>

ภาษีกลางปี 2559 (ภงด. 51) - หลักเกณฑ์การเสียภาษี การคำนวณภาษี การนำยื่น แบบฟอร์มเสียภาษี และ เหตุอันควรสำหรับ การยื่นภาษีครึ่งปี ขาดเกิน ร้อยละ 25

Home - เกี่ยวกับเรา : คัดหนังสือรับรอง : คัดงบการเงิน : คัดบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น : คัดบริคณห์สนธิ : เปลี่ยนแปลงแก้ไข บริษัท : คัดรับรองตราประทับ : คัดเอกสารต่อใบอนุญาตทำงาน:
จดทะเบียนบริษัท : เลิกบริษัท : งบเปล่า : แปลเอกสาร : รับรองเอกสาร-โนตารี่พับลิค : การตลาด-พันธมิตร : ที่อยู่จดทะเบียน : ปรึกษาคดีฟรี-รับว่าความ : นักบัญชีหางาน : รับสมัครงาน
Affidavit 300 Baht dormant co-regis 2200B notary 1000B.
15000B-close
000B-ch-regis 12000B-address 500B-translation job-acc
000B-accountant
 

nara office

 

adv1 webboard
อัตราภาษี ใหม่ ปี 2559 สำหรับ SME: ขยายฐานภาษี 15% สำหรับกำไรสุทธิ ช่วงระหว่าง 300,000 ถึง 3,000,000 (เดิม 300,000 ถึง 1,000,000) แต่ต้องมีสถานะเป็น SME อย่างต่อเนื่องกันตั้งแต่ ปี 2559 (อ่านเพิ่มเติม อย่างละเอียด ด้านล่าง ครับ)

 

ภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี

มีหน้าที่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี

ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี ได้แก่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากฐานกำไรสุทธิเท่านั้น ประกอบด้วย

  1. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย
  2. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และเข้ามาประกอบกิจการในประเทศไทยเพียงแห่งเดียว หรือเข้ามาประกอบกิจการในประเทศไทยในรูปของสาขา โดยกิจการที่กระทำนั้นมิใช่กิจการขนส่งระหว่างประเทศ
  3. กิจการที่ดำเนินเป็นทางค้าหรือหากำไรโดยรัฐบาลต่างประเทศ องค์การของรัฐบาลต่างประเทศ หรือนิติบุคคลอื่นที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และเข้ามาประกอบกิจการในประเทศไทยเพียงแห่งเดียว หรือเข้ามาประกอบกิจการในประเทศไทยในรูปของสาขา โดยกิจการที่กระทำนั้นมิใช่กิจการขนส่งระหว่างประเทศ
  4. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ หรือกิจการที่ดำเนินเป็นทางค้าหรือหากำไรโดยรัฐบาลต่างประเทศ องค์การของรัฐบาลต่างประเทศ หรือนิติบุคคลอื่นที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และเข้ามาประกอบกิจการในประเทศไทย โดยมีลูกจ้าง ผู้ทำการแทน หรือผู้ทำการติดต่อในการประกอบกิจการในประเทศไทย ซึ่งเป็นเหตุให้ได้รับเงินได้หรือผลกำไรในประเทศไทย โดยกิจการที่กระทำนั้นมิใช่กิจการขนส่งระหว่างประเทศ
  5. กิจการร่วมค้า ได้แก่ กิจการที่ดำเนินร่วมกันเป็นทางค้าหรือหากำไรระหว่างบริษัทกับบริษัท บริษัทกับห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล บริษัทและหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับบุคคลธรรมดา คณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น

อนึ่ง สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นระยะเวลาตามที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกำหนด ในช่วงเวลาที่ได้รับยกเว้นให้ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลดังกล่าว บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลยังคงมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี (ภ.ง.ด.51) ตามปกติ เช่นเดียวกับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ไม่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน เพราะการได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน เป็นแต่เพียงการได้รับสิทธิประโยชน์ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเท่านั้น สำหรับหน้าที่ต่างๆ ตามที่กฎหมายกำหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต้องจัดทำโดยทั่วไป ก็ยังคงต้องดำเนินการ อาทิเช่น การยื่นแบบภาษีเงินได้นิติบุคคล

บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากฐานอื่น เช่น บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างประเทศที่ประกอบกิจการสายการบินหรือสายการเดินเรือ ซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากฐานรายได้ก่อนหักรายจ่ายใดๆ จากการประกอบกิจการขนส่งระหว่างประเทศไม่มีหน้าที่ยื่นแบบ ภ.ง.ด. 51

นิติบุคคลที่เสียภาษีจากฐานกำไรสุทธิที่ต้อง (รายได้ – ค่าใช้จ่าย = กำไรสุทธิ) ยื่นแบบ ภ.ง.ด.51  

  • บริษัทจำกัด  บริษัทมหาชน จำกัด  ห้างหุ้นส่วน จำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน  กิจการร่วมค้า  บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ   ยื่นเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี  จากประมาณการกำไร สุทธิ หรือขาดทุนสุทธิ  >> ไม่ต้องปิดบัญชีครึ่งปี<< 
  • บริษัทจดทะเบียนธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์หรือ บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ หรือ บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ หรือ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล  คำนวณและชำระภาษีจากกำไรสุทธิ ของรอบระยะเวลาหกเดือนนับแต่วัน แรกของรอบระยะเวลาบัญชีตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในมาตรา 65 ทวิ และ 65 ตรี  >>>คำนวณภาษีเงินได้จากกำไรขาดทุนสุทธิที่เกิดขึ้นจริง<<

รอบระยะเวลาบัญชีที่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี ได้แก่

  • รอบระยะเวลาบัญชีที่มีกำหนดเวลา 12 เดือน ประกอบด้วย รอบระยะเวลาบัญชีแรกเฉพาะกรณีที่มีกำหนดเวลา 12 เดือน รอบระยะเวลาบัญชีที่ดำเนินกิจการมาเป็นปกติ และรอบระยะเวลาสุดท้ายเฉพาะกรณีที่มีกำหนดเวลา 12 เดือน
  • รอบระยะเวลาบัญชีที่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร ให้เปลี่ยนแปลงวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ซึ่งมีกำหนดเวลาเกินกว่า 6 เดือน

รอบระยะเวลาบัญชีในกรณีใดบ้างที่ไม่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.51
กรณีดังต่อไปนี้ ไม่ต้องยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.51 เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี

  1. กรณีรอบระยะเวลาบัญชีปีแรกที่มีกำหนดเวลาไม่ถึง 12 เดือน
  2. กรณีรอบระยะเวลาบัญชีปีสุดท้ายมีกำหนดเวลาไม่ถึง 12 เดือน

สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรให้เปลี่ยนแปลงวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี โดยรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวมีกำหนดเวลาไม่เกิน 6 เดือน

การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปีมีกี่วิธีอะไรบ้าง
ในปัจจุบันการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี แบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ

  • การเสียจากประมาณการกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ ที่ได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่ได้กระทำ และจะได้กระทำในรอบระยะเวลาบัญชี สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลทั่วไป
  • การเสียจากกำไรสุทธิที่ได้จากกิจการ หรือเนื่องจากกิจการในช่วงเวลา 6 เดือนแรกของรอบระยะเวลาบัญชี สำหรับบริษัทจดทะเบียน ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ หรือเครดิตฟองซิเอร์ และบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จัดให้มีผู้สอบทานงบการเงินสำหรับรอบระยะเวลา 6 เดือนแรกของรอบระยะเวลาบัญชี ทั้งนี้ สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 26 พ.ย. 34 เป็นต้นมา

ตรวจสอบว่าบริษัทเรายื่นรายการและชำระภาษีขาดไปเกินกว่าร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิ

การไม่ยื่นรายการและชำระภาษีตามมาตรา 67 ทวิ(1)  หรือยื่นรายการและชำระภาษีตามมาตรา 67 ทวิ (1) ขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิ  โดยไม่มีเหตุอันสมควร  ต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ 20 ของจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำรตามมาตรา67 ทวิ(1) หรือของครึ่งหนึ่งของนวนเงินภาษีที่ต้องเสียหรือของภาษีที่ชำระขาดไปแล้วแต่กรณี
จากตัวอย่างสามารถตรวจสอบดูได้ว่าบริษัท  ยื่นรายการและชำระภาษีตามแบบ ภ.ง.ด.51 โดยแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินกว่าร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิที่เกิดขึ้นจริงในรอบระยะเวลาบัญชีหรือไม่  

วิธีคำนวณประมาณการกำไรสุทธิ  

รายการ

หน่วย: บาท

(1) กำไรสุทธิตามแบบ ภ.ง.ด.50  

12,000,000

(2) ประมาณการกำไรสุทธิตามแบบ ภ.ง.ด.51

8,000,000

(3) ประมาณการกำไรสุทธิขาดไป  (1) - (2)

4,000,000

คิดเป็นร้อยละ (3) / (1) x 100

33.33

บริษัทฯ ได้ประมาณกำไรสุทธิขาดไปเกินกว่าร้อยละ 25 โดยไม่มีเหตุอันสมควรจะต้องเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 67 ตรี ในอัตราร้อยละ 20 ของภาษีที่ชำระขาด

เบี้ยปรับ/เงินเพิ่ม

  • ประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินกว่าร้อยละ 25 จะต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ 20 ของภาษีที่ประมาณการกำไรสุทธิขาดไป
  • บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล  ยื่นแบบ ภ.ง.ด.51  โดยใช้แบบ ภ.ง.ด. 51 ขอลดเบี้ยปรับเงินเพิ่มเหลือร้อยละ 1.5 ต่อเดือน  หากบริษัทฯ ได้มายื่นแบบ ภ.ง.ด. 51 เพิ่มเติม โดยไม่ได้รับคำเตือน หรือคำเรียกตรวจไตร่สวนโดยตรงเป็นหนังสือ

หลักเกณฑ์การคำนวณประมาณการกำไรสุทธิในการยื่นแบบ ภ.ง.ด. 51 เพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาด

บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ยืื่นประมาณการกำไรสุทธิ และยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีครึ่งปีไว้ไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่ง ของภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีที่แล้ว (คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 50/2537) 

  • สรรพากรดูที่จำนวนเงินภาษีต้องไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของปีที่แล้ว
  • กรณีรอบบัญชีของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ตรงกับวันที่ 31 ธันวาคม 2554  เช่น 13 ก.ค.2554 – 30 มิ.ย.2555  ให้ใช้อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล ของปี 2554

บริษัทหรือห้างหุ้นส่วน ประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินกว่าร้อยละ 25   ถือว่ามีเหตุอันสมควร  ที่ไม่ต้องเสียเบี้ยปรับ/เงินเพิ่ม

เรื่องการพิจารณาเหตุอันสมควรตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากรกร

กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ได้จัดทำประมาณการกำไรสุทธิและยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีครึ่งปีไว้ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีที่แล้ว ถือว่ามีเหตุอันสมควร ตามมาตรา 67 ตรีแห่งประมวลรัษฎากรกร

กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินกว่าร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิซึ่งได้จากการประกอบกิจการ  โดยมีเหตุการณ์ดังต่อไปนี้ ถือว่ามีเหตุอันสมควร ตามมาตรา 67 ตรีแห่งประมวลรัษฎากรกร

  • กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนที่เริ่มมีรายได้จากการประกอบกิจการในรอบระยะเวลา 6 เดือนหลังของรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มมีรายได้จากการประกอบกิจการ (รายได้จากการประกอบกิจการไม่รวมถึง การนำเงินไปหาประโยชน์โดยฝากธนาคาร บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์หรือซื้อพันธบัตรหรือหลักทรัพย์ที่ได้รับมาก่อนไม่ว่าในรอบระยะเวลาบัญชีนี้หรอรอบระยะเวลาบัญชีก่อน
  • กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติมตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่เพื่อปรับปรุงรายได้เพิ่มขึ้น ตามข้อเท็จจริงของผลการตรวจสภาพกิจการ
  • กรณีมีการขายทรัพย์สินที่ใช้ในการประกอบกิจการในรอบระยะเวลาบัญชี 6 เดือนหลังของรอบระยะเวลาบัญชี และมีกำไรจากการขายสินทรัพย์ดังกล่าว
  • อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ต่ำลง  ทำให้ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยต่ำลดลงด้วย
  • การส่งสินค้ามีความไม่แน่นอน ทั้งปริมาณและราคาสินค้า หรือมีการยกเลิกการควบคุมราคาหรือปริมาณสินค้าส่งออก
  • การรับจ้างที่มีค่าจ้างไม่แน่นอน  ขึ้นอยู่กับผู้ว่าจ้างและความยากง่ายของงานที่ทำ
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเปลี่ยนแปลงอย่างผิดปกติ

เมื่อบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ต้องทำอย่างไร

  • ยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 เพิ่มเติม  และใช้แบบแสดงรายการ (ภ.ง.ด.51) เป็นคำร้องของดหรือลดเงินเพิ่มเหลือ 1.5 % ซึ่งจะได้รับสิทธิทันที ไม่ต้องมีคำร้อง
  • การของดหรือลดเงินเพิ่ม ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด. 51 ก่อนมีหนังสืแจ้งประเมิน   
  • ถ้าได้รับหนังสือแจ้งประเมินแล้ว ให้ยื่นอุธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุธรณ์

อัตราภาษีเงินได้นิตบุคคลใหม่

บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีทุนจดทะเบียนชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้จากการขายสินค้าและการให้บริการในรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 30 ล้านบาท ต่อเนื่องกัน ตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นมา
โดยรอบบัญชีที่เริ่ม ใน หรือ หลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป ตาม พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ 530) แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.ฎ (ฉบับที่ 564) และ พ.ร.ฎ.(ฉบับที่ 583) ให้คำนวณในอัตราดังนี้

กำไรสุทธิ
บริษัทที่มีทุนจดทะเบียน
ไม่เกิน 5 ล้านบาท
สำหรับปี 2558
บริษัทที่มีทุนจดทะเบียน
เกิน 5 ล้านบาท
สำหรับปี 2558
0 - 300,000
0%
20%
300,001 - 3,000,000
15%
20%
มากกว่า 3,000,000
20%
20%

หมายเหตุ กรณีลดอัตราวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม SMEs

  • ทุนที่ชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกินห้าล้านบาท
  • รายได้จากการขายสินค้าและการให้บริการในรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกินสามสิบล้านบาท และมีรายได้จากการขายสินค้าและการให้บริการในรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 30 ล้านบาท ต่อเนื่องกัน ตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นมา

‘เหตุอันสมควร’ ตามมาตรา 67 ตรี
มาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร บัญญัติว่า “ในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ไม่ยื่นรายการหรือชำระภาษีตามมาตรา 67 ทวิ (1) หรือยื่นรายการและชำระภาษีตามมาตรา 67 ทวิ (1) โดยแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิ…โดยไม่มีเหตุอันสมควร บริษัทฯ นั้นต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของจำนวนเงินภาษีต้องเสียหรือที่ชำระขาดแล้วแต่กรณี” ซึ่งอธิบายได้ว่า

  1. บริษัทฯ ต้องจัดทำ ‘ประมาณการกำไรสุทธิ (Estimated Taxable Profit)’ แล้วนำกึ่งหนึ่งของกำไร ดังกล่าวไปยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 ชำระภาษี 30% ภายในเดือนสิงหาคม 2548
  2. หาก ‘ประมาณการกำไรสุทธิ’ (ตามแบบ ภ.ง.ด.51) ต่ำไปเกินกว่า 25% ของ ‘กำไรสุทธิจริง (Taxable Profit)’ (ตามแบบ ภ.ง.ด.50 ของปี 2548) โดยไม่มี ‘เหตุอันสมควร’ บริษัทฯ ดังกล่าวจะต้องเสียเงินเพิ่ม 20% ของภาษีครึ่งปีที่ชำระไว้ขาดหรือมิได้ชำระไว้ ตามแต่กรณี

เนื่องจากกฎหมายได้ให้อำนาจเจ้าพนักงานใช้ดุลยพินิจพิจารณา ‘เหตุอันสมควร’ เป็นแต่ละกรณีไป จึงอาจเกิดการตัดสินที่เบี่ยงเบนได้ (Subjective Judgment) ดังนั้น กรมสรรพากรจึงวางบรรทัดฐานเป็นเกณฑ์ประกอบการพิจารณาของเจ้าพนักงาน ดังนี้
ก. หากบริษัทใดยื่น ภ.ง.ด.51 เสียภาษีไว้ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของภาษีเงินได้นิติบุคคลตอนปลายปีของ ปีก่อน แม้จะประมาณการกำไรไว้ผิดพลาดเกิน 25% ก็ให้ถือว่า ‘มีเหตุอันสมควร’ (คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.50/2537)
ข. หนังสือกรมสรรพากรที่ กค 0814/2873 ลว.11 เมษายน 2543 วางแนวทางไว้อีกหลายกรณี

  • หากบริษัทฯ ประมาณการกำไรสุทธิผิดพลาดเกิน 25% นั้นมีสาเหตุจากกำไรที่เกิดจากการขายทรัพย์สินในช่วง 6 เดือนหลังของปี ก็ถือว่ามี ‘เหตุอันสมควร’…ไม่ต้องเสียเงินเพิ่ม 20%
  • กรณีบริษัทตั้งใหม่ เพิ่งเริ่มมีรายได้จากการประกอบกิจการในช่วง 6 เดือนหลังของปี ก็น่าที่จะ คาดการณ์ยอดขายล่วงหน้าได้ยากจึงไม่ควรถูกลงโทษ เช่นกัน
  • ถ้าไม่เข้าเงื่อนไขข้างต้น ก็ต้องพิจารณาข้อเท็จจริงเป็นกรณีๆ ไป แต่การใช้ดุลยพินิจของ เจ้าพนักงาน มีแนวคิดว่าสาเหตุความผิดพลาดจะต้องเป็นเหตุการณ์สุดวิสัย (Irregular Transactions) ที่เกิดขึ้นในช่วง 4 เดือนสุดท้ายของปี และต้องเป็นเหตุการณ์ที่อยู่เหนือความหมายของบริษัทนั้นๆ (Uncontrollable Factors) เช่น ได้รับคำสั่งซื้อพิเศษล็อตใหญ่เพราะเหตุการณ์ 9-11 (Nine-Eleven) หรือเกิดการลดค่าเงินบาทอย่างรุนแรง หรือปัญหาปักษ์ใต้คลี่คลายอย่างเหลือเชื่อ เป็นต้น

กรณียื่นแบบภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี ล่าช้าจะมีผลอย่างไร

  1. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต้องระวางโทษปรับทางอาญาตามมาตรา 35 แห่งประมวลรัษฎากรกร ดังนี้
    • กรณียื่นแบบ ภ.ง.ด. 51 ภายใน 7 วันนับแต่วันพ้นกำหนดเวลายื่นรายการ ต้องระวางโทษ ปรับ 1,000 บาท
    • กรณียื่นแบบ ภ.ง.ด.51 ภายหลัง 7 วันนับแต่วันพ้นกำหนดเวลายื่นรายการ ต้องระวางโทษ ปรับ 2,000 บาท
  2. กรณีที่มีจำนวนเงินภาษีเงินได้นิติบุคคลต้องชำระตามแบบ ภ.ง.ด. 51 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลยังต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากรดังนี้
  3. กรณียื่นแบบ ภ.ง.ด. 51 ภายใน 7 วันนับแต่วันพ้นกำหนดเวลายื่นรายการ ให้เสียเงินเพิ่มในอัตรา 0.1% ของเงินภาษีที่ต้องชำระ
  4. กรณียื่นแบบภ.ง.ด. 51 ภายใน 2 วันแต่ไม่เกิน 7 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลายื่นรายการ ให้เสียเงินเพิ่มในอัตรา 0.1 % ของเงินภาษีที่ต้องชำระ
  5. กรณียื่นแบบ ภ.ง.ด.51 ภายหลัง 7 วันนับแต่วันพ้นกำหนดเวลายื่นรายการ ให้เสียเงินเพิ่มในอัตรา 1.5 % ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ จนกว่าเงินเพิ่มจะมีจำนวนครบ 20 % ของเงินภาษี
  6. การไม่ยื่นแบบแสดงรายการภายใรกำหนดเวลาอาจถือได้ว่าไม่ให้ความร่วมมือแก่ทางราชการ ซึ่งอาจไม่ได้รับการพิจารณาลดหรืองดเบี้ยปรับ หรือเงินเพิ่มกรณีอื่น

กรณีที่ท่่าน ต้องการข้อมูลส่วนใดเพิ่มเติม กรุณาแจ้งให้ทราบด้วย เพื่อจะได้จัดส่งให้ในโอกาสต่อไป

 

สถานที่ติดต่อ

บริษัท นารา การบัญชี จำกัด
เลขที่ 4/1 ซอยลาดพร้าว 52 ถนนลาดพร้าว แขวงวังทองหลาง เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310

โทร 080 173 2000 ; 080 174 2000
โทร 080 286 2000 ; 080 287 2000
โทร 02 933 5511 ; 02 933 5512

อีเมล์: info@53ac.com
และสำเนาอีเมล์ ถึง (CC) : 53ac.com@gmail.com

QRlogo

เพิ่ม นาราการบัญชี เป็นเพื่อน @nara53

 line-logo

contactt

 

เราบริการ: จดทะเบียนบริษัท จัดตั้งบริษัท ตรวจสอบบัญชี บริการบัญชี จัดทำงบรายเดือน บัญชีรายเดือน วางระบบบัญชี ที่ปรึกษาด้านบัญชี บริการภาษีอากร ภาษีรายเดือน ภาษีรายปี ที่ปรึกษาภาษีอากร บริการตรวจสอบบัญชี ตรวจสอบพิเศษ ตรวจสอบพิเศษ(ตามความต้องการหรือข้อกำหนดของบริษัทแม่) เปิดบริษัท เลิกบริษัท จดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วน จดทะเบียนธุรกิจ ขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจ ขอใบอนุญาตทำงาน จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ขอหมายเลขผู้เสียภาษี คัดหนังสือรับรอง คัดเอกสารบริษัท แปลหนังสือรับรอง แปลเอกสารบริษัท โนตารี่พับลิค รับรองเอกสาร จัดหานักบัญชี ฝึกอบรมพนักงานบัญชี

ขอขอบคุณ ที่สนใจงานบริการของเรา บริษัท นาราการบัญชี จำกัด

copyright
 

__________________________________________________________________________________________