ถือเสียงข้างมาก ในกรณีที่คะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานที่ประชุมมีสิทธิออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด

ส่วนที่ 2

หลักสูตร

ข้อ 14  ให้สำนักงานทะเบียนแบบการรับรองลายมือชื่อและเอกสารจัดให้มีการฝึกอบรมการรับรองลายมือชื่อและเอกสารเป็นประจำทุกปี ปีละไม่น้อยกว่า 1 ครั้ง

  ข้อ 15  หลักสูตรการรับรองลายมือชื่อและเอกสารเป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการ ซึ่งอย่างน้อยจะต้องมีระยะเวลาและรายละเอียดที่สำคัญ ดังนี้

  (1) หลักการและอำนาจหน้าที่  (1 ชั่วโมง)

  ก. หลักการ ความสำคัญและประโยชน์ของการรับรองลายมือชื่อและเอกสาร

  ข. อำนาจหน้าที่ในการทำคำรับรอง

(2) ประเภทและแบบของการรับรองลายมือชื่อและเอกสาร  (2 ชั่วโมง)

  ก. การรับรองสำเนาเอกสาร

  ข. การรับรองลายมือชื่อ

  ค. การทำคำสาบาน

  ง. การรับรองบุคคล

  จ. การบันทึกคำให้การที่ต้องมีการสาบาน

  ฉ. การทำคำคัดค้าน

  ช. วิธีการรับรองและตราประทับ

  (3) ขอบเขตและหน้าที่ในการรับรอง  (1 ชั่วโมง)

  (4) การขึ้นทะเบียน, การต่ออายุ, การใช้ตราประทับ, สติ๊กเกอร์, หลักการและสาระสำคัญของข้อกำหนดฯ  (1 ชั่วโมง)

(5) เปรียบเทียบการรับรองกับ Notary public ในต่างประเทศ (2 ชั่วโมง)

  (6) จรรยาบรรณ ข้อควรระมัดระวัง และความรับผิดในการรับรอง  (2 ชั่วโมง)

  ก. ความรับผิดทางแพ่ง

  ข. ความรับผิดทางอาญา

  ค. การประพฤติผิดมรรยาททนายความ

  (7) คุณสมบัติและการพ้นสภาพจากการเป็นทนายความผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสาร  (1 ชั่วโมง)

  (8)  กรณีศึกษา  (2 ชั่วโมง)

  (9)  การทดสอบ  (3 ชั่วโมง)

ส่วนที่ 3

หน้าที่ของผู้เข้ารับการฝึกอบรม

ข้อ 16  ผู้สมัครรับการฝึกอบรมจะต้องเข้ารับการฝึกอบรมตามวัน เวลา ที่คณะกรรมการกำหนด โดยคณะกรรมการจะประเมินผลจากเวลาที่เข้าฝึกอบรมจริง โดยต้องมีเวลาเข้าฝึกอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 85 และประเมินผลจากการทดสอบ ผู้ผ่านการทดสอบจะได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นทนายความผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสาร โดยได้รับหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนจากสำนักงาน พร้อมตราประทับ

  ข้อ 17  คณะกรรมการมีสิทธิคัดชื่อผู้เข้ารับการฝึกอบรมออกจากทะเบียนผู้สมัคร หรือสั่งพักการฝึกอบรมได้ตามระยะเวลาที่เห็นสมควร หากปรากฏว่าผู้เข้ารับการฝึกอบรมขาดคุณสมบัติหรือประพฤติตนไปในทางที่อาจจะทำให้เกิดความเสื่อมเสียหรือความเสียหายแก่สำนักงานทะเบียนหรือสภาทนายความ

  ข้อ 18    ให้ผู้อำนวยการโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ ประกาศกำหนดเวลาการฝึกอบรมและการทดสอบในแต่ละปีก่อนล่วงหน้าตามระยะเวลาพอสมควร

ส่วนที่ 4

การขึ้นทะเบียนและการต่ออายุ

ข้อ 19  การขอขึ้นทะเบียนเป็นทนายความผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสาร ผู้ขอจะต้องมีคุณสมบัติตามข้อ 4 ของข้อบังคับ และให้ยื่นคำขอต่อสำนักงานตามแบบ ทรอ.1 ท้ายระเบียบนี้

  ข้อ 20  หนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนและตราประทับให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกำหนด

  ข้อ 21  การต่ออายุหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนให้ยื่นคำขอต่อสำนักงาน ตามแบบ ทรอ.2  ท้ายระเบียบนี้ภายใน 90 วัน ก่อนวันสิ้นอายุ โดยผู้ยื่นคำขอต้องยังคงมีคุณสมบัติครบถ้วนตามข้อ 4 ของข้อบังคับ และต้องชำระค่าธรรมเนียมตามระเบียบนี้สำหรับการต่ออายุคราวหนึ่ง ซึ่งจะมีผลให้ได้รับการต่ออายุอีก 2 ปี

ข้อ 22  ในกรณีที่หนังสือรับรอง หรือตราประทับสูญหาย หรือชำรุดเสียหายในสาระสำคัญให้ทนายความผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสารยื่นคำขอรับใบแทนหรือตราประทับแทนต่อสำนักงานตามแบบ ทรอ.3 ท้ายระเบียบนี้ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ทราบการสูญหายหรือชำรุดเสียหาย ทั้งนี้ให้เสียค่าธรรมเนียมตามระเบียบนี้

  ข้อ 23  ทนายความที่ได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นทนายความผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสาร หากมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลจากที่แจ้งไว้เดิม จะต้องยื่นคำขอแจ้งเปลี่ยนแปลงข้อมูลต่อสำนักงานตามแบบ ทรอ.4 ท้ายระเบียบนี้ภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น โดยให้เสียค่าธรรมเนียมตามระเบียบนี้

  ข้อ 24  ในกรณีที่สภาทนายความไม่รับขึ้นทะเบียนให้แก่ผู้ยื่นคำขอ หรือไม่รับการต่ออายุหนังสือรับรอง ต้องแสดงเหตุผลของการไม่รับขึ้นทะเบียนหรือไม่ต่ออายุหนังสือรับรองโดยชัดแจ้ง  ในกรณีเช่นนี้ผู้ยื่นคำขออาจโต้แย้งคำสั่งไม่รับขึ้นทะเบียนหรือไม่รับต่ออายุต่อสภานายกพิเศษตามแบบ ทรอ.5 ท้ายระเบียบนี้ ภายในกำหนด 30 วันนับจากวันที่ได้รับแจ้งคำสั่งไม่รับขึ้นทะเบียน

ข้อ 25  ให้ทนายความที่ได้รับการขึ้นทะเบียนพ้นสภาพการเป็นทนายความผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสาร ในกรณีใดกรณีหนึ่งต่อไปนี้

  (1) พ้นสภาพการเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทนายความ

  (2) ขาดต่ออายุหนังสือรับรอง

  (3) ถูกลงโทษฐานประพฤติผิดมรรยาททนายความ ตามมาตรา 52 (2) แห่งพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528

  (4) ทำการรับรองลายมือชื่อหรือเอกสารหรือคำรับรองใดโดยผิดต่อข้อบังคับของสภาทนายความหรือผิดต่อระเบียบนี้  และสภาทนายความมีมติให้พ้นสภาพ

  (5) ขาดคุณสมบัติตามที่กำหนดในข้อบังคับไม่ว่าก่อนหรือหลังการขึ้นทะเบียน

ข้อ 26  ในกรณีที่มีการกล่าวหาโดยผู้มีส่วนได้เสีย หรือในกรณีที่ปรากฏต่อสภาทนายความว่า ทนายความผู้ทำคำรับ
รองลายมือชื่อและเอกสารขาดคุณสมบัติตามข้อ 4 แห่งข้อบังคับหรือข้อ 7 แห่งระเบียบนี้หรือปฏิบัติฝ่าฝืนระเบียบนี้ ให้ผู้อำนวยการแต่งตั้งทนายความผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสารที่ได้รับอนุญาตว่าความมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสิบปี เป็นประธานคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงและกรรมการอีกสองคนทำการสอบสวนข้อเท็จจริงและทำความเห็นเสนอต่อคณะ
กรรมการสภาทนายความเพื่อพิจารณาสั่งต่อไป

  ในกรณีที่คณะกรรมการสภาทนายความมีคำสั่งให้ทนายความผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสารคนใดพ้นสภาพการเป็นทนายความ
ผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสารตามข้อ 25 (4) แห่งระเบียบนี้ ให้ผู้อำนวยการมีหนังสือแจ้งคำสั่งนั้นแก่ทนายความผู้นั้นโดยเร็ว

  ข้อ 27  ทนายความที่พ้นสภาพการเป็นทนายความผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสารตามที่กล่าวในข้อ 25 มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของสภา
ทนายความต่อสภานายกพิเศษตามแบบ ทรอ.5 ท้ายระเบียบนี้ ภายในกำหนด 30 วัน นับจากวันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง

ส่วนที่ 5

สมุดทะเบียนการทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสาร

ข้อ 28  ในการทำคำรับรอง ให้ทนายความผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสารจัดทำสมุดทะเบียนคำรับรอง โดยอย่างน้อยให้มีรายการดังต่อไปนี้

  (1) วันที่รับเอกสาร

  (2) ชื่อและที่อยู่ของผู้ยื่นขอให้ทำคำรับรอง

  (3) ชื่อเจ้าของเอกสาร

  (4) ชื่อและ/หรือประเภทของเอกสาร

  (5) วันเดือนปี ที่ทำคำรับรอง

  ข้อ 29  ทนายความผู้ทำคำรับรองจะต้องเก็บรักษาสมุดทะเบียนคำรับรองเพื่อให้ตรวจสอบได้เป็นระยะเวลา 5 ปี นับจากรายการรับรองครั้งสุดท้าย

ส่วนที่ 6

ค่าธรรมเนียม

ข้อ 30  ให้กำหนดค่าธรรมเนียมดังต่อไปนี้

  (1) การขึ้นทะเบียนเป็นทนายความผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสาร  800  บาท

  (2) การรับหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนเป็นทนายความผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสาร สองปี ฉบับละ  800  บาท

  (3) ตราประทับดวงละ  500  บาท

  (4) การต่ออายุหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียน ครั้งละ 800 บาท

  (5) การออกใบแทนหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียน ฉบับละ 100  บาท

(6) การออกดวงตราประทับแทนดวงตราเดิม ดวงละ  500    บาท

  (7) การแจ้งเปลี่ยนแปลงข้อมูลทางทะเบียน ครั้งละ   50      บาท

  (8) การออกหนังสือรับรองกรณีต่าง ๆ ฉบับละ   50      บาท

  (9) การรับรองสำเนาเอกสาร     ฉบับละ                20      บาท

ส่วนที่ 7

บทเฉพาะกาล

ข้อ 31  ให้ทนายความที่ได้ผ่านการอบรมหลักสูตรทนายความผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสารตามข้อ 5 แห่งข้อกำหนดว่าด้วยการขึ้นทะเบียนทนายความผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสาร พ.ศ. 2546  เป็นทนายความที่ได้ผ่านการอบรมตาม ข้อ 7 วรรคสองแห่งระเบียบนี้

  ข้อ 32  ให้ทนายความที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นทนายความผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสารตามข้อกำหนดว่าด้วยการขึ้นทะเบียนทนายความผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสาร พ.ศ. 2546 ก่อนวันที่ระเบียบนี้มีผลใช้บังคับ เป็นทนายความผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสารตามระเบียบนี้

  ประกาศ  ณ  วันที่  29  พฤษภาคม  พ.ศ. 2552

  นายเดชอุดม  ไกรฤทธิ์

   นายกสภาทนายความ

 

Q&A

ถาม 1: Notarial Services Attorney คือใครและมีหน้าที่      ทำอะไร และทำหน้าที่ต่างกับ Notary Public หรือไม่ และจะหาบุคคลที่ทำหน้าที่ Notarial Services  Attorney ในประเทศไทยได้ที่ไหน

ตอบ 1: Notarial Services Attorney คือทนายความที่ได้รับใบอนุญาตจาก     สภาทนายความแห่งประเทศไทย ให้ทำหน้าที่รับรองลายมือชื่อที่มีการลงชื่อต่อหน้าในเอกสารนั้นๆ หรือรับรองสำเนาเอกสารเช่นว่านั้น ว่าเป็นเอกสารที่ถูกต้องแท้จริงจากต้นฉบับ หรือทำคำรับรองประเภทอื่น ๆ รวมทั้งการลงชื่อในฐานะเป็นพยานในเอกสารเช่นว่านั้นด้วย ทั้งนี้ ส่วนมากแล้ว    จะนำเอกสารเหล่านั้นไปใช้ในต่างประเทศ หรือใช้ที่สถานทูตต่างประเทศที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยเป็นต้น ดังนั้น การทำหน้าที่ของ Notarial Services Attorney จึงไม่แตกต่างไปจากการทำหน้าที่ของ Notary Public ในต่างประเทศแต่อย่างใด แต่สำหรับคนต่างประเทศแล้วคงจะเข้าใจและคุ้นเคยกับบุคคลที่ทำหน้าที่ Notary Public เป็นอย่างดี แต่อาจจะไม่ทราบว่าในประเทศไทยมีบุคคลที่ทำหน้าที่ให้บริการอย่างโนตารี่   ( Notary Services ) แล้วหรือไม่ และเป็นใคร อยู่ที่ไหน
ในปี พ.ศ.2546 สภาทนายความแห่งประเทศไทย ( Lawyers Council of Thailand ) ได้บัญญัติข้อกำหนดว่าด้วย การขึ้นทะเบียนเป็นทนายความผู้ทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสาร    ปี พ.ศ.2546 และได้เปิดการอบรมหลักสูตรการรับรองลายมือชื่อและเอกสารให้แก่ทนายความ     ที่ต้องการทำหน้าที่ดังกล่าว พร้อมทั้งออกใบอนุญาตให้แก่ทนายความที่สอบผ่านการอบรมในหลักสูตรดังกล่าวแล้ว ทั้งนี้ เพื่อให้ทนายความผู้นั้นทำหน้าที่อีกสถานะหนึ่ง คือ เป็นทนายความ    ที่มีอำนาจหน้าที่ในการับรองลายมือชื่อและเอกสารหรือทำคำรับรองอื่น ๆ ให้แก่ภาคเอกชนโดยทั่วไป อันสืบเนื่องมาจากการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลไม่สามารถให้การรับรองลายมือชื่อหรือเอกสารในทางการค้าบางประเภทให้แก่บุคคลทั่ว ๆ ไปได้
ดังนั้น ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2546 เป็นต้นมา สภาทนายความแห่งประเทศไทย จึงได้มีการให้บริการอย่างโนตารี่ ( Notary Services ) โดยนักกฎหมายที่เรียกกันว่า Notarial Services Attorney ซึ่งเป็นทนายความที่ได้ขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาตจากสภาทนายความแห่งประเทศไทยเท่านั้น ซึ่งทนายความที่ทำหน้าที่อย่างโนตารี ( Notary Services ) มีอยู่ไม่มากนักและส่วนมากจะมีสำนักงาน ( Notary office ) ตั้งอยู่ในเมืองใหญ่ ๆ ที่มีชาวต่างประเทศอาศัยอยู่ในประเทศไทย                

สำหรับทนายความทั่ว ๆ ไป ที่ไม่มีใบอนุญาตในการทำคำรับรองลายมือชื่อและเอกสาร จึงไม่เรียกว่าเป็น Notarial Services Attorney ดังนั้น การรับรองลายมือชื่อและเอกสารหรือการรับรองอื่น ๆ จึงควรเรียกใช้เฉพาะทนายความที่ได้ชื่อว่าเป็น Notarial Services Attorney เท่านั้น

ถาม 2 - บริษัทเราต้องการให้รับรองเอกสารเกี่ยวกับการลงลายมือพยาน เพื่อขอรับค่าชดเชนจากการฟ้องร้องที่ประเทศสิงคโปร์ และต้องการให้รับรองเอกสาร incorporation documents ซึ่งเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าใครเป็นผู้มีอำนาจ ไม่ทราบว่า ต้องทำอย่างไรบ้างและมีค่าใช้จ่ายอย่างไร

ตอบ 2 - การรับรองลายมือชื่อพยานนั้น ท่านต้องนำแบบฟอร์มหรือคำร้องที่มีลายมือชื่อพยาน เพื่อทำการลงบายมือชื่อต่อหน้า ทนายโนตารี่พับลิค และเราจะทำคำรับรองพร้อมรับรองลายมือชื่อโดยทนายโนตารี่พับลิค

สำหรับเอกสาร incorporated documents นั้น ให้ทำคำรับรองแค่ หนังสือรับรองบริษัท ก็พอ (ไม่ต้องทำคำรับรองวัตถุประสงค์) แต่ต้องทำการแปลเป็นภาษาอังกฤษก่อนทำการรับรองครับ

สำหรับค่าบริการนั้น จำนวนทั้งสิ้น 3,500 บาท คิดตามหลักเกณฑ์ดังนี้

  • ค่าแปลหนังสือรับรอง ราคา 500 บาท
  • ค่ารับรองการลงลายมือชื่อพยาน ต่อหน้าทนายโนตารี่พับลิค ราคา 1,500 บาท
  • ค่ารับรองเอกสารหนังสือรับรอง ราคา 1,500 บาท

ถาม 8 - ขอเรียนปรึกษาเรื่องที่ทางเรามีความประสงค์จะแปลเอกสารหนังสือรับรองการจดทะเบียนของบริษัท (ตามที่แนบมา หนังสือรับรองพร้อมวัตถุประสงค์ จำนวน 5 หน้า) เป็นภาษาอังกฤษ และรับรองการแปลโดย Notary Public ไม่ทราบว่ามีให้บริการหรือเปล่าคะ และค่าบริการเท่าไหร่

ตอบ 8 - มีให้บริการครับ เป็นบริการหลักเราก็ว่าได้ครับ เรามีทีมงานแปลมืออาชีพซึ่งมีประสอบการการแปลเอกสารจดทะเบียนมากว่า 10 ปี และมีเจ้าหน้าที่ต่างชาติร่วมสอบทานเอกสารแปลด้วยทุกครั้ง เช่นกันครับเราให้บริการครบวงจรเรื่องรับรองเอกสารด้วย ไม่ว่าจะป็น ทนายความ โนารี่ พับบลิค (Notary Public) หรือ ผู้สอบบัญชี สำหรับค่าบริการรวมทั้งสิ้น 4,000 บาทครับ ตามรายละเอียดคำนวณราคาดังนี้ครับ

  • ค่าบริการแปล หน้าละ 300 บาท สำหรับ 5 หน้า ราคา 1,500 บาท
  • ค่าบริการ รับรองโดย โนตารี่ พับบลิค (Notary Public) คิดเป็นเรื่องครับ หนังสือรับรองพร้อมวัตถุประสงค์ถือเป็นหนึ่งเรื่อง ราคา 2,500 บาm

Nara - ค่ารับรองเอกสาร คิดราคาไม่เหมือนกันครับแล้วแต่กรณี

  • รับรองโดย โนตารี่ พับบลิค (Notary Public) คิดราคาเป็นเรื่องครับ ราคาเรื่องละ 1,000 - 2,500 บาท
  • รับรองโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต คิดราคาเป็นหน้าครับ ราคา หน้าละ 300 - 500 บาm

 

Affidavit 300 Baht dormant co-regis 2200B notary 1000B.
15000B-close
000B-ch-regis 12000B-address 500B-translation job-acc
000B-accountant
ทนายความ โนตารี่ พับลิค ของเรายินดีให้บริการนอกสถานที่โดยเข้าพบท่าน ณ สำนักงานท่าน ในย่าน ต่างๆ ดังต่อไปนี้ สีลม สุรวงศ์ สาธร วิทยุ เจริญกรุง เยาวราช อโศก สุขุมวิท รัชดาภิเษก พระราม 9 พระราม 4 พระราม 1 พระราม 3 พระราม 6 พหลโยธิน วิภาวดี-รังสิต ลาดพร้าว รามคำแหง ราชดำริ เพลินจิต เพชรบุรีตัดใหม่ ศรีนครินทร์ สุทธิสาร ห้วยขวาง นวมินทร์ เกษตร แจ้งวัฒนะ จรัลสนิทวงศ์ ศรีนครินทร์ หลังสวน อินทรามะระ และอื่นๆ